เปิดโลก IT Certificate วัดความสามารถบุคลากรไอที
ประกาศนีย บัตรในผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นเสมือนสิ่งที่รับรองบุคคลว่า บุคคลที่ได้รับประกาศนียบัตรนั้นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ นั้น สามารถที่จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายบริษัทและองค์กรต่างมีการออกประกาศนียบัตรเพื่อรับรองถึงคุณภาพของ บุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตรของตน ซึ่งต้องมีการทดสอบในเรื่องความรู้และความชำนาญในผลิตภัณฑ์ของตน บทความนี้เป็นการบอกเล่าถึงประกาศนียบัตรประเภทต่างๆ ของแต่ละบริษัท เช่น ไมโครซอฟท์ ซิสโก้ ซัน และโนเวล นอกจากนี้ในตอนท้ายมีขั้นตอนในการเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จ ในการสอบใบประกาศนียบัตร
หากกล่าว ถึงเรื่องของประกาศนียบัตร (Certificate) หรือใบรับรองความสามารถนั้น นับได้ว่าเป็นสิ่งที่รับรองถึงความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านเทคโนโลยี สารสนเทศหรือไอทีจนถึงขั้นที่ว่าเป็นมาตรฐานเลยทีเดียว ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิต และองค์กรบางองค์กรได้ออกประกาศนียบัตรเพื่อรับรองถึงคุณภาพของบุคลากรที่ ได้รับประกาศนียบัตรของตน
เทคโนโลยี ในด้านต่างๆ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์นั้นมีการ พัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา บริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ภายในองค์กรนั้น ย่อมต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ในด้านของเทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อความรู้และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง บุคลากรเหล่านั้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเหล่า นี้ จึงเป็นธรรมดาที่ต้องพัฒนายกระดับความรู้ความสามารถของตนเองให้สามารถทำงาน กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงให้ได้ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรทำได้หลายทาง ยกตัวอย่าง เช่น การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง การสอบถามจากบุคคลอื่นที่มีความรู้และความชำนาญมากกว่า และการเข้ารับการอบรม เป็นต้น การสอบเพื่อให้ได้ใบประกาศนียบัตรเป็นหนึ่งในแนวทางการยกระดับความรู้ความ สามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร รวมถึงองค์กรตลอดจนถึงระดับประเทศด้วย
ปัจจุบัน เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีการจัดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ของบุคคลมีต่อผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อที่จะ สามารถประเมินได้อย่างคร่าวๆ ว่าบุคคลนั้นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงไร บริษัทผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อันเป็นที่นิยมอาทิเช่น ไมโครซอฟท์ ซัน ไมโครซิสเต็ม ซิสโก้ซิสเต็ม ออราเคิล และโนเวล ซึ่งประกาศนียบัตรของแต่ละผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เรามาลองพิจารณารายละเอียดประกาศนียบัตรต่างๆ ของผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นกัน
ประกาศนียบัตรของไมโครซอฟต์
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมโครซอฟท์จัดได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ประกาศนียบัตรต่างๆ ของไมโครซอฟท์จึงเน้นในส่วนของระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ 2000 มีดังต่อไปนี้
1. Microsoft Certified Professional (MCP) เป็น ประกาศนียบัตรที่ง่ายสุด เพียงสอบผ่านวิชาใดวิชาหนึ่งเพียง 1 วิชา ก็ได้รับ MCP แล้ว แต่มียกเว้นอยู่ 2 วิชาคือ Networking Essentials และ Microsoft Windows 2000 Accelerated Exam for MCPs Certified on Microsoft Windows NT 4.0 เท่านั้น
2. Microsoft Certified Systems Administrator (MCSA) มีข้อกำหนดว่าผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MCSA ต้องสอบผ่าน 3 วิชาหลัก (Core Exam) และ 1 วิชาเลือก (Elective Exam) ผู้ที่เป็น MCSA เป็นผู้ที่มีความรู้ในการจัดการระบบ และสามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการได้ ประกาศนียบัตร MCSA นี้เหมาะกับบุคลากรที่มีอาชีพดังนี้ system administrator, information system administrator, network administrator, network technician, network operation analyst และ technical support specialist เป็นต้น
3. Microsoft Certified Systems Engineer (MCSE) นับได้ว่าประกาศนียบัตรนี้เป็นประกาศนียบัตรหลัก มีความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MCSE ต้องสอบผ่าน 5 วิชาหลัก และ 2 วิชาเลือก ผู้ที่เป็น MCSE เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวางแผนและจัดการระบบ สามารถติดตั้งและดูแลบริหารงานระบบ รวมถึงสามารถใช้งานในส่วนของเซิร์ฟเวอร์แบบต่างๆ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ระบบปฏิบัติการได้ ประกาศนียบัตร MCSE นี้เหมาะกับบุคลากรที่มีอาชีพดังนี้ system engineer, system analyst, network engineer, network analyst และ consultant ต่างๆ เป็นต้น
4. Microsoft Certified Database Administrator (MCDBA) ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MCDBA ต้องสอบผ่าน 3 วิชาหลัก และ 1 วิชาเลือก ผู้ที่เป็น MCDBA มีความสามารถในการติดตั้งและดูแลจัดการในเรื่องของระบบฐานข้อมูลที่เป็น Microsoft SQL ได้เป็นอย่างดี ประกาศนียบัตร MCDBA นี้เหมาะกับบุคลากรที่มีอาชีพดังนี้ database administrator และ database operator เป็นต้น
5. Microsoft Certified Solution Developer (MCSD) ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MCSD ต้องสอบผ่าน 3 วิชาหลัก และ 1 วิชาเลือก ผู้ที่เป็น MCSD เป็นผู้ที่สามารถออกแบบและพัฒนาระบบตามความต้องการทางด้านธุรกิจได้ ประกาศนียบัตร MCSD นี้เหมาะกับบุคลากรที่มีอาชีพดังนี้ software engineer, software developer, software application developer และ application analyst เป็นต้น
6. Microsoft Certified Application Developer (MCAD) ผู้ ที่ได้รับประกาศนียบัตร MCAD ต้องสอบผ่าน 2 วิชาหลัก และ 1 วิชาเลือก ผู้ที่เป็น MCAD เป็นผู้มีความรู้ในการดูแลและพัฒนาระบบงาน ประกาศนียบัตร MCAD นี้เหมาะกับบุคลากรที่มีอาชีพดังนี้ programmer, software engineer, software developer และ software application specialist เป็นต้น
7. Microsoft Certified Trainer (MCT) ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MCT เป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของทางไมโครซอฟท์ โดยใช้เอกสารประกอบการอบรมของ Microsoft Official Curriculum (MOC) การที่จะได้รับประกาศนียบัตร MCT ต้องมีการสอบ MCT ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ คือ ต้องสอบได้ประกาศนียบัตร MCP และเข้ารับการอบรมในสถาบันที่ไมโครซอฟท์ยอมรับเป็น Microsoft CTEC และเรียนรู้ทักษะในการเป็นผู้สอน สุดท้ายสมัครและจัดส่งเอกสารให้แก่ทางไมโครซอฟท์ โดยอาจกระทำผ่านทางเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ก็ได้
8. Microsoft Office User Specialist (MOUS) ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MOUS เป็นผู้ที่สามารถใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุดของผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ที่สามารถใช้ในการสอบประกาศนียบัตร MOUS นี้ได้แก่ Microsoft Office 97, Microsoft Office 2000 และ Microsoft Office XP รวมถึง Microsoft Project 2000 ด้วย
9. Microsoft Office User Specialist (MOUS) Master Instructor ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร MOUS Master Instructor เป็นผู้มีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ในส่วนของแอพพลิเคชัน ต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศโดยใช้ MOC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะได้รับประกาศนียบัตร MOUS Master Instructor มีขั้นตอนคล้ายกับประกาศนียบัตร MCT
ประกาศนียบัตรของซิสโก้ ซิสเต็ม
ซิ สโก้เป็นบริษัทชั้นนำและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีในส่วน ของระบบเครือข่ายและผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์เราเตอร์ โดยทั่วไปประกาศนียบัตรของซิสโก้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. Network Installation and Support Certification
2. Network Engineering and Design Certification
3. Communication and Services Certification
นอก จากนั้นแล้วประกาศนียบัตรเหล่านี้ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับอีก 3 ระดับ คือ ระดับ associate ระดับ professional และระดับ expert ประกาศนียบัตรต่างๆ ของซิสโก้ ได้แก่
1. Cisco Certified Network Associate (CCNA) เป็น ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องของระบบเครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดเล็กได้ CCNA นี้ไม่มีวิชาบังคับที่ต้องได้รับมาก่อน (Exam Prerequisite) เมื่อสอบผ่านวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็สามารถได้รับประกาศนียบัตรนี้
2. Cisco Certified Network Professional (CCNP) เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องของระบบ เครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ การที่จะสามารถสอบ CCNP ได้ต้องสอบผ่าน CCNA มาก่อน
3. Cisco Certified Design Associate (CCDA) เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องการออกแบบระบบเครือข่ายขนาดเล็กได้
4. Cisco Certified Design Professional (CCDP) เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องการออกแบบระบบเครือ ข่ายขนาดใหญ่ได้ การที่จะสามารถสอบ CCDP ได้ต้องสอบผ่าน CCNA และ CCDA มาก่อน
5. Cisco Certified Internetwork Professional (CCIP) เป็น ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องการออกแบบ วางแผนในการจัดการระบบเครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลบริการระบบเครือข่ายได้
6. Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) เป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ Network Installation and Support Certification และ Communication and Services Certification
ประกาศนียบัตรของซัน
ประกาศนีย บัตรของซัน เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสามารถของผู้ได้รับประกาศนียบัตรนี้ ในเรื่องของเทคโนโลยีในส่วนของจาวา และระบบปฏิบัติการโซลาริส มีประกาศนียบัตรในส่วนต่างๆ ได้แก่
1. Java Technology ในส่วนของเทคโนโลยีจาวามีประกาศนียบัตรต่างๆ คือ Sun Certified Programmer for the JavaTM 2 Platform เป็นประกาศนียบัตรในเรื่องของการใช้งานเทคโนโลยีจาวาแพลตฟอร์มของซัน Sun Certified Developer for the JavaTM 2 Platform เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ได้รับต้องมีพื้นฐานในเรื่องของโครงสร้างและซินแท็ก ของภาษาจาวาสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชันได้เป็นอย่างดี Sun Certified Web Component Developer for J2EETM 2 Platform เป็นประกาศนียบัตรสำหรับผู้พัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย J2EE และสุดท้าย Sun Certified Enterprise Architect for JavaTM 2 Platform, EnterpriseTM Edition เป็นประกาศนียบัตรที่เหมะสำหรับผู้ออกแบบโครงสร้างระบบด้วยภาษาจาวาใน มาตรฐาน J2EE
2. iPlanet มีประกาศนียบัตร คือ iPlanetTM Application Server 6.0 Certification เป็นประกาศนียบัตรการใช้งานแพลตฟอร์ม iPlanetTM Application Server 6.0 ของซัน
3. Solaris Operating Environment ในส่วนของ Solaris Operating Environment นี้มีประกาศนียบัตรต่างๆ คือ Sun Certified System Administrator for the SolarisTM Operating Environment เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความสามารถในการใช้งานระบบปฏิบัติ การโซลาริสได้เป็นอย่างดี Sun Certified Network Administrator for the SolarisTM Operating Environment เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องของระบบเครือข่ายบน ระบบปฏิบัติการโซลาริส
4. NetSun Certification Track ในส่วนนี้มีประกาศนียบัตรต่างๆ คือ Sun Certified Data Management Engineer เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้และความสามารถในเรื่องของการ จัดการส่วนของระบบฐานข้อมูล Sun Certified Backup and Recovery Engineer เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความสามารถในเรื่องของการสำรองและ กู้คืนในส่วนของข้อมูลต่างๆ Sun Certified Storage Architect เป็นประกาศนียบัตรที่รับรองผู้ที่มีความสามารถในการออกแบบและดูแลระบบการจัด เก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Thanks : Low CosT
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น