หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

Outlook Express Error Code : 0x800C0133

ข้อผิดพลาดหมายเลข 0x800C0133 เกิดขึ้นจากการที่ Outlook Express
ไม่สามารถจัดการกับ Inbox ที่มีขนาดเกิน 2 กิกะไบต์ได้
โดยทั้งนี้ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนอีเมลล์ที่รับได้

ให้ทำการสร้าง Folder ใหม่ แล้ว ทำการ move E-mail ไปเก็บไว้
แต่หาก Deleted box เต็มให้ทำการ backup เก็บไว้ หรือ ลบ ทิ้ง

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

Introduction to IPSec

Introduction to IPSec

Internet Protocol security (IPSec) คือ ชุดโปรโตคอลเพิ่มเติมของโปรโตคอล IP เพื่อให้การติดต่อสื่อสารมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยสิ่งที่เพิ่มเติมที่ทำให้มีความปลอดภัยนั่นคือ มีการทำ authentication และการ encryption ในข้อมูล IP packet ที่รับส่งกัน

ชุดโปรโตคอล IPSec นี้รวมถึงโปรโตคอลที่ใช้ในการทำ authentication ระหว่างกันเพื่อสร้าง session ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและ โปรโตคอลที่ใช้เจรจา key ที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลระหว่างการติอต่อสื่อสารของ session เราสามารถใช้ IPSec ป้องกันข้อมูลในการติดต่อสื่อสารได้ทั้งระหว่าง host กับ host (computer user or server) ระหว่าง security gateway กับ security gateway (router or firewall) หรือระหว่าง security gateway และ host โดย IPSec สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมาก เนื่องจากมันทำงานใน layer ที่ต่ำ (internet layer ใน TCP/IP model) ทำให้ Application ต่างๆ ไม่ต้องทำสิ่งใดเพิ่มเติมเพื่อให้ทำงานร่วมกับ IPSec ได้ ไม่เหมือนกับโปรโตคอลด้านความปลอดภัยตัวอื่น เช่น TLS/SSL ที่จะต้องออกแบบ Application ให้ทำงานร่วมกันกับมันได้

IPSec ประกอบด้วยโปรโตคอล ที่ทำหน้าที่หลักต่างๆกันดังนี้

· Internet Key Exchange (IKE) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการจัดตั้ง Security Association (SA) ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างกัน และเป็นโปรโตคอลที่ใช้เจรจาว่าจะใช้โปรโตคอลใดและ algorithm ใด ทีจะใช้สร้าง key สำหรับ encrypt ข้อมูลและทำ authentication ระหว่างกัน

· Authentication Header (AH) เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่รักษาความถูกต้องสมบูรณ์ (integrity) ของข้อมูล เพื่อเป็นการยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นไม่ได้ถูกแก้ไขระหว่างทาง โดยการใช้ Hash Message Authentication Code (HMAC) ที่สร้างจาก algorithm เช่น MD5 หรือ SHA เป็นต้น

· Encapsulation Security Payload (ESP) เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ(Confidentiality) ข้อมูลโดยการเข้ารหัส โดยใช้ algorithm เช่น DES, 3DES หรือ AES เป็นต้น

IPSec ทำงานอยู่ใน 2 mode ดังนี้

1. Transport mode ใน mode นี้ IPSec จะทำการ encrypt หรือ authenticate เฉพาะในส่วนข้อมูล (payload) ของ IP packet ที่จะส่ง แต่ไม่ทำในส่วนของ Header(หรือ IP Header) ของ IP packet

2. Tunnel mode ใน mode นี้จะทำการ encrypt หรือ authenticate ทั้ง IP packet (payload และ header) และสร้าง IP Header ขึ้นมาใหม่

ตัวอย่าง การตั้งค่า Router Cisco เพื่อใช้งาน IPSec

การตั้งค่า Router เพื่อใช้งาน IPSec มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

· ตั้งค่า ISAKMP

· ตั้งค่า IPSec

ตั้งค่า ISAKMP

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า IKE (ISAKMP/Oakley) คือ โปรโตคอลลูกผสมที่นำบางส่วนของโปรโตคอล Oakley และ ISAKMP แต่ใน Cisco IOS software โปรโตคอล IKE และ ISAKMP จะใช้สื่อความหมายถึงสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการตั้งค่า ISAKMP ก็คือการตั้งค่า IKE โดยโปรโตคอล IKE นี้จะทำงานในช่วงการจัดตั้ง SA สำหรับ IPSec และมันต้องมี policy ที่ใช้ในการเจรจาเพื่อสร้าง SA ระหว่าง router กันด้วย

การตั้งค่า ISAKMP มีด้วยกันอยู 2 วิธีดังนี้

1. ใช้วิธี pre-shared keys ซึ่งตั้งค่าได้ง่ายและสะดวก (ตัวอย่างจะใช้วิธีนี้)

2. ใช้วิธี CA เหมาะกับรองรับการขยายตัวในการใช้งาน

หมายเหตุ โปรโตคอล IKE ทำงานบน UDP 500, IPSec ทำงานบน IP protocol 50 และ 51 โดย port เหล่านี้จะต้องไม่ถูกปิดกั้นระหว่าง router ด้วยกัน

วิธี Pre-Shared Keys

การใช้วิธีนี้จะต้องตั้งค่าตามขั้นตอนดังนี้

· ตั้งค่า ISAKMP Protection Suite(s)

· ตั้งค่า ISAKMP key

ตั้งค่า ISAKMP Protection Suite(s)

คำสั่งนี้เป็นการสร้าง object ของ ISAKMP policy

RouterName(config)#crypto isakmp policy 1

RouterName(config-isakmp)#

คำสั่ง group ใช้เพื่อบอกขนาดจำนวน bit ของ modulus ที่ใช้ในวิธีการคำนวณใน Diffie-Hellman(เป็นวิธีการการจัดตั้ง(establishment )การ shared key ผ่านบนช่องทางที่ไม่ปลอดภัย) โดย group 1 หมายถึงมีขนาด 768 บิต group 2 หมายถึง มีขนาด 1024 บิต โดย default Cisco IOS จะเป็น group 1

RouterName(config-isakmp)#group 2

คำสั่ง hash ใช้เพื่อบอกว่าจะใช้ hash algorithm แบบใด โดย default ของ Cisco IOS จะเป็นแบบ SHA ที่มีความปลอดภัยมากกว่า MD5

RouterName(config-isakmp)#hash md5

คำสั่ง lifetime ใช้เพื่อบอกว่า SA จะมีเวลาอยู่เท่าใด ก่อนที่จะมีการเจรจาสร้าง SA ใหม่ โดย default จะมีค่าอยู่ที่ 86400 วินาทีหรือ 1 วัน

RouterName(config-isakmp)#lifetime 500

คำสั่ง authentication ใช้เพื่อบอกว่าจะใช้ key อะไรในการยืนยันตัวตนของ router ทั้งฝั่ง

RouterName(config-isakmp)#authentication pre-share

ตั้งค่า ISAKMP key

คำสั่งที่จะแสดงต่อไปนี้ จะเป็นการบอกว่าค่า key เป็นอะไร และ ip ของ router ฝั่งตรงข้ามเป็นอะไร โดย key ที่ตั้งนี้จะต้องเหมือนกัน

RouterName(config-isakmp)#exit

RouterName(config-isakmp)#crypto isakmp key Slurpee address 192.168.10.38

ตั้งค่า IPSec

มีขั้นตอนย่อยๆดังนี้

· สร้าง extended access list

· สร้าง IPSec transform(s)

· สร้าง crypto map

· นำ crypto map ไปใส่ใน interface เพื่อใช้งาน

สร้าง extended access list

คำสั่งที่ใช้นี้เป็นการสร้าง access list สำหรับบอกว่า traffic ใดบ้างที่จะถูก encryption หรือไม่ถูก encryption โดยคำสั่ง permit เป็นเหมือนการบอกว่า traffic นั้นจะถูก encryption และคำสั่ง deny เป็นเหมือนการบอกว่า traffic นั้นไม่ถูก encryption โดยมีการนำไปใช้อ้างอิงใน crypto map

RouterName(config)#access-list 101 permit ip host 192.168.10.38 host 192.168.10.66

หรือ RouterName(config)#access-list 101 permit ip host 192.168.10.38 0.0.0.255 192.168.10.66 0.0.0.255

สร้าง IPSec transform(s)

คำสั่งนี้เป็นการสร้าง IPSec transform set เพื่อบอกว่าจะใช้วิธีการใดในการ encrypt ข้อมูล โดยมีการนำไปใช้อ้างอิงใน crypto map

RouterName(config)crypto ipsec transform-set MamaBear ah-md5-hmac esp-des

RouterName(cfg-crypto-trans)exit

สร้าง Crypto Map

ใน Crypto map จะมีการตั้งค่าต่างๆ ประกอบด้วย การตั้งค่าเพื่อบอกว่า peer ที่จะคุยด้วยเป็น IP อะไรโดยใช้คำสั่ง set peer การตั้งค่า session key ว่าจะมีอายุใช้งานเท่าใดก่อนมีการสร้างขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดได้สองแบบคือกำหนดด้วยเวลาและกำหนดด้วยขนาดข้อมูล traffic ที่รับส่งกัน การตั้งค่าผูกโยงกับ IPSec transform set ที่ได้มีการสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ด้วยคำสั่ง set transform และการตั้งค่าอ้างอิงกับ access list ที่ได้สร้างขึ้นมาไว้ ด้วยคำสั่ง match address

RouterName(config)crypto map armadillo 10 ipsec-isakmp

RouterName(config-crypto-map)#set peer 192.168.10.38

RouterName(config-crypto-map)#set session-key lifetime seconds 4000

RouterName(config-crypto-map)#set transform-set MamaBear

RouterName(config-crypto-map)#match address 101

นำ crypto map ไปใส่ใน interface เพื่อใช้งาน

โดยใช้คำสั่งนี้

RouterName(config)#interface serial 0/0

RouterName(config-if)crypto map armadillo

ตัวอย่างคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบ IPsec เช่น

Show crypto isakmp sa ใช้ดูตาราง ISAKMP(IKE) SA ถึงการมีอยู่ระหว่าง SA ของ router ทั้งสอง

Show crypto isakmp policy ใช้ดู policy ของ ISAKMP ที่ได้ตั้งค่าต่างไว้

Show crypto ipsec sa ใช้ดูค่าของ traffic ที่ถูก encrypt ฯลฯ


Thanks : kunggiggs

Howto Reset Password cisco switch 2960 when forgot password

ในกรณีที่ลืม password ในการเข้า switch 2960 ของ cisco เราจะมีขั้นตอนในการแก้ปัญหา(เป็นการทำ password recovery)ดังนี้

1. เชื่อมต่อ switch ที่ console port
2. เปิดโปรแกรมที่ใช้ config switch ขึ้นมา (เช่น Hyper terminal)
3. ทำการรีบูต switch โดยการถอดสาย power แล้วเสียบเข้าไปใหม่
4. เมื่อ switch เปิดขึ้นมา ภายในเวลาไม่เกิน 15 วินาที่ ให้กดปุ่ม mode (บน switch )ค้างเอาไว้ จนกระทั่งสีของหลอดไฟ system เปลี่ยนจากสีเขียวที่กระพริบ ไปเป็นสีเหลืองอำพัน และจนเป็นสีเขียวที่ไม่กระพริบแล้วจึงค่อยปล่อยปุ่ม mode ที่กดไว้

จากนั้นจะมีข้อความจาก switch ขึ้นมาเพื่อบอกว่า password recovery ถูก enable หรือไม่

ถ้า password recovery enable จะมีข้อความนี้ปรากฏขึ้น
The system has been interrupted prior to initializing the flash file system. The following commands will initialize the flash file system, and finish loading the operating system software:

จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- Initialize the flash file system โดยการพิมพ์(ตัวหนา)
switch: flash_init
- Load any helper files โดยพิมพ์
switch: load_helper
- แสดงไฟล์ที่อยูใน flash memory โดยพิมพ์
switch: dir flash: ผลที่ได้ประมาณนี้

Directory of flash:
13 drwx 192 Mar 01 1993 22:30:48 c2960-lanbase-mz.122-25.FX
11 -rwx 5825 Mar 01 1993 22:31:59 config.text
18 -rwx 720 Mar 01 1993 02:21:30 vlan.dat

- ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ configure ไปเป็น config.text.old โดยพิมพ์
switch: rename flash:config.text flash:config.text.old
- ทำการ reboot system โดยพิมพ์
switch: boot

เมื่อ switch boot ขึ้นมาแล้วจะมีข้อความนี้ปรากฏขึ้นให้ตอบ no
Continue with the configuration dialog? [yes/no]: N

จากนั้นให้ทำตามนี้
- เข้าสูโหมด privileged exec
Switch> enable
- ทำการเปลี่ยนชื่อ config กลับไปเป็นของเดิม
Switch# rename flash:config.text.old flash:config.text
- ทำการคัดลอกไฟล์ config ลง memory
Switch# copy flash:config.text system:running-config
Source filename [config.text]?
Destination filename [running-config]?

configure file จะถูก reload ใหม่ จากนี้ก็จะทำการแก้ไข password ได้แล้ว โดยเข้าไปที่ global configuration เพื่อเปลี่ยน password
Switch# configure terminal
Switch (config)# enable secret password

เมื่อ ตั้ง password เสร็จแล้วให้ออกมาที่โหมด privileged exec เพื่อทำการคัดลอก config จาก running config ลงสู่ startup config ก็เป็นการเสร็จขั้นตอนการทำ password recovery
Switch# copy running-config startup-config

Thanks : kunggiggs

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

Isaac Newton

เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) (4 มกราคม พ.ศ. 2186-31 มีนาคม พ.ศ. 2270 (ตามปฏิทินเกรกอเรียน) หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185- 20 มีนาคม พ.ศ. 2270 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ

นิวตันเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ บิดา(ชื่อเดียวกัน)ได้เสียชีวิตตั้งแต่ก่อนนิวตันถือกำเนิด 3 เดือน มารดาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ มารดาของนิวตันได้แต่งงานใหม่เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบและได้ทิ้งนิวตันไว้ให้ยายของนิวตันเลี้ยงจนสามีคนที่สองตายเมื่อนิวตันอายุ 11ขวบ นิวตันจึงได้อยู่กับมารดาอีกครั้ง

นิวตันได้รับการศึกษาที่โรงเรียนหลวงแกรนแธมและคาดหวังว่าจะดำเนินชีวิตเป็นเกษตรกรตามประเพณีของครอบครัว แต่มารดาได้รับการชักจูงให้ส่งนิวตันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2204 นิวตันก็ได้เข้าศึกษาในทรินิตีคอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในฐานะนิสิตยากจนที่ต้องทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิชาการเพื่อหาเงินจุนเจือค่าเล่าเรียน

ในระหว่างเรียนปีแรกๆ นิวตันไม่ได้แสดงให้เห็นแววความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ แต่ “ไอแซก บาร์โรว์” ผู้ดำรงตำแหน่ง “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics) ได้ส่งเสริมและให้กำลังใจแก่นิวตันเป็นอย่างมาก นิวตันจบการศึกษาได้รับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2208 โดยไม่ได้เกียรตินิยม ในขณะที่เตรียมการเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทเมื่อปี พ.ศ. 2207 ก่อนรับปริญญาก็ได้เกิดโรคกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอนเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยปิดไม่มีการเรียนการสอนในปีต่อมา

ในระหว่างช่วงพักการระบาดของกาฬโรค นิวตันต้องอยู่บ้านแต่ก็ได้ศึกษาธรรมชาติของแสงสว่างและได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้น นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้วปริซึมและสรุปว่ารังสีต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์แก้วไม่ชัดเจนก็เนื่องมาจากการหักเหของพู่กันรังสีของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์ทำให้มุมหักเหต่างกันมีผลให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานให้มีการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสงที่สมบูรณ์โดยวิลเลียม เฮอร์เชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการโคจรของดาวเคราะห์

ในการกลับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2210 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ในทรินิตีคอลลเลจและได้รับปริญญาโทในปี พ.ศ. 2211 ปีต่อ ไอแซก บาร์โรว์ได้ลาออกจากตำแหน่ง “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” เพื่อเปิดโอกาสให้นิวตันผู้เป็นศิษย์รับตำแหน่ง ชุดปาฐกถาของนิวตันในตำแหน่งนี้มีผลให้เกิดตำรา “ทัศนศาสตร์” เล่ม 1 (Optics Book 1)

การหล่นของผลแอปเปิลทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (Philosophiae naturalist principia mathematica หรือ The Mathematical Principles of Natural Philosophy) ก็ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งเนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากล และเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น. นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย


งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของนิวตันงานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา

ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ Optics ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว

ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันได้แก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาราชบัณฑิตของอังกฤษที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”

เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา

Thanks : th.wikipedia.org