Webmin |
ลอง ติดตามเรื่องราวที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้ซิ มันจะช่วยทำให้เราลืมฝันร้ายเหล่านั้น เพราะนี่คือการจัดการเซิร์ฟเวอร์ทั้งตัวผ่านเว็บบราวเซอร์
เว็บมินคืออะไร แน่ นอนว่าจะต้องเป็นคำถามแรกของคนที่เพิ่งจะได้ยินเป็นครั้งแรก แท้จริงแล้วเว็บมินเป็นโปรแกรมที่ทรงพลังมากในการจัดการระบบปฏิบัติการอย่าง ลีนุกซ์และยูนิกซ์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยการควบคุมผ่านเว็บมิน คุณสามารถจัดการทุกเรื่องของระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขไฟล์คอนฟิกต่างๆ เรื่อยไปจนถึงการจัดการเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้งาน หรือจะจัดการเรื่องของเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการเงื่อนไขการใช้งานที่ซับ ซ้อนกว่าเดิม และแน่นอนว่ามันถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วโดยที่ ไม่ต้องพึ่งพาคอมมานด์ไลน์แต่อย่างใด นอกจากนั้นยังทำการเริ่มต้นบริการต่างๆ ให้โดยอัติโนมัติ นี่คือซอฟต์แวร์ในฝันของบรรดาผู้ที่ทำงานในตำแหน่งที่เรียกว่า “แอดมิน” มาดูกันดีกว่าว่าเว็บมินสามารถจัดการอะไรให้เราได้บ้าง -สามารถเพิ่มลดจำนวนผู้ใช้งานในระบบได้อย่างอิสระ
-จัดการส่งไฟล์และไดเรกทอรีสู่ระบบอื่นผ่านทาง NFS
-กำหนดขนาดของพื้นที่ใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคนได้อย่างอิสระ
-จัดการกับแพคเกจอย่าง RPM ได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการถอดถอนหรือติดตั้ง รวมไปถึงจัดการแพคเกจอื่นด้วย
-จัดการเรื่องของเน็ตเวิร์คตั้งแต่การเปลี่ยนค่าของ IP Address เรื่อยไปจนถึง DNS
-จัดการเรื่องของ Firewall ได้อย่างง่ายดายผ่านเว็บบราวเซอร์
-ควบคุมการทำ Virtual Host และ Web Server ผ่าน Apache ได้อย่างง่ายดาย
-จัดการเรื่องของดาต้าเบสทั้งหมดของ MySQL และ PostgreSQL
-จัดการเรื่อง File Sharing กับระบบวินโดวส์ได้
นี่ยังไม่ ใช่ความสามารถทั้งหมดของเว็บมิน แต่เป็นแค่บางส่วนที่เป็นงานบริการพื้นฐานที่มักจะใช้งานกันเท่านั้นแท้จริง แล้วมันสามารถจัดการบริการทุกอย่างที่ลีนุกซ์สามารถให้บริการได้ผ่านทางหน้า ต่างของเว็บบราวเซอร์ ซึ่งเป็นการป้องกันคุณจากเรื่องของการพิมพ์คำสั่งผิดพลาดหรือแก้ไขคอนฟิก ไฟล์ผิดรูปแบบที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ จากการแก้ไขไฟล์ตรงๆ อีกทั้งยังทำการเตือนคุณก่อนสำหรับงานที่ต้องการความเชื่อมั่นสูง นั่นก็คืองานที่สั่งให้ทำแล้วจะกระทบกับระบบมากๆ มันจะทำการเตือนเพื่อให้เรายืนยันอีกครั้งก่อนสั่งงานจริงเสมอ
ใครบ้างที่ต้องใช้ Webmin
ด้วยความ ที่มันเป็นการทำงานผ่านบราวเซอร์นี่เองที่ทำให้เว็บมินมีความคล่องตัวสูงมาก ขอเพียงแค่คุณนั่งทำงานอยู่บนเครื่องไหนก็ได้ที่เชื่อมต่อยู่กับเน็ตเวิร์ค เดียวกัน คุณก็สามารถควบคุมลีนุกซ์ของคุณผ่านบราวเซอร์จากเครื่องไหนก็ได้ แตกต่างจากบางระบบที่จะต้องใช้การรีโมทเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการใช้งานผ่านการรีโมทแบบ GUI รับรองว่ามันจะทั้งช้าทั้งอืดแน่ๆ ดังนั้นการทำงานผ่านเว็บเบสดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดตอนนี้
เว็บ มินมีการออกแบบเป็น “โมดูล” ซึ่งอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือมันถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นส่วนๆ ไม่ใช่เกี่ยวโยงกันทั้งระบบ ดังนั้นการลบเพิ่มหยุดหรือทำงานของบริการต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อย่างอิสระ นั่นรวมไปถึงการติดตั้งและถอดถอนแพกเกจต่างๆ ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่เว็บมินมักจะถูกใช้ในการบริหารบริการต่างๆ ที่ลีนุกซ์ทำอยู่
ถ้าคุณเป็น คนหนึ่งที่ยังคงจัดการทุกอย่างด้วยตัวเองอยู่ละก็ แนะนำให้ว่าต่อไปจากนี้ให้เว็บมินช่วยคุณดีกว่า เพราะมันจะทำการอ่านค่าต่างๆ ทุกครั้งเมื่อมันถูกเรียกขึ้นมาใช้งาน และไม่ต้องห่วงว่าเมื่อคุณใช้เว็บมิน ไปแล้วจะทำให้คุณสูญเสียการควบคุมไป อย่างที่บอกมันจะอ่านค่าใหม่ทุกครั้งที่มันถูกเรียกใช้งาน ดังนั้นเวลาที่คุณไม่ใช้งานมันแล้วแก้ไขงานทุกอย่างด้วยตัวเอง หลังจากนั้นถ้าคุณเรียกใช้มันขึ้นมาใช้งานมันก็จะแสดงงานล่าสุดที่คุณเพิ่ง จะทำมันไป ดังนั้นคุณสามารถใช้งานแบบลูกผสมได้ ถือซะว่ามันเป็นเครื่องมือดีๆ ที่ควรจะมีไว้ข้างกาย
ประโยชน์ อีกอย่างของการเรียนรู้วิธีจัดการผ่านเว็บมินก็คือ มันไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับลีนุกซ์เท่านั้น คุณสามารถนำหลักการต่างๆ ไปใช้ได้ในการทำงานผ่านเว็บมินที่ทำงานอยู่บนเครื่องตระกูลยูนิกซ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Solaris, FreeBSD หรือ HP/UX ก็ ยังไหว อาจจะแตกต่างกันไปบ้างแต่โดยรวมแล้วสามารถปรับตัวได้ไม่ยาก อย่างน้อยคุณก็คุ้นเคยกับหน้าตาของมันบ้างแล้ว ที่เหลือก็จัดการได้ไม่ยากแล้ว เห็นไหมว่าลงทุนเรียนครั้งเดียวก็สามารถไปลุยได้หลายสนามรบ
แต่จะขอย้ำ กันอีกครั้งว่าเว็บมินไม่ใช้แก้วสารพัดนึก มันเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ช่วยในการปรับแต่งระบบให้เป็นไปอย่างที่เราต้อง การ มันจะจัดการเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ในระบบแล้วเท่านั้น ดังนั้นก่อนที่จะให้เว็บมินจัดการอะไรให้คุณก็ต้องทำการติดตั้งมันก่อน เรื่องของเรื่องก็คือมันจะจัดการกับงานบริการมาตรฐานที่ลีนุกซ์ทุกๆ ตัวมีอยู่เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมือนกัน
โปรแกรม ตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องมีประสบการณ์กับลีนุกซ์มาบ้างแล้ว ถ้าจะให้ดีควรจะเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลระบบมาบ้างแล้วจะ ดีมาก เพราะว่าถ้าคุณอยากจะทำให้เรื่องการจัดการกับยูเซอร์ภายในระบบหรือจัดการกับ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์อย่างสควิดให้เป็นเรื่องง่ายแล้วละก็ คุณจะต้องมีไอเดียอยู่ก่อนแล้วว่าอยากจะจัดการอะไรบ้างกับยูเซอร์ในระบบ หรือต้องมีไอเดียแล้วว่าจะจัดการกับพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เรื่องไหนบ้างหรือ อยากจะปรับจูนระบบตรงส่วนไหน ดังนั้นคนที่จะใช้เว็บมินควรจะเป็นคนที่ใช้งานลีนุกซ์อยู่แล้วถ้าไม่ใช่ที่ บ้านก็ต้องเป็นที่ทำงาน
นอกจากจะต้องเคยผ่านการใช้งานลีนุกซ์มาแล้ว คุณสมบัติต่อมาก็คือเรื่องของ TCP/IP ต้องเป็นพื้นฐานที่สามารถเข้าใจได้ เรียกว่างานนี้ต้องเชี่ยวเรื่องเน็ตเวิร์คพอตัวเลยที่เดียวอย่างน้อยถ้าพูดถึง DNS ก็ ต้องนึกภาพออกว่ากำลังจะต้องเจอกับอะไร เท่านั้นยังไม่พอคุณจะต้องรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ในระบบยูนิกซ์ รวมไปถึงรู้จักกับคำว่า “user” และ “group” คืออะไร และถ้าคุณต้องการจัดการกับเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่าง Apache อีกทั้งยังต้องการพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์อย่าง Squid คุณก็ต้องจิตนาการไว้ก่อนแล้วว่าระบบที่คุณต้องการนั้นจะต้องปรับแต่งตรงไหนบ้าง
คุณควรจะทราบด้วยว่าขณะที่ใช้งานเว็บมินนั้นคุณกำลังทำงานในสถานะของ “root” นั่น หมายถึงคุณสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ ตั้งแต่ลบไฟล์เล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงลบไฟล์ทั้งหมดระบบก็ทำได้ ดังนั้นโอกาสที่จะทำให้ระบบของคุณบูตไม่ขึ้นอีกเลยก็เป็นไปได้ นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นได้ถ้าคุณไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบเลย แม้ว่าเว็บมินจะมีการเตือนเกี่ยวกับการทำงานที่จะส่งผลร้ายแรงกับระบบให้ ทราบทุกครั้งก็ตาม แต่ถ้าคุณก้มหน้าก้มตากด “เยส” อย่างเดียวรับรองว่าระบบของคุณพังแน่
เว็บ มินทำงานได้ทั้งในขณะที่คุณออนไลน์และออฟไลน์ แต่ดูเหมือนว่าคุณจะได้ประโยชน์เต็มที่จากมันก็คือตอนที่คุณออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่คุณต้องการโมดูลต่างๆ เพิ่มหรือต้องการอัพเกรดแพคเกจหลายๆ ตัว เว็บมินจะจัดการเรื่องทั้งหมดนี้ให้คุณ ถ้าจะให้ดีก็ควรจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่ถ้าจะเป็นการหมุนผ่านสายโทรศัพท์ก็ยังพอไหว ก็มันทำงานผ่านบราวเซอร์นี่นา
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าหากจะใช้เว็บมินต้องเป็น “root” เท่า นั้น คุณถึงจะจัดการกับระบบได้ไม่ว่าจะติดตั้งหรือเปิดปิด ซึ่งการใช้ยูเซอร์ธรรมดาทั่วๆ ไปใช้งานไม่ได้ ทำให้บางครั้งคุณก็ต้องพึ่งพาจมูกคนอื่นหายใจ ก็อย่างกรณีที่คุณไปใช้โฮสต์ร่วมกับคนอื่น คุณก็ต้องไหว้วานให้คนดูแลระบบเป็นคนจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรา ถ้าจะให้ดีก็ต้องใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองดูจะเหมาะสมที่สุด
แต่ ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญกับการจัดการระบบแล้วละก็ คุณจะไม่คิดเลยว่าเว็บมินเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกตรงไหน ก็ในเมื่อมันช่างเชื่องช้ากว่าการใช้มือพิมพ์เอาเป็นไหนๆ ก็แน่ละมันทำงานผ่านบราวเซอร์นี่น่าจะเร็วเท่ามือพิมพ์ได้อย่างไร แต่ถ้าจะมองให้เป็นประโยชน์ก็คือถือซะว่ามันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยตรวจ สอบเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอนในไฟล์คอนฟิกก็น่าจะได้ เพราะบางครั้งคนเก่งๆ ก็พลาดได้กับเรื่องง่ายๆ เหมือนกัน เว็บมินจะเหมาะกับใครนั้นก็คงจะบอกได้อย่างเดียวว่า มันเหมาะกับคนทุกระดับยกเว้นคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับลีนุกซ์เลยนั้น เอง
ใครเป็นคนพัฒนาเว็บมิน จากการควบคุม DNS ผ่าน เว็บเบสได้ผลทำให้เขาคิดที่จะจัดการเรื่องอื่นๆ ต่อไป ค่อยๆ เพิ่มเข้าไปทีละโมดูลต่อโมดูล เริ่มจากการจัดการควบคุมเกี่ยวกับยูเซอร์ การแชร์ไฟล์ผ่าน Samba การตั้งเวลาการทำงานของระบบ และการทำงานที่จำเป็นอื่นๆ อีก หลังจากก็ทำการแจกจ่ายออกไป ปรากฏว่าผลตอบรับออกมาดีมาก ก็เลยมีกำลังใจที่จะทำต่อไป มาวันนี้เว็บมินมีโมดูลมากถึง 83 โมดูล รองรับการทำงานหลากหลายภาษา วันนี้เว็บมินสามารถควบคุมการทำงานของลีนุกซ์ได้ทั้งหมด คาดว่าตอนนี้จำนวนดูลจะมีเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า100 โมดูล ซึ่งเป็นการพัฒนาจากชุมชนที่ส่งเข้ามา เว็บมินพร้อมแล้วสำหรับลีนุกซ์ของคุณ Thanks : www.opensource.co.th
Jamie Cameron เริ่มโครงการนี้ในปี 1997 ผ่าน ร้อนผ่านหนาวมาหลายครั้งกว่าจะออกเป็นหน้าตาอย่างที่เราเห็นอยู่นี้ ผ่านการเขียนใหม่ก็หลายครั้ง แต่ก็ออกมาสมใจอยาก สำหรับเหตุจูงใจที่ทำให้ต้องเขียนเว็บมินขึ้นมาก็เกิดขึ้นตอนที่ทำงานเป็น แอดมินดูแล DNS เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเวลาทั้งวันของเขาไม่ได้หยุดเลยต้องวุ่นอยู่กับการเพิ่มโฮสต์ใหม่ๆ ที่ลูกค้าต้องการให้เพิ่มเข้าไป อีกทั้งยังต้องจัดการตามความต้องการของลูกค้า ต้องแก้ไขคอนฟิกไฟล์อีกทั้งยังต้องรีสตาร์ทบริการอย่าง DNS บ่อยๆ เขาก็เลยต้องหาเครื่องมือสำหรับจัดการเรื่องพวกนี้ให้ง่ายเข้าไว้ แล้วคำตอบก็มาลงที่การทำหน้าจอแบบง่ายๆ ผ่านบราวเซอร์
พาทัวร์ดูเว็บมิน (เรียนรู้เว็บมินตอนที่2) |
|
พาทัวร์ดูเว็บมิน
การควบคุบเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่าง Apache ใครว่าเป็นเรื่องยากลองจัดการด้วย Webmin แล้วคุณจะรู้ว่าบางครั้งชีวิตก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
เรื่อง จัดการกับรหัสผ่านก็ไม่ใช่ยาขมอีกต่อไป เรียกคนที่คุณต้องการขึ้นมาแล้วก็จัดการตั้งรหัสใหม่ จากนั้นก็สั่งให้เปลี่ยน เท่านี้ก็จบแล้ว
ใครที่เคยตั้งเวลาให้ระบบทำโน่นทำนี่ผ่าน cron แล้วไม่เวิร์ค ลองแบบนี้ดูบ้างซิว่าจะทำได้ง่ายไหม เลือกวันเวลาและคำสั่งที่คุณต้องการได้เลย
เรื่องน่าเวียนหัวอย่าง DNS จะกลายเป็นขนมหวานก็คราวนี้แหละ
การแชร์ไฟล์ผ่าน Samba ก็จะกลายเป็นเรื่องที่สบายๆ อย่างจะกำหนดอะไรตรงไหนให้ใครเห็นบ้างใช้ได้หรือไม่ได้ก็ตามสะดวก
ใช่ ว่าจะเก่งแต่จัดการงานบริการเท่านั้น การแชร์เครื่องพิมพ์ก็ทำได้ไม่น้อยหน้า แต่จะว่าไปแล้วการสั่งพิมพ์งานมันก็งานบริการเหมือนกันนี่นา
fdisk คุณ คงไม่อยากจะเชื่อใช่ไหมว่าการสั่งงานผ่านบราวเซอร์จะทำได้แม้กระทั่งเรื่อง ของการแบ่งพาติชันของฮาร์ดดิสก์ของคุณ อันนี้น่ากลัวจะเป็นเรื่องต้องระวังซะแล้ว
Thanks : www.opensource.co.th
ติดตั้งเว็บมินกันเถอะ |
|
ดาวน์โหลดเว็บมินของคุณ
เริ่มเรื่องกันได้เลย แน่นอนว่าถ้าคุณต้องการเว็บมินเวอร์ชันล่าสุดก็ต้องไปเด็ดออกมาจากต้นกันเลย www.webmin.com เชิญเข้าไปดาวน์โหลดมาได้เลย ตอนที่กำลังเขียนอยู่นี้เป็นเวอร์ชัน 1.220 อย่า กลัวไปเลย แม้ว่ามันจะมีการอัพเดทกันอยู่บ่อยๆ แต่วิธีการใช้งานและหน้าจอในการควบคุมจะยังคงใช้งานได้อยู่อย่างไม่ต้องมี การเรียนรู้กันใหม่ ดังนั้นสบายใจได้ถ้าคุณจะเริ่มศึกษาตั้งแต่ตอนน
สำหรับคนที่ใช้ลีนุกซ์บางดิสตริบิวชันอย่าง Mandrake คุณจะพบว่าดิสตริบิวชันเหล่านี้ได้ทำการรวมเอา Webmin เข้า ไปด้วยแล้ว และมักจะทำการติดตั้งลงไปด้วยเวลาที่คุณเลือกแพคเกจแบบระบบเลือกให้ หากคุณพบว่าเวอร์ชันที่มาพร้อมกับดิสตริบิวชันเหล่านี้มักจะไม่ใช่เวอร์ชัน ล่าสุด กล่าวคือมันเก่ากว่าเวอร์ชันที่อยู่บนเว็บ ไม่ต้องตกใจไปแม้จะเก่าแต่ก็ใช่ว่าจะล้าสมัย มันเป็นเวอร์ชันที่สมบูรณ์แล้วเพียงแต่ไม่ได้อัพเดทสุดๆ เท่านั้นเอง หากคุณรู้สึกไม่สบายใจเพราะเรื่องนี้ก็ไม่มีใครห้ามถ้าคุณจะดาวน์โหลดของ ใหม่กว่ามาลงส่วนบรรดาสาวก Debian และ Gentoo ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องความอัพเดท เป็นจุดแข็งของสองดิสโทรนี้อยู่แล้ว แน่นอนคุณจะคุ้นเคยกับ apt-get install webmin สำหรับ Debian และ emerge webmin สำหรับ Gentoo เท่า นี้เว็บมินตัวใหม่ก็จะมาอยู่ในเครื่องของคุณแล้ว แต่ถ้าไม่เชื่อมั่นในระบบอยากจะดาวน์โหลดเองก็ไม่ว่ากันเข้าไปที่เว็บไซต์ ข้างต้นได้เลย
ถ้าหากคุณเป็นคนที่มีระบบ Webmin เอาไว้ใช้ เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ต้องน้อยอกน้อยใจไป คุณก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดตัวใหม่มาติดตั้งทับลงไปได้เช่นกัน ของแบบนี้เท่าเอาไว้รองรับการอัพเดทอยู่แล้ว รับรองว่าคอนฟิกไฟล์ของ Squid และ Apache ที่สวยหรูของคุณจะไม่ถูกแตะต้องเลยแม้แต่น้อย (แต่ทางที่ดีก็ควรจะอ่านวิธีการอัพเดทอย่างละเอียดนะ แล้วก็ควรจะสำรองระบบเอาไว้ด้วย) มาดูกันดีกว่าว่า Webmin มีให้เราใช้งานในรูปแบบไหนบ้าง และระบบไหนที่เหมาะสำหรับการใช้งาน
Webmin ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้งานบน UNIX แทบ จะทุกตระกูล แน่นอนว่ามันย่อมจะทำงานได้ดีสำหรับลีนุกซ์ด้วย แต่ก็อย่างว่าแหละทุกวันนี้ระบบปฏิบัติการมีหลากหลายสายพันธุ์ ทางที่ดีไปเช็คความชัวร์กันเลยดีกว่าว่าใครบ้างมีคุณสมบัติพอที่จะใช้ Webmin ที่ www.webmin.com/support.html จะเห็นว่ามีรายชื่อมากเกือบจะ 50 ราย หากระบบที่คุณใช้ไม่มีในลิสต์ก็ขอแสดงความเสียใจด้วย ที่ระบบของคุณไม่ดังพอแล้วก็สำหรับคนใช้วินโดวส์ก็อย่ามองหาเลยไม่มีให้คุณ ใช้หรอก ก่อนจะดาวน์โหลดก็ต้องเช็คกันก่อนว่าระบบของคุณนั้นควรจะดาวน์โหลดเอาแพคเกจ แบบไหนไปใช้งาน
RPM – ถ้าคุณใช้ RedHat, SuSE, Mandrake, Cadera, MSC และบรรดาลีนุกซ์ที่ใช้ตัวบริหารแพคเกจที่ชื่อว่า RPM
Tar.gz – สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ RPM หรืออีกนัยหนึ่งก็คือพวกที่จัดว่าเป็นมือโปร ไม่ต้องง้อเครื่องมือลงเองติดตั้งเอง แม้มันจะติดตั้งยากกว่าก็เถอะ
Solaris – แน่นอนชื่อบอกชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าคุณใช้ระบบที่ว่านี้ก็ต้องเอาตัวนี้ไปใช้งาน
ติดตั้งผ่าน RPM
มาถึงตอนนี้ก็เชื่อว่าคุณได้เลือกแล้วว่าจะใช้ RPM เป็น ตัวติดตั้ง ส่วนที่ดาวน์โหลดก็หาได้ไม่ยาก เพราะบนหน้าจอของเว็บไซต์ด้านมุมบนขวาจะมีให้เลือกอยู่แล้ว เอาเป็นว่าคุณดาวน์โหลดไฟล์ชื่อนี้มาเสร็จแล้ว webmin-1.220-1.noarch.rpm ก็มาทำการติดตั้งกันเลย ด้วยคำสั่งง่ายๆ ผ่านการทำงานของ “root”
การเรียกใช้ผ่านเครื่องไคลเอนต์ : http://your-system-host-name:10000/
หน้าจอแรกของการเข้าสู่ระบบ
ส่วนเรื่องความมั่นคงของระบบ ถ้าหากระบบของคุณทำการติดตั้งและมีการใช้งาน OpenSSL และNet::SSLeay แล้วละก็ Webmin จะทำการทำงานในโหมดที่ว่านี้ทันที นั่นทำให้เวลาที่คุณต้องการใช้งานต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อยนั้นคือการเรียกใช้ต้องเป็น https:// แทนที่จะใช้ http:// ธรรมดา ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับความมั่นคงของระบบ
ติดตั้งผ่าน tar.gz
แล้ว ก็มาถึงเวลาของบรรดามือโปรทั้งหลายอีกแล้ว อะไรที่ว่าง่ายๆ หรือเด็กๆ นั้นเราไม่ทำเราต้องการอะไรที่มันยากกว่าชีวิตถึงจะมีรสชาด ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดาวน์โหลดไฟล์ที่ชื่อว่า webmin-1.220.tar.gz มากันเลยแล้วก็เข้าสู่วิถีทางแห่งการเป็นเซียนกันได้แล้ว
1.จัดการเข้าล็อกอิน root ให้เรียบร้อย
#gunzip webmin-1.1.100.tar.gz
#tar xf webmin-1.1.100.tar
#cd webmin-1.1.100
#./setup.sh
5.ให้ทำการตอบคำถามที่จะเกิดขึ้นหลังจากคำสั่งสุดท้าย (setup.sh)
Log file directory [/var/webmin]
Full path to perl (/usr/bin/perl or /usr/local/bin/perl)
Web server port (default 10000)
Login name (default admin)
Login password
Use SSL (y/n)
Start Webmin at boot time (y/n)
6.ตอบคำถามครบหมดแล้วระบบจะทำการติดตั้งให้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วระบบจะทำการบอก URL ที่จะเข้าใช้งาน Webmin ให้ได้เห็นและให้จำเพื่อเอาไปใช้ ก็จะเหมือนกับที่เราบอกคุณไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนไฟล์ webmin-1.220.tar.gz และไดเรคทอรี /usr/local/webmin ที่เกิดจากการแตกตัวของ tar.gz ก็สามารถทำการลบออกได้เลยนอกเสียจากว่าคุณต้องการปรับแต่งคำถามในขั้นที่ห้าใหม่ แล้วคราวนี้จะเรียกใช้แบบไหนมีหรือไม่มี SSL ก็อยู่ที่คุณกำหนดเองแล้ว
ติดตั้งสำหรับคนใช้ Solaris
เอาใจคนใช้ Solaris กันบ้าง เพราะน้อยครั้งที่จะเขียนถึง แต่คราวนี้เพื่อเป็นการโชว์ศักยภาพของ Webmin ว่าทำงานได้หลากหลายแพลตฟอร์มมากๆ ก็เลยเอามาฝากกัน เหมือนเคยไปทำการดาวน์โหลดไฟล์ที่น่าจะมีชื่อประมาณว่า webmin-1.220.pkz.gz มองชื่อไฟล์แล้วก็พอจะเดาได้ว่ามันผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง อย่ารอช้าเลยทำตามคำสั่งข้างล่างนี้ตามลำดับเลยดีกว่า
gunzip webmin-1.1.100.pkg.gz
pkgadd –d webmin-1.1.100.pkg.gz Wswebmin
ถ้าหากว่าการติดตั้งเกิดความผิดพลาดก็มีข้อควรระวังอยู่ก็คือมีการติดตั้ง Webmin มาก่อนหน้านี้แล้ว หรือไม่ก็หา Perl ไม่เจอ งานนี้มีการบังคับว่า Perl ต้องอยู่ภายใต้ /usr/local/bin/perl เท่านั้น หากระบบของคุณมีการติดตั้ง Perl อยู่ที่อื่นก็เพียงแต่ทำ Symbolic link มาที่ไดเรกทอรีข้างต้นก็เพียงพอแล้ว
หลัง จากติดตั้งเสร็จก็ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีกจัดการเปิดบราวเซอร์แล้วเข้าใช้ งานได้เลย ส่วนจะเรียกจากเครื่องแม่หรือเครื่องลูกความแตกต่างในการเรียกก็เหมือนกับ ที่เคยบอกไปแล้ว
การควบคุมเว็บมิน
มาถึงตรงนี้เราเชื่อว่าคุณสามารถทำการติดตั้งแล้วเข้าใช้งาน Webmin ได้ แล้ว หลังจากที่คุณล็อกอินเข้ามาได้แล้วคุณจะพบหน้าตาและการจัดหมวดหมู่ของ งานบริการต่างๆ ซึ่งจะมีมากน้อยก็แล้วแต่ว่าเซิร์ฟเวอร์ของคุณมีการติดตั้งและใช้งานบริการ อะไรมากน้อยขนาดไหน และถ้าหากคุณพบว่าหน้าตาของ Webmin ใน เครื่องต่างๆ จะมีสีสันหรือรูปไอคอนต่างๆ ไม่เหมือนกัน ก็ไม่ต้องตกใจเพราะหลายครั้งที่บรรดาดิสตริบิวชันต่างๆ เอาไปปรับแต่งเพื่อให้เข้ากับของตัวเอง หรือคุณจะปรับแต่งให้มันเป็นรูปแบบของคุณเองก็ได้ไม่ต้องตกใจ
การ ทำงานของเว็บเบสแบบนี้ คุณต้องระวังเรื่องของการคลิกให้ดี เพราะคุณสามารถเข้าไปได้ในทุกส่วนของระบบ ควรศึกษาก่อนว่าจะทำอะไรกับบริการส่วนไหนบ้าง จริงอยู่ที่มันทำให้เราทำสะดวกมากขึ้น แต่ก็ต้องมีความรู้กับเรื่องที่ทำอยู่ถึงจะเป็นการดี
แยกหมวดหมู่เอาไว้อย่างเหมาะสม
การจัดสรรเรื่องพื้นที่ใช้งาน
หน้าตามีให้เลือกหลายแบบ
ตัวอย่างของงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ไม่พอใจก็บอกเลิก
หากบริการของเราไม่เป็นที่ถูกใจเราก็ยกสิทธิให้กับผู้ใช้งานเป็นใหญ่ แน่นอนคุณสามารถถอดถอนเราได้ หากไม่อยากเก็บ Webmin เอาไว้ใช้งานก็จัดการตามนี้ได้เลย เข้าสู่สถานะของ root แล้วตามด้วยคำสั่งต่อไปนี้
เพียงเท่านี้ Webmin ก็ จะจากเราไปแล้ว แต่ก่อนจะจากจะมีการถามก่อนว่าจะทำการลบเฉพาะตัวโปรแกรมหรือจะทำการลบคอนฟิก ที่มันดูแลอยู่ด้วย อันนี้ก็ต้องระวังครับว่าคอนฟิกที่มันทำไว้ดีอยู่แล้วก็เก็บเอาไว้นอกเสีย จากไม่สนใจอะไรกับมันอีกแล้วก็ปล่อยมันไปเถอะ
Thanks : www.opensource.co.th
ตั้งค่าเว็บมินให้ปลอดภัย |
|
ปกป้องเว็บ(มิน)ของเรากันเถอะ
แล้วก็มาถึงตอนสำคัญสำหรับบรรดาคนใช้เว็บมินกันเสียทีหลังจากที่ได้เรียนรู้ ถึงพลังในการทำงานของมันมาแล้ว อย่างที่หลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้เป็นกัน ซึ่งก็คือบางครั้งสิ่งที่ทรงพลังที่สุดกลับกลายเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดได้ เช่นกัน รู้แบบนี้แล้วเราจะไม่คิดปกป้องระบบของเราให้รอดพ้นอันตรายที่ว่ากันเลยหรือ
Network Security
อย่าง ที่กล่าวไปแล้วว่าถ้าระบบที่ควบคุมด้วยเว็บมินของคุณ ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากๆ ก็ไม่น่าจะต้องไปวิตกกังวลว่าใครจะเข้ามายุ่งกับระบบของเราผ่านทางเว็บมิ นหรือเปล่า เพราะถ้าหากมีใครสักคนเข้าระบบของเราผ่านทางเว็บมินได้แล้วละก็ อย่างอื่นก็ไม่ต้องพูดถึงเรียกได้ว่าเขาได้เข้ามาอยู่ในบ้านของเราเรียบร้อย แล้ว และกำลังจะกลายร่างเป็นเจ้าของบ้านคนใหม่ได้ในทันที เพราะการทำงานของเว็บมินเป็นการทำงานในสถานะของการเป็น root อย่าง ที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว หายนะจะต้องมาเยือนแน่ๆ ถ้าหากล็อกอินและพลาสเวิร์ดของเราจะถูใครบางคนดักจับและคว้าเอาไปใช้งานหน้า ตาเฉย และเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นนักต่อนักแล้วในอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะจัดการตั้งแต่ระดับเน็ตเวิร์กจึงเป็นเรื่องที่พึง กระทำเป็นอย่างยิ่ง
แล้วด้วยวิธีแบบที่เรากำลังจะเรียนรู้กันอยู่นี้เองเขาเรียกเป็นภาษาฝรั่งว่า IP address restrictions หรือจะให้เรียกภาษาไทยง่ายๆ ว่าการกำหนดไอพีแอดเดรสนั่นเอง ซึ่งชื่อก็บอกอยู่ชัดเจนแล้วว่าเป็นการทำงานแบบไหน นั่นก็คือเครื่องไหนที่ต้องการติดต่อผ่านเว็บมินจะต้องมีการกำหนดค่าไอพีเอา ไว้แล้วที่ตัวเว็บมินเท่านั้น เครื่องไหนหมายเลขไหนไม่ได้กำหนดเอาไว้ก็หมายความว่าหมดสิทธิในการใช้งาน ทันทีไม่ว่าจะพยายามติดต่อเข้ามาอย่างไรก็เข้าไม่ได้อยู่ดี แบบนี้ดูจะโหดไปหน่อยแต่ก็ได้ผลดีทีเดียว งานนี้หักดิบหมายเลขไหนไม่เคยเข้าได้ก็จะไม่ได้จนกว่าจะมีการเพิ่มเติม
1.ในหมวดหมู่ของการใช้งานเว็บมินให้มองหาส่วนที่ชื่อว่า Webmin Configuration Module เมื่อเจอแล้วก็จัดการคลิกเข้าไป
จุดเริ่มต้นของหลายสิ่งหลายอย่างสำหรับเว็บมิน
2.จากนั้นให้มองหาและทำการคลิกที่ไอคอนที่มีชื่อว่า IP Access Control ซึ่งมันจะแสดงให้เห็นว่าการกำหนดหมายเลขไอพีที่เข้าถึงได้นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร
ตัดศัพท์เทคนิคออกให้หมดแล้วได้ใจความว่าถ้าหากต้องการกำหนดให้ค่าไอพีตั้งแต่ 192.168.1.0 ถึง 192.168.1.255 สามารถเข้าถึงได้ก็ให้ใส่ค่าลงไปเป็น 192.168.1.0 เท่า นี้เองค่าที่กำหนดไว้ก็จะถูกนำไปใช้นั่นหมายถึงเครื่องที่มีหมายเลขไอพีอยู่ ในช่วงที่กำหนดจะสามารถเข้ามาใช้งานเว็บมินได้ แต่การกำหนดแบบนี้อาจจะต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดการกับไอพี อยู่พอสมควรจึงจะจัดการได้อย่างดี แต่ก็มีทางออกที่ง่ายกว่ามาให้เสมอ
มา ลองแบบนี้กันบ้างถ้าหมายเลขไอพีทำให้คุณเกิดอาการปวดหัวเวียนหัว ก็ใช้โดเมนเนมกำหนดซะเลยให้รู้แล้วรู้รอดกันไปจะได้ไม่ต้องมานั่งจำ ค่าที่จะต้องใส่ก็ประมาณนี้ *.bigtux.com อันนี้เป็นการกำหนดว่าทุกโฮสท์ในโดเมนเนม bigtux.com จะสามารถเข้ามาจัดการระบบผ่านเว็บมินได้ แบบนี้ก็ง่ายไปอีกแบบ ความหมายก็คือไอพีที่อยู่ในโดเมนที่กำหนดเท่านั้นถึงจะเข้ามาใช้งานได้
4.แล้ว ก็ทำการเซฟเพื่อให้ระบบทำการรับเอาค่าต่างๆ ไปใช้ ถ้าจะให้ดีเพื่อป้องกันการผิดพลาดก็ให้ทำการล็อกเอาท์ก่อนแล้วค่อยเริ่มเข้า มาใช้งานใหม่ หรือไม่ก็ลองเข้าใช้งานจากเครื่องที่กำหนดให้ได้ก่อนแล้วค่อยออก เท่านี้ก็เรียบร้อยโรงเรียนเว็บมินแล้ว
เข้ารหัสลับกับ SSL
ดู เหมือนว่าการทำแบบแรกจะปลอดภัยแล้ว แต่ถ้าการใช้งานของคุณอยู่บนระบบที่ไว้วางใจไม่ได้อย่างอินเทอร์เน็ตแล้วละ ก็ ทุกครั้งที่คุณทำการล็อกอินมันก็เหมือนกับมีคนคอยที่จะดักจับเอาล็อกอินและ พลาสเวิร์ดของคุณอยู่ตลอดเวลา เรื่องแบบนี้กลายเป็นเรื่องปกติของวงการไปแล้ว หากใครเผลอเมื่อไรก็หมายถึงหายนะมาเยือนเมื่อนั้น จึงต้องมีการเสริมความแข็งแกร่งให้กับวงจรการเชื่อมต่อระหว่างบราวเซอร์และ เซิร์ฟเวอร์ของคุณ ทำไมต้องเป็นบราวเซอร์กับเซิร์ฟเวอร์นะหรือ ก็ต้องย้ำว่าเว็บมินเป็นบริการตัวหนึ่งที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ส่วนการ เข้าถึงนั้นเป็นการทำงานผ่านบราวเซอร์บนเครื่องไคลเอนท์ใดๆ ที่อนุญาตให้เข้าใช้งานได้
สิ่ง ที่เรากำลังจะเรียนรู้ต่อจากนี้ไปก็คือการทำให้ขณะที่ทำการเชื่อมต่อกับระบบ อยู่นั้นมีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็ต้องเป็นบทบาทของ SSL อย่างที่เราทราบกันไปแล้วว่าโดยส่วนใหญ่แล้วบรรดาดิสตริบิวเตอร์ยอดนิยมทั้งหลายอย่าง RedHat, SuSE หรือ Novell จะทำการรวมเอาส่วนประกอบต่างๆ ที่จะทำให้สามารถใช้งาน Webmin เข้าไปให้ด้วยอยู่แล้ว ส่วนประกอบที่ว่านี้ก็คือ OpenSSL library และ Net::SSLeay Perl module แต่ ถ้าคุณคิดว่ามันไม่ดีพอก็ต้องออกแรงไปหาเอาสิ่งที่คิดว่าดีกว่าและใหม่กว่า กันเอาเอง ซึ่งมันก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำมัน ว่าแล้วก็เริ่มกันเลย
1.ติดตั้ง OpenSSL Library ก่อน ถ้าคุณยังไม่ได้ติดตั้งลงไป ถ้าไม่อยากดาวน์โหลดก็ให้หาเอาจากในแผ่นซีดีติดตั้งลีนุกซ์ที่คุณใช้อยู่ นั่นแหละ เชื่อว่าน่าจะมีอยู่ในลีนุกซ์ทุกตัว ถ้าต้องลงเพิ่มเองให้แน่ใจว่า openssl และ openssl-devel ได้ทำการติดตั้งลงไปแล้วทั้งคู่ แต่ถ้าคุณโชคร้ายไม่เจอสิ่งที่ต้องการในแผ่นก็ต้องนี่เลย www.openssl.org
2.แล้วก็ตามด้วยส่วนสำคัญที่จะทำให้ SSL สามารถทำงานได้ก็คือส่วนของ Perl ที่ชื่อว่า Net::SSLeay ถ้า คุณยังไม่ได้ติดตั้งมันจะเป็นการดีกว่าถ้าจะจัดการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมืออย่างเว็บมินนี่แหละจัดการให้เรา ก็ไปเปิดในส่วนของการจัดการ Perl Module แล้วเข้าไปเลือกให้ทำการดาวน์โหลด Net::SSLeay ในส่วนของ CPAN แล้วคลิกที่คำสั่ง Install เท่านี้เองก็จะเป็นการดาวน์โหลดและติดตั้ง Net::SSLeay โดยที่คุณไม่ต้องไปสั่งให้ทำการคอมไพล์และติดตั้งเอง เพราะเว็บมินจะจัดการให้เราทั้งหมด (แบบนี้ค่อยน่าใช้หน่อย อย่างที่บอกแล้วว่าเว็บมินจัดการได้ทุกเรื่องในระบบ)
3.ถ้าติดตั้งทั้งสองอย่างเรียบร้อยแล้วก็ไม่ต้องรออะไรอีกแล้ว เข้าไปที่ส่วนของ Webmin Configuration Module กันเลยแล้วทำการเลือกที่ SSL Encryption เพื่อเข้าไปทำการตั้งค่าการใช้งาน SSL
เห็นที่หมายแล้วหรือยังถ้าเห็นแล้วก็จัดการเลย
4.ส่วนแรกเลยที่จะต้องทำก็คือส่วนของการสั่งให้ใช้งาน SSL ให้ทำการเลือกว่า yes แล้วก็ทำการบันทึกค่า หลังจากนั้น SSL ก็จะทำงานโดยที่เว็บมินจะเปลี่ยนวิธีการเชื่อมต่อที่บราวเซอร์ให้เป็นรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยกว่าทันที
เลือกเอาหน้าเจอเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นมาให้ดูกันเล่นๆ ว่าเขานะชาตินิยมขนาดไหน
5.ครั้งแรกที่เข้าใช้งานผ่าน SSL จะมีการยืนยันให้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง หรือตัวตนของการใช้งาน SSL คุณจะทำการผ่านไปก่อนโดยไม่สนใจก็ได้ (เรื่องแบบนี้สามารถมาจัดการกันต่อได้ภายหลัง)
6.คราวนี้ก็ถึงเวลาเรียกใช้งานแล้วโดยการเรียกผ่าน https:// ก็คือเป็นการเข้าใช้อย่างปลอดภัย หรือคุณอยากจะเรียกใช้ผ่าน http:// ก็ได้ไม่มีปัญหาอะไร
แล้วอย่านอกใจไม่อย่างนั้นโดนเตือนแน่ๆ
7.เอาละได้เวลาของรายละเอียดกันอีกแล้ว ให้ย้อนกลับไปที่ SSL Encryption เพื่อที่จะไปดูกันในส่วนของ Key เพราะคุณจะเห็นว่ามีข้อความเตือนไว้ว่า you are currently using the default Webmin SSL key นั่นก็คือตอนนี้คุณกำลังใช้ค่าของ Key ที่ระบบตั้งไว้ให้ (ซึ่งมันก็จะเหมือนๆ กันถ้าคุณไม่คิดจะเปลี่ยน) คุณ เองสามารถที่จะตั้งค่าใหม่ได้ถ้าต้องการ หรือจะใช้ค่าที่ระบบทำให้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้างานคุณซีเรียสสุดๆ ก็ควรจะทำการตั้งค่าต่างๆ อย่างรอบคอบ
8.ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ลงสิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรจะเติมเต็มเข้าไป ให้ดูที่ Server name in URL แล้ว จัดการเติมค่าลงไป ถ้าคุณทำการเชื่อมต่อผ่านทางโฮสท์เดิมๆ อยู่ตลอดเวลาก็ให้ทำการระบุชื่อของโฮสท์ลงไปเลย แน่นอนว่าคุณใส่เข้าไปได้มากกว่าหนึ่งชื่อ ซึ่งจะสะดวกกว่ามากถ้าจะเลือก Any Hostname ไว้ใช้งาน
9.ส่วนของอีเมล์ก็ให้ใส่ของคุณซึ่งต้องทำหน้าที่ดูแลระบบลงไป
10.บอกแผนกบอกฝ่ายไว้ให้เรียบร้อยถ้าเป็นการใช้งานในองค์กร หรือจะไม่ใส่อะไรเข้าไปก็ได้ถ้าคุณใช้งานเองที่บ้าน
11.ใส่ชื่อบริษัทให้คนได้รับรู้จะไม่ใส่ก็ได้เป็นสิทธิของคุณ แต่ทางที่ดีใส่ไว้ก็ไม่เสียหลายนะ
12.ชื่อของเมือง สามสี่ข้อหลังนี้เป็นการเติมเต็มรายละเอียดของคุณเอง
13.ประกาศความเป็นไทยให้คนทั้งโลกรู้กันเถอะ
14.ได้เวลาทำการบันทึก key ของเราเอาไว้ในไฟล์แล้ว ทำเถอะเพื่อตัวของคุณเอง
15.สั่งให้เริ่มทำงานซะตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เป็นการใช้ key ใหม่ทันที
หน้าจอของการกำหนดค่าต่างของ Key
เท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นใช้งาน SSL ได้ แล้ว ซึ่งถ้าสังเกตจะพบว่าแถบจะไม่ต้องปรับแต่งอะไรเลย เพียงแค่ติดตั้งก็จะสามารถใช้งานเบื้องต้นได้แล้ว ถ้าอยากรู้มากกว่านี้ก็ต้องไปลงลึกกันเอาเองนะครับ เรื่องแบบนี้ต้องยอมรับครับว่าไม่ถนัดจริงๆ ก็ใครมันจะไปรู้เรื่องหมดทุกเรื่องละใช่ไหม
Thanks : www.opensource.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น