หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ architecture แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ architecture แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

What is Cluster, HPC , HA ,Virtualization , Cloud Computing ?

What is Cluster, HPC , HA ,Virtualization , Cloud Computing ?
Cluster คืออะไร
Cluster คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่ตั้งค่าให้ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ในทางกายภาพ Cluster จะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน(ตู้ rack เดียวกัน, ห้องเดียวกัน) และเชื่อมต่อกันด้วย ethernet ความเร็วสูง สถาปัตยกรรมโดยทั่วไปของ ระบบคลัสเตอร์ จะประกอบด้วยเครื่อง Frontend ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อรับงานจากผู้ใช้ (User Manangement) จัดการงาน (Job Scheduler) และติดตามสถานะขเองเครื่องลูกในระบบ(Node Management) เพื่อให้การตั้งค่าและดูแลระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีระบบปฏิบัติการณ์เฉพาะสำหรับระบบ Cluster เช่น ROCKS ซึ่งพัฒนาต่อจาก CentOS หรือ Windows Server 2008 HPC ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ Windows Server 2008

Cluster ทำอะไรได้บ้าง
ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นของ Cluster

  1. HPC (High Performance Computing) Cluster - ในงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ต้องใช้เวลาในการคำนวณนาน Cluster สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล สำหรับอัลกอรึทึมที่มีการทำงานแบบขนาน (Parallel Computing) โดยการแบ่งปัญหาออกเป็นชิ้นๆ แล้วนำปัญหาที่ได้จากการแบ่งไปคำนวณยังหน่วยประมวลผลหลายๆ ตัวในเวลาเดียวกัน เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้แก้ปัญหาลงได้
  2. Render Farm - ในการสร้างภาพยนตร์ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกนั้น จะต้องอาศัยพลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ในภาพยนตร์หนึ่งวินาทีประกอบด้วยภาพถึง 30 เฟรม อีกทั้งแต่ละภาพ ยังต้องอาศัยการเรนเดอร์ 3 มิติที่มีการคำนวณซับซ้อน ในการคำนวณ Algorithm ต่าง ๆ เช่น Radiosity, ray tracing, metropolis light transport, ambient occlusion, photon mapping, และ image based lighting เพื่อ ใช้สร้างภาพยนตร์ที่มีความสวยงามสมจริง ในตัวอย่างนี้เราสามารถใช้ Cluster ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง แบ่งงานกันเรนเดอร์เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ลงได้ ช่วยให้นักออกแบบสามารถออกแบบภาพยนตร์ได้สวยงามตามจินตนาการ โดยไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดทางด้านประสิทธิภาพ
  3. Web Server Farm - สำหรับเว็บไซต์นั้น ความมั่นใจว่า เว็บไซต์สามารถเปิดได้ตลอดหรือไม่เป็นเรื่องสำคัญ เจ้าของเว็บไซต์ย่อมต้องการให้เว็บไซต์รองรับผู้ชมได้มากที่สุด และมี Down Time น้อยที่สุด ด้วยเทคโนโลยีคลัสเตอร์ เราสามารถสร้างระบบคงอยู่สูง (High Availability) ที่ให้คอมพิวเตอร์ในระบบมากกว่าหนึ่งเครื่อง เป็น Fail Safe ให้กันและกัน ทำให้สามารถสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีควาความคงอยู่สูงและรองรับผู้เข้าชม ได้มากขึ้นด้วย

Grid คืออะไร ต่างจาก cluster อย่างไร
Grid คือเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นในการรวบรวมทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายขนาด ใหญ่ ให้มาใช้งานร่วมกันได้ ผู้ใช้จะมองเห็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นระบบเดียวหรือระบบเสมือน (Virtual Organization)
ความต่างของ Cluster กับ Grid ในเชิงกายภาพคือ เน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อซึ่งโดยปกติแล้วภายใน Cluster มักจะเชื่อมต่อกันด้วย ethernet ความเร็วสูงภายใน ต่างจากระบบกริด ที่สามารถกระจายกันอยู่ได้ และเชื่อมต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยมีลักษณะในการจัดการที่ต่างกัน


HPC คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง
HPC ย่อมาจาก High Performance Computing บางครั้งเรียกว่า High Productivity Computing มัก ใช้กล่าวถึงในงานคำนวณของแอพลิเคชั่นที่มีความซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ แบบจำลองทางกลศาสตร์ ชีวสารสนเทศ การจำลองสถานการณ์แบบสุ่ม หรือการเรนเดอร์ภาพยนตร์แอนนิเมชั่น งานเหล่านี้ต้องใช้อัลกอรึทึมที่อาศัยพลังการประมวลผลมาก จนเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาไม่สามารถประมวลผลได้ หรือใช้เวลานานเกินกว่าจะยอมรับได้ จึงส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของงานเหล่านี้ ด้วยการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
ในยุคแรกนั้น มีการสร้างระบบ Supercomputer สำหรับงานเฉพาะทางเหล่านี้ ซึ่งมักมีสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลที่ออกแบบมาเฉพาะทาง จึงมักมีข้อจำกัดในเรื่องของงานที่สนับสนุนที่ใใช้ในวงแคบเท่านั้น อีกทั้งยังมีระบบยังมีราคาสูงด้วย ปัจจุบันมีทางเลือกของระบบ HPC มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ การสร้างระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูงจากคอมพิวเตอร์ธรรมดาหลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันหรือที่เรียกว่า Cluster ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงในราคาที่สมเหตุสมผล

HA (High Availability) คืออะไร
High Availability คือระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความคงอยู่สูง โดยมีการสนับสนุนการทำงานแทนกันเมื่อระบบใดระบบหนึ่งผิดพลาด จะมีอีกระบบที่เตรียมพร้อมอยู่แล้วทำงานแทน
ในงานระบบข้อมูลที่ต้องการความมั่นคงสูง อย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูลที่สำคัญมากๆ อย่างเช่น การเงินการธนาคาร หรือระบบสาธารณูปโภค หากเกิดความผิดพลาดจะเกิดผลกระทบที่เสียหายต่อผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความมั่นคงของระบบให้มากที่สุด โดยจะใช้หน่วย Uptime ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นของเวลาที่ระบบให้บริการได้ อย่างเช่น 99.999% หมายถึงว่า ระบบนี้หยุดทำงานรวมไม่เกิน 5 นาทีต่อหนึ่งปี
เพื่อให้ระบบมี Uptime สูงสุด เราสามารถใช้เทคโนโลยีคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่ม Uptime ของระบบได้ โดยการสร้างคลัสเตอร์ที่มีมากกว่าหนึ่งเครื่อง และตั้งค่าแบบ High Availability เพื่อคอมพิวเตอร์ในระบบทำงานแทนกัน ในกรณีที่เครื่องใดเครื่องหนึ่งผิดพลาดขึ้น ระบบโดยรวมจะยังคงทำงานได้ด้วยการทำงานของอีกเครื่อง

Virtualization คืออะไร
การจำลองเครื่องเสมือนด้วยซอฟต์แวร์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง สามารถทำงานเป็นเครื่องเสมือนหลายๆ ระบบได้ โดยแต่ละรบบมีทรัพยากรหน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเสมือนที่เป็นอิสระต่อกัน เครื่องเสมือนแต่ละเครื่องจึงสามารถมีระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์เป็นของตน เองโดยอิสระ

Virtualization มีประโยชน์อะไรบ้าง
ประโยชน์ที่สำคัญของ Virtualization คือ การลดจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ พิจารณา จากหลายๆ เซิร์ฟเวอร์ขององค์กร ที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จริงหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งเซอร์วิส ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริงนั้น เซิฟเวอร์แต่ละเครื่องยังไม่ได้ถูกใช้อย่างเต็มที่ ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรในการจัดซื้อและดูแลรักษา อย่างเปล่าประโยชน์
Virtualization สามารถลดจำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่จะต้องใช้ได้ โดยการรวมศูนย์การทำงานของระบบ (Server Consolidation) ด้วยการติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์แต่ละระบบขององค์กรด้วยเครื่องเสมือน (Virtual Machine) เครื่องหลักหนึ่งเครื่องจะสามารถบริการเครื่องเสมือนได้หลายเครื่อง เป็นการใช้ทรัพยากรระบบอย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการดูแลระบบทั้งด้วย
นอกจากนี้ Virtualization ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้อีกหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น

  1. การทำ Migration เพื่อย้ายการทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปยังอีกเครื่องได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลด Downtime จากเวลาที่ใช้ในการติดตั้งใหม่ และแก้ปัญหาความไม่เข้ากันของฮาร์ดแวร์ได้
  2. ระบบ virtual desktop สำหรับพนักงานในองค์กร แทนที่เครื่องสำนักงานด้วย virtual machine อำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลข้อมูลขององค์กร
  3. ทดสอบแอพพลิเคชั่น ในหลายๆ สภาพแวดล้อมการทำงาน โดยใช้ Virtual Machine เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Linux
Cloud Computing คืออะไร
Cloud Computing หรือ ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ คือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ
cloud_computing_faqs



ระบบจะประกอบไปด้วยกลุ่มเมฆของเซอร์ฟเวอร์ (cloud server) ซึ่งเป็นเซอร์ฟเวอร์จำนวนมหาศาลนับหมื่นเครื่องที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน กลุ่มเมฆนี้ต่อเชื่อมเข้าหากันด้วยเครือข่ายเป็นระบบกริด ในระบบนี้จะใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ช่วลไลเซชั่นในการทำงานเพื่อให้โปรแกรม ประยุกต์ขึ้นกับระบบน้อยที่สุด สำหรับโครงสร้างของระบบจะมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ( User interaction interface) ที่รับคำขอบริการจากผู้ใช้ในรูปแบบเวบ ในมุมมองของผู้ใช้ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะหายไปเหลือเพียงบริการหรือ เซอร์วิสเท่านั้น ซึ่งโมเดลหลักตอนนี้จะมีสองแนวทางด้วยกัน โมเดลแรก คือ SaaS (Software As A Services) ซึ่งบริการทุกอย่างรวมถึง User Interface ทำจากระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆหมด ตัวอย่างเช่น กูเกิ้ลsearch, กูเกิ้ลapp เป็นต้น ข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้ระบบโดยไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ใดๆ นอกจากเวบบราวเซอร์ และยังง่ายต่อการพัฒนาใน Mobile Device แต่อาจต้องการเครือข่ายที่เร็วและเสถียร ส่วนอีกโมเดลหนึ่ง คือ Software+Services ของไมโครซอฟต์ซึ่งต้องลงซอฟต์แวร์บนเครื่องของผู้ใช้ แต่การประมวลผลขนาดใหญ่หรือขีดความสามารถเพิ่มเติมจะทำจาก กลุ่มเมฆแทน ข้อดีคือ การทำงานจะตอบสนองได้ดีกว่าและสามารถประมวลผลเองได้บางส่วนโดยไม่ต้องมี เครือข่าย อย่างไรก็ตามผู้ใช้ต้องบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่ลงไว้ทำให้เกิดความซับซ้อน มากกว่าในส่วนนี้

Thanks : inox.co.th

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Load Balancing

Load balancing คืออะไร?

คือการจัดกลุ่มของคอมพิวเตอร์หลายๆตัวเพื่อแบ่งงานกัน หรือกระจาย load การใช้งานของ user ไปยังคอมพิวเตอร์ภายในกลุ่ม เพื่อให้สามารถรับจำนวน user ที่เข้ามาใช้งานได้มากขึ้น หรือสามารถรับงานที่เข้ามาได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติของ Fail Over คือหากมีคอมพิวเตอร์ภายในกลุ่มไม่สามารถทำงานได้ เช่น Down อยู่ หรือไม่สามารถรับงานหรือ user เพิ่มได้เนื่องจาก resource ที่ใช้ทำงานไม่พอ ตัว Load Balancer ที่เป็นตัวแจก load ให้คอมพิวเตอร์ภายในกลุ่มก็จะส่ง load ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆแทน จนกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะกลับมาใช้งานได้ใหม่

การทำงานของ Load Balancer นั้นมี 3 ลักษณะด้วยกันได้แก่

1. Round-robin เป็นการส่ง traffic ไปยัง Server ภายในกลุ่มวนไปเรื่อยๆ

2. Sticky เป็นการส่ง traffic โดยยึดติดกับ Session ที่ user เคยเข้าไปใช้งาน เช่น ถ้า user เคยเข้าไปใช้ใน server ที่ 1 ภายในกลุ่ม traffic ของ user คนนั้นก็จะถู ส่งไปยัง server 1 เท่านั้น

3. การใช้ Load Balancer ปัจจุบันนิยมใช้วิธีนี้มากที่สุด วิธีนี้เราจะมี Load Balancer หนึ่งตัว ขว้างหน้า Server ภายในกลุ่ม เพื่อรอรับ Request จาก User เมื่อมี Request เข้ามาตัว Load Balancer จะทำการ Forward Request ไปยัง Server ภายในกลุ่ม




การทำ Cluster Load Balance คือการผสมผสานการทำงานทั้งสองลักษณะเข้าด้วยกัน แต่หากจะเลือกใช้การทำงานแบบนี้แล้ว การใช้ Load Balance แบบ Ramdom Redirection ก็จะไม่มีความหมายไป เนื่องจาก ทุกๆ Server ภายในกลุ่มเป็น Cluster กันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะส่ง Traffic ไปให้เครื่องเดิมเสมออีก ควรจะทำ Load Balance แบบ Round-robin หรือ Work load แทน

อย่างไรก็ดีการทำ Cluster ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Feature ของ Server เป็นหลัก แต่เราสามารถ Develop ตัว Application ให้เป็น Cluster เองได้ โดยไม่ต้องพึ่ง Feature ของ Server เช่น การใช้หลักการของ File Sharing หรือ Database เข้ามาช่วยก็สามารถทำงานได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับการทำ Load Balance เราไม่จำเป็นต้องหา Hardware หรือ Software พิเศษที่จะทำหน้าที่เป็น Load Balancer แต่เราสามารถเขียน Application เพื่อทำการกระจาย Traffic ไปยัง Server ต่างๆได้เหมือนกัน โดยใช้หลักการของ Redirection เป็นต้น


ความแตกต่างกันระหว่างCluster และ Load balance จะสรุปง่ายคือ

#Clustering เป็นมุมมองด้านกายภาพ คือการเอา computer หลายๆเครื่องมาต่อกัน และติดตั้งระบบ network เพื่อความสะดวกสำหรับงานใดงานนึง ซึ่งอาจจะเป็น การทำ load balancing หรือ parallel computing

#Load balancing คือการกระจาย load ให้กับ computer หลายๆเครื่อง โดยมากต้องการเพิ่ม volumn ของการทำงาน อาจจะใช้ ระบบ Cluster หรือระบบอื่นก็ได้ เช่น Grid Computing


Thanks : ccsmail.sut.ac.th || www.narisa.com || www.west-wind.com

Cluster is ....

Cluster

A Computer Cluster คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยการ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันโดยมีความเชื่อถือสูงกว่าการทำงานเพียงเครื่องเดียว และเพิ่มประสิทธิภาพในการคงทนต่อการใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานโดยแบ่งได้ดังนี้

1. High-availabiliy ( HA ) Clusters ( หรือ Failover Cluster )

คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ ด้วยการทำ Redundant nodes ด้วยการนำโหนดสองตัวมาทำการสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อลดการเกิด Single points of failure

ในที่นี้จะกล่าวถึงโปรแกรม Heartbeat http://www.linux-ha.org/ ซึ่งเป็นโครงการของ Linux-HA Project ซึ่งสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ Linux, FreeBSD, OpenBSD, Solaris and Mac OS X โดยจะเป็นการเพิ่ม reliability, availability, และ serviceability (RAS).

2. Load-balancing Clusters

คือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆตัว เพื่อทำการแบ่งภาระงานซึ่งกันและกัน หรือเป็นจุดเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เสมือน เพื่อเชื่อมโยงไปยังอีกหลายๆเครื่อง โดยกลุ่มของคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า Computer Farm โดยจะเน้นไปในบริการด้าน Web sites, Internet Relay Chat , File Transfer , NNTP server , DNS server

3. Compute clusters

Clusters ที่นำมาใช้งานจะนำมาประมวลผลหรือจำลองการเกิดหรือการก่อตัวของสภาวะอากาศ และการชนของวัตถุ โดยบางครั้งก็อาจเรียกว่า Supercomputing ซึ่งอาจจะมาจากคอมพิวเตอร์ประเภทเดียวกันโดยอยู่ในบริเวณเดียวกัน

4. Grid Computing

คือ การนำ คอมพิวเตอร์มาทำการประมวลผลโดยเน้นผลลัพธ์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บและวัดผลเกี่ยวกับ น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือ ระบบการใช้งานของเครือข่าย โดยเป็นการนำคอมพิวเตอร์มารวมกันเป็นระบบซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันทางด้านอุปกรณ์หรือการจัดการ โดยมาจากสถานที่ใดๆ

ประโยชน์ของการทำ Cluster

1. ช่วยลดเวลาในการประมวลผล ในงานที่มีลักษณะใหญ่ๆได้อย่างรวดเร็ว

2. ในการรันงานไม่ต้องทำการคัดลอกไฟล์ไปยังหลายๆเครื่อง

3. สามารถรันงานได้หลายงานพร้อมกัน โดยไม่กระทบต่อระบบโดยรวม

4. หากเป็นงานที่ใช้เวลาในการประมวลผลมาก หากต้องการแก้ไขโปรแกรมก็อาจจะลืมไปว่าต้องแก้ไขอะไรไปบ้าง

5. สามารถประมวลผลที่ละขั้นตอน โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมให้เสร็จก่อน

6. ในการทดสอบโปรแกรม สามารถใส่ค่าตัวแปรได้มากในการประมวลผล ทำให้ได้ผลลัพธ์เร็ว

ข้อเสียของการทำ Cluster

1. ต้องลงทุนสูง

2. ต้องมีผู้ดูแลที่เชี่ยวชาญ


High - availability system architectures

HA จะต้องประกอบไปด้วย การทำ Redundant ของ hardware และโปรแกรมชนิดพิเศษโดยใช้ HA Stack ในการทำ ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นของ Hardware และ Software ตามรูป

การทำงานจะเริ่มจากล่างขึ้นบน คือ Hot Swap => Redundancy => Management โดยที่การจัดการจะควบคุมไปยัง ชุดของโปรแกรม เช่น fault tolerance , redundant host และ Predictive analysis / policy-based management
1.
hot swap คือ การเรียกการที่ระบบไม่ถูก down ลง เมื่อทำการถอด หรือ ใส่ ส่วนประกอบหรือส่วนติดตั้งที่เกิดการชำรุดและเป็นการนำเข้าสู่ระบบที่ง่าย
2.
Redundant เป็นการทำให้แน่ใจว่า จะไม่เกิดการล้มเหลวของระบบ ตัวอย่างเช่น การมีระบบสำรองเครื่องจ่ายไฟ , ระบบพัดลม , IPMI ,PICMG, ระบบแหล่งรับไฟ 2 ชุด , โดยการเชื่อมต่อมีด้วยกันสอง แบบคือ แบบ Bus และ แบบ Star ซึ่งเมื่อ บริการใด เสียไปก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบหลัก โดยการเชื่อมต่อจะเป็นแบบจุดต่อจุด แต่ละ อุปกรณ์จะแยกออกจากกัน




Thanks : Computer_cluster

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ฺBlade Server

blade server เป็นแชสซิสของเครื่องแม่ข่าย หลายบอร์ดวงจรอิเลคทรอนิคส์ โมดูล และบาง เรียกว่า server blade แต่ละใบคือ แม่ข่ายในตัวเอง มักจะเป็นตัวแทนของแต่ละโปรแกรมประยุกต์ ใบนี้เป็นแม่ข่ายตามตัวอักษรบนการ์ด, เก็บโพรเซสเวอร์, หน่วยความจำ, ตัวควบคุมเครื่อข่ายรวม, host bus adaptor (HBA) ช่องไฟเบอร์ตัวเลือก และพอร์ตนำเข้า / ส่งออก (I/O) อื่น

blade server ให้กำลังการประมวลผลมากขึ้นในพื้นที่จำกัด การวางสายง่าย และลดการใช้พลังงาน ตามบทความ SearchWinSystems.com เกี่ยวกับเทคโนโลยีแม่ข่าย กล่าวว่า blade server สามารถลดการวางสายได้ร้อยละ 85 สำหรับการติดตั้ง blade กับแม่ข่าย 1U หรือ tower server แบบเดิม ด้วยการใช้สายน้อยลง ผู้บริหารระบบสามารถลดเวลาจัดการโครงสร้างพื้นฐานและให้มั่นใจด้านเวลา มากกว่า high availability

ตามปกติแต่ละใบมาพร้อมกับ 1 หรือ 2 ไดร์ฟ ATA หรือ SCSI ตัวจัดเก็บเพิ่มเติม blade server สามารถเชื่อมต่อกับกลุ่มการจัดเก็บโดย network-attached storage (NAS), ช่องไฟเบอร์ หรือ iSCSI storage-area network (SAN) ข้อได้เปรียบของ blade server ไม่เพียงเฉพาะจาก 1 แชสซิสมีหลายแม่ข่าย แต่รวมถึงการรวมทรัพยากร (เช่นอุปกรณ์จัดเก็บและเครือข่าย) เป็นสถาปัตยกรรมเล็กกว่าที่สามารถจัดการได้ผ่าน 1 การอินเตอร์เฟซ

บางครั้ง blade server ได้รับการอ้างเป็น high-density server และปกติใช้ใน clustering ของแม่ข่ายที่เป็นตัวแทนใน 1 ภาระ เช่น
- การใช้ไฟล์ร่วม
- การบริการและแคชของเว็บเพจ
- การรหัส SSL ของการสื่อสารเว็บ
- Transcoding ของเนื้อหาเว็บเพจสำหรับการแสดงขนาดเล็กลง
- เนื้อหา audio และ video ต่อเนื่อง

เหมือนกับการประยุกต์ cluster ส่วนใหญ่ blade server สามารถได้รับจัดการให้การสมดุลภาระและสมรรถนะป้องกันการล้ม

Thanks : www.widebase.net