Zimbra Components
สถาปัตยกรรมของ Zimbra เป็นการรวบรวม Open Source Software โดยใช้โปรโตคอลมาตรฐาน ซึ่ง third-party software ดังรายการข้างล่างถูก bundle เข้าไปอยู่ใน Zimbra software และซอฟต์แวร์ทุกตัวจะถูกติดตั้งในระหว่างกระบวนการติดตั้งของ Zimbra Software ซึ่ง Components เหล่านี้ ได้ถูกทดสอบและถูกคอนฟิกให้ทำงานกับซอฟต์แวร์ชุดนี้แล้ว
- Apache Tomcat, the web application server that Zimbra software runs in.
- Postfix, an open source message transfer agent (MTA) that routes mail messages to the
appropriate Zimbra server. - OpenLDAP software, an open source implementation of the Lightweight Directory Access
Protocol (LDAP) that provides user authentication. - MySQL database software.
- Lucene, an open-source full featured text index and search engine.
- Anti-virus and anti-spam open source components including:
- ClamAV, an anti-virus scanner that protects against malicious files.
- SpamAssassin and DSPAM, mail filters that attempt to identify spam.
- Amavisd-new, which interfaces between the MTA and one or more content checkers.
- James/Sieve filtering, used to create filters for email.
หมายเหตุ มี POP และ IMAP มาให้แล้วด้วยครับ
ความต้องการของระบบ
Zimbra Mail มีสองเวอร์ชันให้เลือกคือ Open Source Edition และ Network Edition Trail ซึ่งความต้องการของ Server ที่จะติดตั้งค่อนข้างจะสูงไปนิดดังนี้
(แต่สำหรับการทดลองของผู้เขียนเพื่อการทำบทความครั้งนี้ใช้ PC Server มี RAM แค่ 512 MB)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากเว็บไซต์ www.zimbra.com
ข้อดีของ Zimbra mail ในมุมมองของผู้เขียนเอง
- ลดขั้นตอนของการติดตั้ง Mail Server เพราะติดตั้งโปรแกรมแค่ชุดเีดียวก็ได้ครบทุกอย่าง
- ในการติดตั้งมีการติดตั้ง POP3 และ IMAP ให้ด้วย
- มี Webmail อยู่ในตัวไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Webmail อื่น ๆ เพิ่มอีก
- ในส่วนของการบริหารจัดการของ Admin มี Web-based Administration console ที่สะดวกซึ่งมีความสามารถต่าง ๆ เ่ช่น
- สามารถบริการจัดการ user account เช่น เพิ่ม/ลบ/แก้ไข ผ่าน Web Interface ได้อย่างสะดวก
- สามารถจัดการโดเมนและ Server ได้ เช่นสามารถบริหารจัดการให้ Mail Server เครื่องเดียวรองรับการทำงานเป็น Mail Server ของหลายโดเมนได้
- สามารถคอนฟิก MTA, POP และ IMAP ได้
- สามารถมอนิเตอร์สถานะและ performance statistis ของ Server ได้
- มี คำสั่งแบบ command line ที่ีสามารถใช้ควบคุมการทำงานของ Mail Server รวมถึงการจัดการ Account เพิ่มเติมเข้ามา นั่นคือคำสั่ง zmcontrol และ zmprov (provisioning) ซึ่งต้องรันบน user ที่เป็น zimbra
ข้อเสียของ Zimbra mail ในมุมมองของผู้เขียนเอง
- ต้องใ้ช้ Server ที่สเปคสูง
- การใช้งานช้ากว่า Webmail อื่น ๆ เช่น Squirrelmail
เตรียมพร้อมก่อนติดตั้ง
ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการติดตั้ง Mail Server บนเครื่อง ๆ เดียวให้กับโดเมนสองโดเมนคือ
- โด เมน itwizard.info ซึ่งเป็นโดเมนที่มีอยู่จริง กล่าวคือมีการจดทะเบียนโดเมนไว้กับ Internic และเซ็ตค่าของ Mail Server (MX) ไ้ว้อย่างถูกต้อง
- โด เมน adisorn.net ซึ่งเป็นโดเมนที่ไม่มีอยู่จริง เพียงแต่เป็นการเพิ่มชื่อโดเมนนี้ และข้อมูล Mail Server (MX) ไว้บน DNS Server ขององค์กรที่ผู้เขียนทำงานอยู่เพื่อการทดลองเท่านั้น
ซึ่งเมื่อรันคำสั่ง host บน Server ที่จะติดตั้ง zimbra เพื่อตรวจชื่อ host และ Mail Server (MX) จะได้ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1
ทั้ง นี้ผู้เขียนได้ตั้งชื่อของ Server ที่จะติดตั้ง zimbra ที่ส่วน DNS ของ Network Configuration เป็น mail.itwizard.info ดังรูปที่ 2 และที่แท็บ Hosts ของรูปที่ 2 ผู้เีขียนไม่ได้ตั้งชื่อเพิ่มเติมใด ๆ ซึ่งถ้าเราเพิ่มชื่อเข้าไปในแท็บ Hosts จะส่งผลให้มีการเพิ่มชื่อ Host ในไฟล์ /etc/hosts แต่ในที่นี้ไม่มีการเพิ่มชื่อแต่อย่างใด ดังนั้นในไฟล์ /etc/hosts ก็มีแต่ชื่อที่เป็น Default คือ localhost เท่านั้น แต่ถ้าใครจะเพิ่มชื่อในแท็บ Hosts หรือไฟล์ /etc/hosts แทนก็ได้เช่นกันครับ
รูปที่ 2
ขั้นตอนการติดตั้ง
- ดาวน์ โหลดโปรแกรม zimbra จากเว็บของ zimbra (http://www.zimbra.com/community/downloads.html) ให้ตรงกับ Linux Distribution ของตัวเอง ซึ่งของผู้เขียนเลือก Fedora Core 5 (.tgz) (ณ เวลาที่ทำบทความนี้ zimbra ยังไม่ Support Fedora ที่เวอร์ชั้นสูงกว่านี้)
- แตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาด้วยคำสั่ง tar ดังนี้ :
#tar xvfz zcs-4.5.4_GA_763.FC5.tgz
- เข้าไปยังไดเร็กทอรี่ zcs แล้วติดตั้ง zimbra ด้วยคำสั่ง install.sh ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3
- ให้ทำการกดปุ่มใด ๆ ตามคำแนะนำแล้วจะได้ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4
จากรูปที่ 4 ในขั้นตอนการตรวจสอบโปรแกรมที่จำเป็ี่นต้องติดตั้งไว้ก่อน (Checking for prerequisites..) ปรากฎว่าทุกโปรแกรมมีอยู่ครบแล้ว แต่ในกรณีที่โปรแกรมที่จะต้องใช้งานไม่ได้ติดตั้งไว้ก่อน การติดตั้งก็จะถูำกยกเลิกไปก่อน และมีการรายงานว่าโปรแกรมตัวไหนที่ขาดบ้าง ซึ่งถ้าเจอกรณีแบบนี้ก็ให้แก้ปัญหาด้วยการติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นดังกล่าว ก่อน เช่นถ้าไม่มีโปรแกรมที่ชื่อ gmp ก็สามารถติดตั้งด้วยการใช้คำสั่ง yum เป็น :
#yum install gmp
หรือจะติดตั้งด้วยวิธีอื่นก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนนะครับ สำหรับผู้เขียนแล้ว เจอว่าต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม 2 ตัวครับแต่ไม่ได้ capture ภาพไว้ให้ดู
- จาก นั้นให้เลือก Program Package ที่จะติดตั้ง ซึ่งค่า Default เป็น 'Y' ซึ่งถ้าต้องการติดตั้งก็ทำได้ด้วยการกดปุ่ม Enter หรือพิมพ์คำว่า 'Y' แ่ต่ถ้าไม่ต้องการติดตั้งโปรแกรมตัวไหนก็ให้เลือกเป็น 'N' โดยส่วนของผู้เขียนเลือกติดตั้งทั้งหมดดังรูปที่ 5
รูปที่ 5
- จาก นั้นให้ตอบว่า Y เืมื่อมีคำถามว่า The system will be modified. ดังรูปที่ 6 และ zimbra จะมองชื่อ host ที่เราได้ตั้งชื่อไว้ (mail.itwizard.info) เป็นชื่อโดเมนและพยายาม Resolve หา MX ของโดเมน mail.itwizard.info ซึ่งไม่มีอยู่ในข้อมูลของ DNS Server จึงทำให้เกิด error และแนะนำให้เราเปลี่ยนชื่อโดเมน ก็ให้ตอบ 'Y' และเปลี่ยนชื่อโดเมนให้ตรงก้บที่ได้ออกแบบไว้ในตอนต้น ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6
- จากนั้นจะเข้าสู่ Store configuration ดังรูปที่ 7 ให้ทำการเลือกข้อ 4 เพื่อกำหนดรหัสผ่านของ Admin
รูปที่ 7
- จากนั้นให้เลือก r เพื่อกลับสู่เมนู่ก่อนหน้านี้ แล้วจะมีคำเตือนให้กดปุ่ม a เพื่อ apply ก็ให้ทำตามดังรูปที่ 8 ครับ
รูปที่ 8
- เื่มื่อ มีคำถามว่า Notify Zimbra of your installation ? ก็อาจจะตอบ Yes หรือ No ก็ได้ครับ ตรงนี้เป็นการเลือกว่าจะส่งข้อมูลการติดตั้งกลับไปยัง Zimbra หรือไม่ ไหน ๆ ก็ใช้ของเขาฟรีแล้วส่งข้อมูลกลับไปบอกเขาหน่อยก็น่าจะดี
รูปที่ 9
- จากนั้นก็จะแจ้งว่าการคอนฟิกสมบูรณ์ดังรูปที่ 10
รูปที่ 10
ตรวจสอบการใช้งาน
- เรียก ใช้งานในสถานะ Admin ได้เป็น https://hostmame:7071/zimbraAdmin ในที่นี้คือ https://mail.itwizard.info:7071/zimbraAdmin จะได้ผลดังรูปที่ 11แ้ล้วให้ป้อน user เป็น admin และรหัสผ่านตามที่ได้กำหนดในขั้นตอนที่ผ่านมา
รูปที่ 11
- เมื่อ ป้อน Username และ Password ถูกต้องก็จะได้ผลดังรูปที่ 12 ซึ่งจะเห็นว่า Service ทุกตัวไม่เจอปัญหาใด ๆ (โชคดีไป ถ้าโชคไม่ดีบางตัวอย่าง Start ไม่ได้นะครับ) โดย User ที่เป็น admin สามารถใช้งานทั้งในสถานะ admin และสถานะ user ทั่วไป
รูปที่ 12
- ให้ ทำการเพิ่ม Account ใหม่เข้าไปซึ่งในที่นี้เพิ่มชื่อเป็น adisorn.k แล้วทดลองเข้าใช้งานในสถานะผู้ใช้งานทั่วไป โดยการเข้าใช้งานในสถานะผู้ใช้ทั่วไปก็ให้พิมพ์ชื่อ Host ผ่าน Browser ได้ดังรูปที่ 13
รูปที่ 13
- เมื่อ เข้าระบบได้แล้วลองทดสอบส่งเมล์ไปยัง Mail ของ CAT TELECOM ดังรูปที่ 14 และที่ CAT TELECOM สามารถรับเมล์ได้ดังรูปที่ 15 และเมื่อ เมล์ของ CAT TELECOM ตอบกลับมา ที่ Zimbra mail ก็สามารถรับได้ดังรูปที่ 16
รูปที่ 14 ส่งเมล์จาก Zimbra ไปยัง CAT TELECOM
รูปที่ 15 เมล์ของ CAT TELECOM สามารถรับเมล์จาก Zimbra mail ได้
รูปที่ 16 Zimbra mail สามารถรับเมล์จาก CAT TELECOM ที่ตอบกลับมาได้
การเพิ่มโดเมนใหม่และทดสอบการใช้งาน
- Login เ้ข้าสู่ระบบในสถานะของ Admin จากนั้นให้ทำการเพิ่มโดเมนใหม่เข้าไปซึ่งในที่นี้ชื่อว่า adisorn.net ดังรูปที่ 17
รูปที่ 17
- ให้ ทำการป้อนชื่อ Virtual Host เพื่อให้สามารถเรียกใช้งาน Web Server ได้ีอีกชื่อซึ่งในที่นี้คือ mail.adisorn.net นั่นหมายถึงว่าถ้าผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกของโดเมน itwizard.info การเรียกใช้งานก็ให้เรียกเป็น http://mail.itwizard.info ส่วนผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกของโดเมน adisorn.net ก็ให้เรียกใช้งานเป็น http://mail.adisorn.net ซึ่งจะเป็นการเีรียกใช้งานไปยัง Web Server ตัวเดียวกัน
รูปที่่ 18
- และในที่นี้ผู้เขียนเลือกเพื่อสร้าง domain level document space ดังรูปที่ 19
รูปที่ 19
- ทำการเพิ่ม Account ที่เป็น Admin ให้กับโดเมน adisorn.net โดยกำหนดให้มีสถานะเป็น Administrator ดังรูปที่ 20
รูปที่ 20
- จากนั้นจะได้ Account ที่ชื่อ admin@adisorn.net ดังรูปที่ 21
รูปที่ 21
- เปิดหน้าต่างสำหรับ admin ของโดเมน adisorn.net แล้วทำการป้อนชื่อ user ที่เป็น admin ดังรูป 22
รูปที่ 22
- เมื่อ เข้าสู่ระบบในสถานะ admin ของโดเมน adisorn.net ได้แล้วให้ทำการเพิ่ม Account ทั่วไปชื่อว่า adisorn.k@adisorn.net อีกหนึ่ง account เพื่อใช้สำหรับการทดสอบ ซึ่งเมื่อเพิ่มแล้วจะได้ผลดังรูปที่ 23
รูปที่ 23
- จาก นั้นให้ Login เข้าสู่ระบบของโดเมน adisorn.net ในนามของ account ทั่วไปแล้วทดสอบส่งเมล์ไปยังโดเมน cattelecom และ itwizard ดังรูปที่ 24
รูปที่ 24
- เมื่อ เข้าสู่ระบบของโดเมน itwizard.info และ cattelecom.com จะเห็นว่าสามารถรับเมล์จากโดเมน adisorn.net ได้ดังรูปที่ 25 และ 26 ตามลำดับ และเมื่อมีการตอบกลับจากโดเมน itwizard.info ก็สามารถรับได้ดังรูปที่ 27
รูปที่ 25
รูปที่ 26
รูปที่ 27
ทดลองใ้ช้งาน POP3 บน Zimbra Mail ผ่าน MS Outlook
จริง ๆ แล้ว IMAP ก็สามารถใช้งานได้นะครับเพียงแต่ผู้เขียนไม่ได้ Capture ภาพมาให้ดูกัน
- เซ็ตค่าของ MS Outlook ชี้ไปยัง Zimbra Mail ซึ่งในที่นี้ทดลองกับโดเมน itwizard.info ให้ตรงกับความเป็นจริงดังรูปที่ 28
รูปที่ 28
- ทำการส่งเมล์บน MS Outlook ไปยังโดเมน cattelecom.com ดังรูปที่ 29
รูปที่ 29 ส่งเมล์บน Outlook ไปยังโดเมน cattelecom.com
- ที่ webmail ของ cattelecom สามารถรับเมล์จาก Zimbraได้ดังรูปที่ 30 โดยที่ไม่ต้องเซ็ตค่าของ POP บน zimbra mail เพิ่มเติมใด ๆ (มันง่ายอะไรอย่างนี้)
รูปที่ 30 ที่ webmail ของ cattelecom.com สามารถรับเมล์จาก Outlook ผ่าน Zimbra mail ได้
คำสั่งแบบ command line ของ Zimbra
เมื่อ ติดตั้ง Zimbra mail แล้ว บนเครื่องที่ติดตั้งสามารถใช้คำสั่งแบบ command line เพื่อควบคุมและบริหารจัดการกับ Zimbra mail ได้- บน Server ที่เป็น Zimbra mail ให้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น user --> zimbra โดยใช้คำสั่ง su - zimbra ดังรูปที่ 31 และให้พิมพ์คำสั่ง zmcontrol ดู จะเห็นว่าเราสามารถใช้คำสั่ง zmcontrol เพื่อควบคุมการทำงานของ zimbra mail ได้ เช่นใช้คำสั่ง zmcontrol status เพื่อดูสาถานะการทำงานของ Zimbra
รูปที่ 31 ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง zmcontrol
- นอกจากนั้นยังมี zmprov (provisioning) สำหรับใช้งานเพื่อ provisioning zimbra mail ได้อีกดังรูปที่ 32
รูปที่ 32
- เช่น เราสามารถใช้คำสั่ง zmprov ca (create account) และ zmprov ma (modify account) เพื่อเพิ่มและแก้ไข Account ของ zimbra mail ได้ดังรูปที่ 33
รูปที่ 33
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น