หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ว่าด้วย SEO

Search Engine คือ เครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ด้วยคำค้นต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ สื่อมัลติมีเดีย

ไฟล์บีบอัด และรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มีดังนี้


กระบวนการทำงานของ Search Engine

โดยปกติแล้ว Search Engine จะมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Robot (หุ่นยนต์) ในการสืบค้นเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลด้วยการทำ Index โดย Robot จะเดินทางจากเว็บหนึ่ง ไปอีกเว็บหนึ่งผ่าน Hyperlink ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้นๆ


การเรียงลำดับผลลัพธ์จากการค้นหา

Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำค้นที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น


ก่อนจะลงมือทำ SEO ด้วยเทคนิควิธีอื่น ๆ สิ่งแรกที่ไม่ควรมองข้าม คือ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ภายในเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นก่อน เราจะเรียนรู้บางสิ่งที่เคยมองข้าม แต่สำคัญกับการทำ SEO

การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี (Design and Content Guidelines) ควรมีลักษณะดังนี้

  1. ควรออกแบบเว็บไซต์ให้มี Navigation สำหรับเชื่อมโยงทั่วถึงกันแต่ละหน้า เพื่อให้ Robot ของ Search Engine สามารถ Crawl ได้อย่างทั่วถึง
  2. ควรจัดทำ Sitemap ของเว็บไซต์
  3. ควรใช้ Header Tags สำหรับหัวข้อที่สำคัญ
  4. ควรจัดทำเนื้อหาที่ชัดเจน มีการเน้นจุดต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ด้วยการใช้ตัวอักษรตัวหนา (Bold) ตัวเอียง (Italic) หรือขีดเส้นใต้ (Underline) ตามความเหมาะสม
  5. ควรใช้ Title Tags สำหรับ Hyperlinks และ Alt Tags สำหรับรูปภาพ
  6. ควรควบคุมปริมาณการเชื่อมโยง (Hyperlinks) ไม่ควรเกิน 100 Links ต่อหนึ่งหน้า
  7. ควรควบคุมขนาดการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ (ทั้ง Text และ Images และ Multimedia ทั้งหมด) ให้มีขนาดที่เหมาะสม

ศัพท์น่ารู้

  • Navigation คือ หัวข้อ หรือ เมนู หรือ รายการต่าง ๆ ที่เป็นหน้าหลัก ๆ ของเว็บไซต์
  • Crawl คือ การเดินทางของ Robot ซึ่งจะเดินทางไปตามการเชื่อมโยงต่าง ๆ
  • Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ (คล้าย ๆ กับการทำ สารบัญ)
  • Header Tags คือ Tags ที่ใช้กำหนดหัวเรื่อง หรือหัวข้อ เช่น
  • Alt Tags หรือ Alternative Tags คือ Tags ที่ใช้แสดงข้อความเมื่อไม่สามารถแสดงรูปภาพได้ เป็น Attribute ภายใต้ Tags ”…”

หลังจากได้รู้จักคำนิยามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ SEO กันไปพอสมควรแล้ว บทความนี้เราจะจำแนกประเภทการทำ SEO กันครับ การทำ SEO ถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

White Hat SEO (SEO หมวกสีขาว)

การทำ SEO ประเภท White Hat คือ การทำเว็บคุณภาพ และทำ SEO โดยยึดแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ Search Engine หลาย ๆ ค่ายแนะนำไว้ ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทำ Hidden text หรือ Hidden Links
- หลีกเลี่ยงการทำ Doorway
- ไม่ทำ Spam Keyword
- ไม่ทำ Duplicate Content
- ไม่ทำ Cloaking หรือ Sneaky Redirects

Black Hat SEO (SEO หมวกสีดำ)

การทำ SEO ประเภท Black Hat คือ การทำ SEO โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์ทาง SEO โดยไม่สนใจถึงความเหมาะสม ตามลักษณะที่ตรงข้ามกับการทำ White Hat SEO ทุกประการ (ไม่แนะนำให้ทำอย่างยิ่ง)

นอกจากหมวกขาวและหมวกดำแล้ว ในปัจจุบันยังมีการแบ่งประเภทแบบไม่เป็นทางการอีก 1 ประเภท คือ Gray Hat SEO (SEO หมวกสีเทา) ที่ทำ SEO แบบกึ่งหมวกขาวและหมวกดำ
ตัวอย่างเช่น การทำ Spam Keyword โดยการแต่งประโยคที่มี Keyword อยู่ในประโยคมาก ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำ Black Hat SEO จะได้ผลเร็ว แต่ก็มักจะได้ผลแค่ระยะสั้น ๆ จึงขอสนับสนุนให้นัก SEO ทุกท่านทำเว็บด้วย White Hat SEO เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาวครับ

ศัพท์น่ารู้

  • Hidden Text คือ การซ่อนข้อความ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของSearch Engine เช่น การทำสีตัวอักษรกับสีพื้นหลังเป็นสีเดียวกัน
  • Hidden Links คือ การซ่อนลิงค์ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การใช้ style=”display:none” ครอบแท็กของ Hyperlinks
  • Spam Keyword คือ การทำหน้าเว็บที่มีแต่ Keyword มากมาย
  • Duplicate Content คือ การคัดลอกหน้าเว็บให้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มจำนวนหน้าของเว็บแบบไม่มีคุณภาพ
  • Doorway คือ การส่ง Robot ของ Search Engine ไปในหน้าที่มีแต่ Keyword ก่อนแสดงผลหน้าเว็บที่มีเนื้อหา
  • Cloaking คือ การทำหน้าเว็บที่แสดงผลแตกต่างกัน เมื่อถูกเรียกโดย Robot ของ Search Engine และผู้เข้าชมเว็บทั่ว ๆ ไป (แสดงผลให้คนอย่างหนึ่ง ให้บอทอย่างหนึ่ง)
  • Sneaky Redirects คือ การเปลี่ยนการแสดงผลจากหน้าหนึ่ง ไปอีกหน้าหนึ่งอย่างรวดเร็ว
การเขียน Meta Element ให้เหมาะกับการทำ SEOMetadata Elements หรือ Meta Tag คือ ส่วนของซอร์สโค๊ดที่อยู่ใน Head (ส่วนหัว) ของเอกสาร HTML โดยปกติเมื่อเราเปิดหน้าเว็บไซต์หนึ่ง ๆ ขึ้นมา ส่วนของ Head จะถูกประมวลผลก่อน ดังนั้น Meta Tag จึงเป็นส่วนที่บอกคุณลักษณะของเว็บนั้น ๆ ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร แสดงผลด้วยภาษาอะไร ใครเป็นผู้เขียน มีคำค้นที่ใช้ว่าอะไร เป็นต้น



ซึ่ง Robot ของ Search Engine จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการประมวลผลจัดเก็บเว็บไซต์ เรามาทำความรู้จักกับ Meta Element แต่ละ Tags กันดีกว่าครับ ผมจะใช้ความรู้สึกของผมในการวัดว่า Tags ใด มีผลกับการทำ SEO มากหรือน้อยในวงเล็บหลังหัวข้อนะครับ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเชื่อผมก็ได้)


Title Element - Page Titles (มีผลกับการทำ SEO มาก)

ใช้สำหรับบอกว่า หน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่มีหัวข้อว่าอะไร เช่น

title SEO - Meta Tags /title;


Meta Description Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)

ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดสั้น ๆ ของหน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่ ไม่ควรเขียนให้สั้น หรือ ยาวจนเกินไป ข้อความที่เขียนควรสัมพันธ์กับเนื้อหาของหน้านั้น ๆ ด้วยนะครับ เช่น

meta name=”description” content=”Thailand Search Engine Optimization Blog” ;



Meta Keywords Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)

ใช้สำหรับระบุคำค้น ที่สามารถเข้ากันได้กับเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น ๆ สามารถใส่ได้หลายคำ และแบ่งคำโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) เช่น

meta name=”keywords” content=”seo,seo thai,seo blog,seo tools” ;


Meta Language Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)


ใช้สำหรับระบุว่า หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ มีเนื้อหาเป็นภาษาอะไร เช่น

meta http-equiv=”content-language” content=”th” ;


Meta Content Type Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)

ใช้สำหรับระบุว่า หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ สามารถแสดงผลได้ถูกต้องด้วยชุดตัวอักษรแบบใด และเป็นเอกสารประเภทอะไร เช่น

meta http-equiv=”content-type” content=”text/html; charset=UTF-8″ ;



Meta Revisit-After Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)

ใช้สำหรับบอกกับ Robot ของ Search Engine ว่า ให้มาเก็บข้อมูลอีกครั้งในอีกกี่วันข้างหน้า เช่น

meta name=”revisit-after” content=”7 days”



Meta Robots Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)

ใช้สำหรับบอก Robot ของ Search Engine ว่าให้ Robot เก็บข้อมูลในหน้านั้นไป Indexs หรือไม่ หรือ ให้ Robot เดินทางไปตาม Links ที่ปรากฎในหน้านั้น ๆ หรือไม่ เช่น

meta name=”robots” content=”index, follow” ;

นอกจากข้างต้นแล้ว ยังมี Meta Element อีกหลาย Tags ซึ่งไม่ขอกล่าวถึงครับ เพราะไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่อง SEO ขอให้ทุกท่านสนุกกับการปรับแต่ง Header ของเอกสาร HTML เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ SEO นะครับ



ที่มา seo.siamsupport.com


ไม่มีความคิดเห็น: