แนวรบใหม่ด้านมัลติมีเดีย
สิ่งที่ยากลำบากของการนำโอเพ่นซอร์สมาใช้งานคือเรื่องของการขาดการสนับสนุน เรื่องมัลติมีเดียก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่บ่อยครั้งบนระบบโอเพ่นซอร์สนั้น ไม่สนับสนุน แต่ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถโทษผู้พัฒนาได้ แต่บางครั้งสาเหตุมาจากเรื่องของลิขสิทธิ์ในการใช้งาน ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของฟรีซอฟต์แวร์ แต่ในทางปฏิบัติแล้วนักพัฒนาไม่ได้ละเลยตรงส่วนนี้และจะอาศัยการพัฒนาสิ่ง ที่ดีกว่าขึ้นมาทดแทน ตัวอย่างเช่น Ogg Vorbis เป็นฟอร์แมตของข้อมูลเสียงที่ลดการสูญเสียและเก็บข้อมูลได้สมบูรณ์กว่ารูป แบบ MP3 ซึ่งแน่นอนในครั้งนี้ไม่ได้มีเรื่องของลิขสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องอีก ในขณะที่มีการพัฒนาด้านมัลติมีเดียมากขึ้น แต่ Vorbis ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้คุณภาพเสียงได้ดีกว่าแต่กลับไม่ได้รับการสนุนจาก อุปกรณ์เท่าที่ควร
ปัญหาต่อไปที่คล้ายๆ กันคือเรื่องของเนื้อหาข้อมูล พบว่าอุปกรณ์ใหม่จะสนับสนุนเทคโนโลยีตามแต่ผู้ให้บริการข้อมูลจะสนับสนุน ดังนั้นแล้วผู้ให้บริการส่วนมากต้องการที่จะปกป้องข้อมูลของตัวเองเอาไว้จึง เลือกที่จะสนับสนุนเทคโนโลยี DRM (Digital Rights Management) ดังนั้นเรื่องนี้เป็นการท้าทายของโอเพ่นซอร์สอีกครั้งว่าจะรับมือสถานการณ์ นี้ได้อย่างไร
The OpenMedia Commons ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทซัน กำลังคิดค้นวิธีหาเทคโนโลยี Open DRM ที่จะทำให้โอเพ่นซอร์สสามารถนำเทคโนโลยีไปเข้ารหัสปกป้องข้องมูลของตนเองโดน ไม่ติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์และสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วกัน
เมื่อความปลอดภัยคือปัญหาใหญ่
มี หลายบริษัทมากที่เลือกใช้โอเพ่นซอร์สในการทำงาน ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ลงไปได้มากทีเดียว ปัญหามากมาย ตั้งแต่เรื่องของสแปม สปายแวร์ และเครื่องมือตรวจสอบและป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย สิ่งเหล่าไม่ได้ถูกสร้างหรือรวมอยู่กับระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สเลย เช่น FreeBSD หรือ Linux แต่มีการเรียกใช้โอเพ่นซอร์สอื่นๆ เพื่อทำงานในส่วนนี้แทน
เครื่องมือยอดนิยมที่ใช้ในการ ค้นหาพอร์ตที่เปิดใช้งานของระบบปฏิบัติการบนแพลตฟอร์มใดๆ คือ Nmap และเช่นเดียวกันภายใน Nmap ก็มีการใช้งานโอเพ่นซอร์สตัวอื่นด้วยเช่นเดียวกัน Nmap คือซอฟต์แวร์ที่สามารถค้นหาพอร์ตที่เปิดอยู่ของหมายเลข IP ที่ส่งเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถตรวจสอบว่าเครื่องปลายทางมีการใช้งาน OS ตัวใดโดยดูจากแพคเกจที่ได้รับกลับมา ตัวอย่างอื่นเช่น Nessus เป็นโอเพ่นซอร์สเน็ตเวิร์กสแกนเนอร์อักตัวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก Nessus ยังสามารถเรียก Nmap เพื่อให้ทำการค้นหาได้โดยจุดประสงค์หลักของ Nessus จะเป็นการค้นหารูรั่วของระบบเสียมากกว่า ซึ่งมี Plugin ของ Nessus มากมาย ซึ่ง Plugin ใหม่ๆ ก็หมายถึงรูรั่วใหม่นั่นเอง
Snort เป็นซอฟต์แวร์ตรวจจับการโจมตี (Intrusion Detection System) ซึ่งไม่ได้มีความสามารถเหมือนกับ Nessus ตัวมันเองเป็นซอฟต์แวร์แบบ Commercial แต่ก็มีเวอร์ชันที่เป็นโอเพ่นซอร์สด้วยเช่นเดียวกัน และยังคงมีซอฟต์แวร์ตัวอื่น เช่น OpenSSH และ OpenSSL ที่มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายในหลายๆ โปรดักส์บนแพลตฟอร์มวินโดวส์ ลีนุกซ์ และอื่นๆ อีกมากมาย
ความ ปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีระบบปฏิบัติการใดที่มีความปลอดภัยอย่างที่สุด ในด้านความปลอดภัยเราอาจจะมองว่า การเปิดเผยซอร์สโค้ดให้กับคนทั่วไปอาจจะทำให้แฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าสู่ระบบ ได้ง่าย หรือเปิดทางให้ไวรัสได้เข้ามาโจมตี ซึ่งเราอาจจะมองไปที่ไมโครซอฟท์ซึ่งไม่ได้เปิดเผยซอร์สโค้ดแต่ก็ถูกโจมตีได้ เช่นเดียวกัน ในมุมมองของการพัฒนาบริษัทซอฟต์แวร์ย่อมจะทีมที่ใช้ในการค้นหาตรวจสอบการทำ งานของระบบซึ่งอาจจะมีเพียง 10 -12 คนเท่านั้น แต่ในมุมมองของโอเพ่นซอร์สแล้วมีเหล่านักพัฒนาที่เข้ามาร่วมมือกันกระจายออก ไปทั่วโลก ดังนั้นแล้วจุดออ่อนหรือรูรั่วย่อมจะถูกค้นพบและถูกอุดลงด้วยเวลาอันรวดเร็ว ผลลัพธ์คือเราจะได้รับซอฟต์โอเพ่นซอร์สที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ภาษาสคริปต์ที่เปิดกว้าง
ภาษา สคริปต์ที่บางครั้งเราเรียกว่าภาษาไดนามิค ได้มีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย สาเหตุมาจากเราสามารถนำภาษาเหล่านี้ไปช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ง่ายขึ้น และใช้เวลาในการทำงานน้อยลง “bang for the buck” เป็นสำนวนที่มาจากการพยายามที่จะผลักดันภาระในการทำงานไปสู่คอมไพเลอร์ เช่น การกำหนดชนิดของตัวแปรโดยดูจากค่าของตัวแปรเป็นต้น ภาษาสคริปต์ทั้งหลาย เช่น PHP, Perl และ Python มีส่วนที่คล้ายกันคือเป็นโอเพ่นซอร์ส ในบางจุดการจะเป็นเทคโนโลยีเปิดหรือปิดนั้นไม่สำคัญ แต่ในแง่ของการพัฒนาแล้ว การใช้เทคโนโลยีเปิดย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการนำไปใช้งานและแก้ไขของกลุ่มผู้ ใช้งานในภาษานั้นจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ตัวอย่างของการเปรียบเทียบภาษาสคริปต์ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกันอย่างเช่น NetRexx และ Ruby
NetRexx ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของ Big Blue ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นภาษาสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเมนเฟรม สามารถพัฒนาได้เร็ว และเรียนรู้ได้ง่าย ตัวมันเองสามารถที่จะแปลงโค้ดให้กลายเป็น Java ByteCode ทำให้ NetRexx สามารถทำงานร่วมกับไลบรารี่ต่างๆ ของจาวาได้ ดังน้น NetRexx จึงได้รับประโชน์อย่างเต็มที่จาก Java Virtual Machine ไปด้วย และ Ruby เป็น ภาษาสคริปต์แบบ Interpreter ไม่มี Virtual Machine ทำงานได้ช้ากว่า แต่มีข้อดีที่มีพื้นภาษามาจาก Perl
NetRexx และ Ruby ยังมีข้อดีที่เหมือนกันคือฟรี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว NetRexx ที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่า ข้อดีมากกว่าน่าจะไปได้ไกลกว่า Ruby ที่ทำงานได้ช้ากว่า แต่ความจริงกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ปัจจุบัน Ruby ได้รับความนิยมสูงและกำลังมีอนาคตที่สดใส ต่างจาก NetRexx ที่กำลังจะหายไป สาเหตุหลักมาจากการที่ Ruby นั้นเป็นโอเพ่นซอร์ส แต่ NetRexx นั้นไม่ใช่ ผลคือ Ruby สามารถสร้างชุมชนของนักพัฒนาขึ้นมาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นซึ่งมีการ ใช้งานมานานแล้ว และ Ruby ได้ก้าวต่อไปอย่างรวดเร็วอีกครั้งเมื่อ David Heinemeier Hansson ได้เขียน Ruby on Rails ซึ่งเป็น Web Application Framework ที่มีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของ Ruby ไปเลยทีเดียว ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปหากไอบีเอ็มเปิดเผยซอร์สของ NetRexx ผลลัพธ์ในวันนี้อาจจะแตกต่างกันออกไปก็ได้
โอ เพ่นซอร์สเองไม่ได้รับประกันว่าภาษานั้นๆ จะประสบความสำเร็จ และยังมีภาษาอีกมากมายที่อาจจะไม่ทางไปสู่ความสำเร็จได้เลย โอเพ่นซอร์สเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจำเป็นจะต้องมีแหล่งชุมชนและ ทรัพยากรอื่นๆ อีกด้วย และในบางครั้งก็เป็นที่ตัวภาษาเอง ภาษาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมามีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่าง ถึงที่สุด
เพิ่มทางเลือกให้องค์กร
เครื่อง มือโอเพ่นซอร์สและอีเมล์มีการใช้กันมานานมากแล้ว โดยเมล์เซิร์ฟเวอร์อย่าง Exim,Postfix และ Sendmail ได้มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง ตลอดจนถึงอีเมล์ไคลเอนต์อย่าง Mozilla Thunderbird และ Pine แต่อีเมล์ก็ไม่ได้เป็นที่สุดของความต้องการในการทำงานในการรับส่งข้อมูลของ องค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น สามารถแชร์ข้อมูลปฏิทินร่วมกัน สมุดรายชื่อ และ Instant Messaging ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในองค์กรระดับใหญ่นี้เรามีทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นคือ IBM Lotus Note และ Microsoft Exchange ด้วยข้อเสนอและความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ส่งผลให้มีผู้ใช้ใหม่จำนวนมากหลั่ง ไหลเข้าไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในกลุ่มนี้ด้วยเช่นเดียวกันอย่าง Open-Xchange ซึ่งมีความสามารถคล้ายกันแต่มาในรูปแบบของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยที่ Open-Xchange ประกอบไปด้วยเครื่องมือโอเพ่นซอร์สเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์,Tomcat Java Servelet และ ฐานข้อมูลอย่าง PostgreSQL ดังนั้นจึงสามารถตอบสนองความต้องการต่างๆ ได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ หรือปฎิทินผ่านทางเว็บ และในส่วนพิเศษที่ต้องเสียเงินก็สามารถเชื่อมต่อกับ Microsoft Outlook และ Palm ได้ด้วย ยังคงมีโปรเจกต์โอเพ่นซอร์สอื่นๆ เช่น Zimbra ที่มีการใช้เทคโนโลยีของ AJAX (Asynchronous JavaScript and XML) โดยที่ Zimbra สามารถรวมข้อมูลเข้าอีเมล์ สมุดรายชื่อ ไปยังกูเกิลแมบ ความสามารถอื่นๆ อย่างเช่น สามารถเป็นระบบกลางเชื่อมต่อด้วยเว็บเซอร์วิสเพื่อให้บริการกับระบบอื่นๆ ได้ ดังนั้นนักพัฒนาสามารถพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับ Zimbra ผ่านทาง API เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ใน Zimbra ได้ และเป็นผลมาจากการที่ Zimbra เป็นโอเพ่นซอร์สดังนั้นในการนำไปใช้อาจจะมีการปรับแต่งแก้ไขให้เป็นไปยังแบบ ที่ต้องการ และ Open-Xchange และ Zimbra ยังมีข้อดีของการเป็นโอเพ่นซอร์สเนื่องการใช้การติดต่อสื่อสารและโปรโตคอ ลที่เป็นมาตรฐานอย่างเช่น WebDAV, LDAP, ICal และ HTTP
สัญญาณ ที่ดีและสำคัญอีกข้อคือ ในการทำงานในปัจจุบัน บริษัท องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ต่างให้ความสำคัญกับอีเมล์เป็นอย่างมาก ข้อมูลทั้งหมดในปัจจุบันเกือบจะจบลงที่อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นการใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่โอเพ่นซอร์สที่ไม่ใด้มีมาตรฐานกลางในการ ทำงานย่อมจำเป็นต้องทำงานกับซอฟต์แวร์เหล่านี้เท่านั้น ซึ่งต่างจากโอเพ่นซอร์สที่ใช้มาตรฐานกลางซึ่งเราจะสามารถใช้งานได้ตามที่ ต้องการ และในอนาคตก็สามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานในส่วนที่ต้องการได้เป็นผลมาจาก มาตรฐานกลางนั่นเอง
Thanks : mnet.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น