หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

How to buy Wireless device

การเลือกซื้อ อุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย(Wireless LAN)

การใช้งานเครือข่ายไร้สายมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนับ ตั้งแต่ มาตรฐาน IEEE 802.11 เกิดขึ้น เครือข่ายไร้สายก็ได้รับการปรับปรุงและ พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันเครือข่ายไร้สายสามารถใช้งาน ได้ด้วยความสะดวก และมีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก

นอกจากนั้นก็ยังให้อัตราความเร็วของการสื่อสารที่เพิ่มสูงขึ้นจน สามารถตอบรับกับการใช้งาน ในด้านต่างๆ ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้งาน วิดีโอสตรีมมิง มัลติมีเดียและการใช้งาน ด้านความบันเทิงต่างๆ สำหรับการประยุกต์ ใช้งานเครือข่ายไร้สายนับว่า มีอย่างหลากหลาย ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ต่อไปนี้

...... ผู้ใช้งานตามบ้านเรือนที่พัก สามารถนำระบบเครือข่ายไร้สายมาใช้งานทั้งการแชร์ การใช้งาน อินเทอร์เน็ตร่วมกับสมาชิกในครอบครัว รับฟังและรับชมสื่อบันเทิง บนเครือขายอินเทอร์เน็ตผ่าน ผลิตภัณฑ์ไร้สาย แบบต่างๆ ได้จากทุกๆ ที่ภายในบริเวณ บ้านโดยไม่ต้องเดินสายนำสัญญาณให้ยากลำบาก

...... ผู้ใช้งานภายในองค์กร สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลของการทำงานของพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย ของการวางสายนำสัญญาณลง ใช้ขยายขอบเขตการใช้งานเครือข่ายเดิม ให้มีความยืดหยุ่น ในกิจการโรงแรมสามารถให้บริการแก่แขกผู้มาเข้าพักได้โดยสะดวก ร้านอาหารสามารถนำมาใช้บริการ กับลูกค้าที่เข้ามาสั่งอาหาร, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึง จุดบริการต่างๆ มากขึ้น และสามารถให้บริการในจุดบริการที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน, ผู้บริหารระบบเครือข่ายสามารถเฝ้าตรวจสอบระบบ และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นกับ ระบบเครือข่ายจากจุดใดก็ได้ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ต่อการจัดการมากขึ้น

...... ผู้ใช้งานภายในสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยให้นักศึกษาสามารถเข้าเรียน ในแบบออนไลน์ได้ สามารถสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากจุดใดจุดหนึ่ง ของสถาบันได้ ช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11

เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่าย ไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3 ประเภทให้เลือกใช้งาน อันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วน.ในระดับชั้น MAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย

มาตรฐาน IEEE 802.11 .....ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงาน ที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการ ให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชัน หลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่ จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐาน ให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น

มาตรฐาน IEEE 802.11a .....เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ ไร้สายมีความสามารถ ในการรับส่งข้อมูล ด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ ที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับ กิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งาน ในระยะสั้น และมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย

มาตรฐาน IEEE 802.11b .....เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมา ให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูล ได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาต ให้ใช้งานในแบบ สาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและ เตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหา ในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุน การใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไป ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกัน กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้

มาตรฐาน IEEE 802.11g ..........เป็นมาตรฐานที่ นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูล ในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงาน ที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)

มาตรฐาน IEEE 802.11e ..........เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชันทาง ด้านมัลติเมียอย่าง VoIP (Voice over IP) เพื่อควบคุมและรับประกันคุณภาพของการใช้งานตามหลักการ QoS (Quality of Service) โดยการปรับปรุง MAC Layer ให้มีคุณสมบัติในการรับรอง การใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน IEEE 802.11f ..........มาตรฐานนี้เป็น ที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็น มาตรฐาน ที่ออกแบบมา สำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขตการให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point อีกตัวหนึ่ง เพื่อให้บริการในแบบโรมมิง สัญญาณระหว่างกัน

IEEE 802.11h ..........มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับ ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ให้ทำงานถูกต้อง ตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศในทวีปยุโรป

IEEE 802.11i ..........เป็นมาตรฐานในด้านการรักษา ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สาย โดยการปรับปรุง MAC Layer เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายมีช่องโหว่มากมายในการใช้งาน โดยเฉพาะฟังก์ชัน การเข้ารหัสแบบ WEP 64/128-bit ซึ่งใช้คีย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับสภาพการใช้งาน ที่ต้องการความมั่นใจ ในการรักษาความปลอดภัย ของการสื่อสารระดับสูง มาตรฐาน IEEE 802.11i จึงกำหนดเทคนิคการเข้ารหัส ที่ใช้คีย์ชั่วคราวด้วย WPA, WPA2 และการเข้ารหัสในแบบ AES (Advanced Encryption Standard) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง

IEEE 802.11k ..........เป็นมาตรฐานที่ใช้จัดการ การทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ทั้งจัดการการใช้งานคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ มีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ, การโรมมิงและการควบคุมกำลังส่ง นอกจากนั้นก็ยังมีการร้องขอและ ปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการทำงาน การหารัศมีการใช้งานสำหรับเครื่องไคลเอนต์ที่เหมะสมที่สุดเพื่อให้ ระบบ จัดการสามารถทำงานจากศูนย์กลางได้

IEEE 802.11n ..........เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ในระดับ 100 เมกะบิตต่อวินาที

IEEE 802.1x ..........เป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับ ระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งก่อนเข้าใช้งานระบบเครือข่าย ไร้สายจะต้อง ตรวจสอบสิทธิ์ ในการใช้งานก่อน โดย IEEE 802.1x จะใช้โพรโตคอล อย่าง LEAP, PEAP, EAP-TLS, EAP-FAST ซึ่งรองรับการตรวจสอบผ่านเซิร์ฟเวอร์ เช่น RADIUS, Kerberos เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานกับเครือข่ายไร้สาย

เครือข่ายไร้สายที่จะนำมาใช้งานประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์ประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งออกแบบมาสำหรับ ใช้งานกับผู้ใช้งานภายในบ้านและผู้ใช้งานภายในองค์กรต่างๆ

PCI Card ..........ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ หลายๆ รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนบอร์ดในระดับไฮเอนด์ จะมีคุณสมบัติ ไร้สายแบบ Built-in ให้มาด้วย แต่ถ้าท่านต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่มีอยู่ต้องการ ใช้งานร่วมกับระบบไร้สาย ได้ก็สามารถ เลือกติดตั้ง PCI Card ได้ ด้วยการถอดฝาครอบเครื่อง ของเราออกแล้วติดตั้ง เข้าไปได้ทันที การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายแบบนี้นั้นจะมีเสาส่งสัญญาณแบบ Dipole ให้มาด้วย 1 เสา ถอดเปลี่ยนได้มาให้พร้อมกันด้วย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะปรับองศา ให้หันไปทิศทางที่ Access Point ตั้งอยู่เพื่อให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยน สัญญาณ ระหว่างกันนั้นดีขึ้นได้

PCMCIA Card ..........เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้นิยมผนวกรวมความสามารถในการใช้งาน เครือข่ายไร้สาย เข้าไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้งานเทคโนโลยี Intel Centrino ของทาง Intel แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สาย ก็สามารถหาซื้อ การ์ดแบบ PCMCIA CardBus Adapter มาติดตั้งได้ โดยลักษณะของตัวการ์ดจะมีขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต บางเบาและน้ำหนักน้อย จึงสามารถติดตั้ง เข้ากับสล็อตแบบ PCMCIA ของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ได้โดยง่ายทีเดียว

USB Adapter ..........เป็นการ์ดที่ออกแบบมาให้ใช้ งานได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและโน้ตบุ๊ก โดยมีให้เลือกใช้ ทั้งแบบที่เชื่อมต่อ ผ่านสายนำสัญญาณและในแบบที่ต่อเข้ากับพอร์ต USB โดยตรง การ์ดเครือข่ายไร้สายแบบ USB นับว่า ได้ให้ความคุ้มค่าสำหรับการใช้ทีเดียว Access Point เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง การ์ดเครือข่าย ไร้สายให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Hub ที่ใช้กับระบบเครือข่าย ใช้สาย โดย Access Point จะมีพอร์ต RJ-45 สำหรับใช้เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายใช้สายที่ใช้งานกัน

Wireless Broadband Router ..........อุปกรณ์ที่ ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ ADSL ซึ่งออกแบบมาสำหรับ จุดประสงค์ การใช้งาน อย่างหลากหลายเป็นทั้ง Router, Switch และ Access Point ปกติผู้ผลิตจะออกแบบมาให้มีพอร์ต เชื่อมต่อ กับคอมพิวเตอร์แบบใช้สายจำนวน 4 พอร์ต แต่ผู้ผลิตหลายรายก็ออกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กขนาดพ็อกเก็ต ที่มีปุ่มสลับโหมด การทำงานมาให้ใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง Wireless Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่าย ให้สื่อสารกันได้ มีให้เลือกใช้งาน ทั้งแบบติดตั้ง ภายนอกซึ่งใช้เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอาคาร และแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร โดย Wireless Bridge มี 2 ลักษณะให้เลือกใช้ คือ แบบที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (Point-to-Point) และแบบจุดต่อหลายจุด (Point-To-Multipoint) Wireless PrintServer สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เพื่อให้มีความสามารถ ในแบบไร้สาย มีทั้งรุ่นที่ออกแบบมา สำหรับ ใช้งานกับเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ต Parallel, USB หรือทั้งสองพอร์ต ร่วมกันด้วย PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแก้ไขข้อยุ่งยาก ในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ ไร้สาย โดยหันมาใช้วิธีการจ่ายไฟผ่านสายนำสัญญาณ UTP ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมา ใช้งานมาทำหน้าที่แทน ซึ่งอุปกรณ์PoE Adapter จะมี 2 ส่วน คือ Power Injector เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าและนำสัญญาณ ข้อมูลจาก Switch Hub เข้าไปสู่อุปกรณ์ไร้สาย อย่าง Access Point และอีกอุปกรณ์เป็น Spliter ที่ใช้แยกสัญญาณข้อมูลและ ไฟฟ้าให้กับ Access Point ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันออกแบบให้ Switch สนับสนุน มาตรฐาน IEEE 802.3af (PoE) มาพร้อมด้วย

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายสำหรับการเลือกซื้อ

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่าง ไปจากผลิตภัณฑ์ เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยคุณสมบัติที่ควรมีมีดังต่อไปนี้

มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ..........ใน ปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับ อัตราความเร็ว สูงสุด ในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอ สำหรับการ ใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดี พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับ มาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา แต่ในขณะนี้ก็เริ่มที่จะเห็นผู้ผลิต หลายๆ ราย ต่างส่งผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี MIMO ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เครือข่ายไร้สายที่ให้แบนด์วิดท์, ให้ประสิทธิภาพ การใช้งาน ที่มากกว่า และมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่ผลิตภัณฑ์ที่ จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มพิกัดจะต้อง เป็นอุปกรณ์จากซีรีส์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีราคาแพงอยู่มาก ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับ มาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นคำตอบที่คุ้มค่ามากที่สุดอยู่

ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหนสำหรับคุณ ..........การ์ด อีเทอร์เน็ตไร้สายก็มีหลายแบบหลายชนิด ให้เราๆ ได้เลือกใช้เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ โน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบ ไร้สายดูจะถูกผนวกรวม มาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังต้องการการ์ดไร้สาย สำหรับโน้ตบุ๊กตัวโปรดอยู่ Wireless PCMCIA Card คือคำตอบสุดท้าย หรือถ้าอยากจะ ใช้งานร่วมกับ เครื่องพีซีอย่างคุ้มค่า ก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ที่ราคาอาจจะแพง ขึ้นมาหน่อยแต่ก็แลกมา กับความคุ้มค่าใช้งาน ได้หลากหลายกว่า สำหรับท่านที่มีเครื่องพีซี ก็มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI Card มาเป็นตัวเลือก เช่นเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อม สายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ การสื่อสารได้ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณ กับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการ ได้ยืดหยุ่นกว่า ในแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่าย มาก่อน ก็ควรจะเลือกใช้ อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่า ได้มากกว่า หรือถ้ามีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน การเลือกใช้ Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงาน แบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วย ดูจะเป็นการลงทุนที่ดูคุ้มค่ากว่า

ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย .......... สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษในการจัดซื้อ ผลิตภัณฑ์ ระบบเครือข่ายไร้สายก็คือ การสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อ สื่อสาร ด้วยการใช้คลื่นวิทยุที่แพร่ไป ตามบรรยากาศ จึงต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกัน การดักจับสัญญาณ จากผู้ไม่ประสงค์ดี การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สาย จึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ ซึ่งเทคนิค ที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC Address Filtering ก็ดูจะเพียงพอ แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นเทคนิคการตรวจสอบ และกำหนดสิทธิ์การใช้งานต้องดูแข็งแกร่งกว่าโดยเลือกใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การ เข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกันกับเทคนิค การตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่ง แบบอื่นๆ อย่าง RADIUS ร่วมด้วย จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม

เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์ ..........สำหรับเสา อากาศของการ์ดไร้สายนั้น ถ้าเป็นการ์ด แบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้น จะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยที่พบเห็นจะเป็นทั้งในแบบเสาเดี่ยวๆ ที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด และอีกแบบจะเป็นแบบ ที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้น หรือยึดติดกับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้น ควรเลือกซื้อ เสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่น ในการติดตั้ง มากกว่า

Thanks : bcoms.net

ไม่มีความคิดเห็น: