หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Introduction to VoIP

VoIP (Voice Over Internet Protocol)

เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1973 โดยองค์กรที่ชื่่อว่า ARPANET (Advanced Research Project Agency Network) โดยมีวัตถุประสงค์ นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประหยัดต้นทุนการติดต่อสื่อสาร โดยการใช้งานระบบเครือข่ายให้มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวีโอไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถให้บริการได้ในอัตราค่าบริการที่ถูกลงมา


VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ
1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC to PC )
PC มีการติดตั้ง sound card และไมโครโฟน ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย IP การประยุกต์ใช้ PC และ IP-enabled telephones สามารถสื่อสารกันได้แบบจุดต่อจุด หรือ แบบจุดต่อหลายจุด โดยอาศัย software ทางด้าน IP telephony




2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง โทรศัพท์พื้นฐาน ( PC to Phone )
เป็นการเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์เข้ากับ เครือข่าย IP ทำให้โดยอาศัย Voice trunks ที่สนับสนุน voice packet ทำให้สามารถใช้ PC ติดต่อกับ โทรศัพท์ระบบปกติได้



3. โทรศัพท์กับโทรศัพท์ ( Telephony )
เป็นการใช้โทรศัพท์ธรรมดา ติดต่อกับโทรศัพท์ธรรมดา แต่ในกรณีนี้จริงๆแล้วประกอบด้วยขั้นตอนการส่งเสียงบนเครือข่าย Packet ประเภทต่างๆซึ่งทั้งหมดติดต่อกันระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (PSTN) การติดต่อกับ PSTN หรือ การใช้โทรศัพท์ร่วมกับเครือข่ายข้อมูลจำเป็นต้องใช้ gateway




สำหรับมาตราฐานของวีโอไอพี มี 2 รูปแบบ คือ

1. H.323 Standard
สำหรับมาตรฐาน H.323 นั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) นอกจากนั้นมาตรฐาน H.323 ยังมีการทำงานที่ค่อนข้างช้า โดยปกติแล้วเราจะเสนอการใช้งานมาตรฐาน H.323 ให้กับลูกค้าก็ต่อเมื่อในระบบเดิมของลูกค้ามีการใช้งานมาตรฐาน H.323 อยู่แล้วเท่านั้น
  • มาตรฐาน H.323 เป็นมาตรฐานภายใต้ ITU-T (International Telecommunications Union) Standard
  • ในตอนแรกนั้น มาตรฐาน H.323 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการทำ Multimedia Conferencing บนระบบเครือข่าย LAN เป็นหลัก แต่มาในตอนหลังจึงถูกพัฒนาให้ครอบคลุมถึงการทำงานกับเทคโนโลยี VoIP ด้วย
  • มาตรฐาน H.323 สามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Point-to-Point Communications และแบบ Multi-Point Conferences
  • อุปกรณ์ต่างๆ จากหลากหลายยี่ห้อ หรือหลายๆ Vendors นั้นสามารถที่จะทำงานร่วมกัน (Inter-Operate) ผ่านมาตรฐาน H.323 ได้

2. SIP (Session Initiation Protocol) Standard
มาตรฐาน SIP นั้นถือเป็นมาตรฐานใหม่ในการใช้งานเทคโนโลยี VoIP โดยที่มาตรฐาน SIP นั้น ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบ IP โดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะแนะนำให้ลูกค้าใหม่ที่จะมีการใช้งาน VoIP ให้มีการใช้งานอยู่บนมาตรฐาน SIP...
  • มาตรฐาน SIP นั้นเป็นมาตรฐานภายใต้ IETF Standard ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการเชื่อมต่อ VoIP
  • มาตรฐาน SIP นั้นจะเป็นมาตรฐาน Application Layer Control Protocol สำหรับการเริ่มต้น (Creating), การปรับเปลี่ยน (Modifying) และการสิ้นสุด (Terminating) ของ Session หรือการติดต่อสื่อสารหนึ่งครั้ง
  • มาตรฐาน SIP จะมีสถาปัตยกรรมการทำงานคล้ายคลึงการทำงานแบบ Client-Server Protocol
  • เป็นมาตรฐานที่มี Reliability ที่ค่อนข้างสูง Vendors นั้นสามารถที่จะทำงานร่วมกัน (Inter-Operate) ผ่านมาตรฐาน H.323 ได้


การส่งสัญญาณเสียง
ครั้งเมื่อมีเครือข่ายไอพีกว้างขวางและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ความต้องการส่งสัญญาณข้อมูลเสียงที่ได้คุณภาพก็เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญ คือระบบประกันคุณภาพการสื่อสาร โดยจัดลำดับความสำคัญ หรือจองช่องสัญญาณไว้ให้ก่อน ระบบการสื่อสารในรูปแบบใหม่นี้ จะต้องกระทำโดยเราเตอร์

การส่งเสียงบนเครือข่ายไอพี หรือเรียกว่า VoIP-Voice Over IP เป็นระบบที่นำสัญญาณข้อมูลเสียงมาบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี แล้วส่งไปโดยที่เราเตอร์มีวิธีการปรับตัวเพื่อรับสัญญาณแพ็กเก็ต และยังแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า


ระบบ VoIP เป็นระบบที่นำสัญญาณเสียงที่ผ่านการดิจิไตซ์ โดยหนึ่งช่องเสียงเมื่อแปลงเป็นข้อมูลจะมีขนาด 64 กิโลบิตต่อ วินาที การนำข้อมูลเสียงขนาด 64 Kbps นี้ ต้องนำมาบีบอัด โดยทั่วไปจะเหลือประมาณ 10 Kbps ต่อช่องสัญญาณเสียงแล้วจึง บรรจุลงในไอพีแพ็กเก็ต เพื่อส่งผ่านทางเครือข่ายไอพี

การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมีเราเตอร์ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อ ประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึง ปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ

จากระบบดังกล่าวนี้เอง จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างองค์กร โดยองค์กรสามารถ ใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายไอพี


ตัวอย่าง Application การใช้งานเทคโนโลยี VoIP

1. PBX to PBX Connection
* ทั้ง 2 ฝั่งของสำนักงานจะสามารถใช้งานตู้สาขา PBX ของสำนักงานอีกฝั่งเปีรยบเสมือนตู้สาขา PBX ของฝั่งตัวเอง
* Users ภายในไม่จำเป็นต้องทำการ Dial ออกไปบนระบบโทรศัพท์ PSTN เพื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับตู้สาขา PBX ของสำนักงานอีกฝั่ง
2. Long Line PBX Extension
* เป็นการเชื่อมต่อที่สำนักงานใหญ่ขยายการเชื่อมต่อตู้สาขา PBX ไปที่สำนักงานสาขาที่ไม่มีตู้ PBX ใช้งานอยู่
* ทางสำนักงานสาขาสามารถใช้งานตู้ PBX ผ่านทางสำนักงานใหญ่ได้เสมือนกับเป็นตู้สาขา PBX ของฝั่งตนเอง
3. Teleworker / Local Access
* เป็นการเชื่อมต่อที่ยินยอมให้ Remote User ฝั่งสำนักงานใหญ่สามารถใช้งานโทรศัพท์เข้ามาที่สำนักงานใหญ่ แล้วใช้ระบบเครือข่ายของสำนักงานใหญ่เชื่อมต่อไปยังสำนักงานสาขาผ่าน เทคโนโลยี VoIP เพื่อสามารถใช้ งานโทรศัพท์ในพื้นที่ของสำนักงานสาขาได้โดยเสียค่าบริการในอัตราของพื้นที่ ของสำนักงานสาขานั้น ๆ

4. Service Provider CPE (Customer Premises Equipment)
* ผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น ISP สามารถที่จะเสนอบริการเสริมต่าง ๆ ทางด้าน VoIP บนระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่มีการใช้งานอยู่เดิมแล้ว




อุปกรณ์เชื่อมต่อ เพื่อใช้งาน VoIP

สำหรับอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อกับระบบ VoIP ไม่ว่าระบบ VoIP จะเป็นลักษณะ SoftSwitch หรือ HardSwitch อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ก็ยังทำหน้าที่ 2 อย่างหลัก ๆ คือ

1. ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียง,ภาพที่อยู่ในรูปแบบอนาล๊อกให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล

2. ทำหน้าที่บีบอัดข้อมูลเสียงมภาพที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อให้ใช้เวลาที่ส่งผ่านได้เร็วขึ้น

อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับระบบ VoIP นั้น แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

1. ที่เป็น Software ซึ่งมักจะเรียกกันว่า SoftPhone ข้อดีสำหรับการใช้งาน SoftPhone ไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Hardware เพราะ SoftPhone ส่วนให้มีให้ Download ฟรี นอกเสียจาก ต้องการ SoftPhone ที่มีความสามารถพิเศษเช่น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง หรือ สามารถใช้สำหรับการประชุมหลาย ๆ คู่สาย สำหรับข้อเสียคือ ในขณะที่ใช้งาน,รอการติดต่อ จำเป็นจะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ จึงทำให้ไม่สะดวกมากนัก และคุณภาพเสียงของ SoftPhone ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ด้วย

2. ที่เป็น Hardware ไม่ว่าจะเป็น IP Phone, IP Video Phone, Phone Adapter, VoIP Gate หรือ Wi-Fi Phone ให้คุณภาพเสียงที่ดี แต่ก็ต้องศึกษาคุณสมบัติของตัวอุปกรณ์ เพราะบางครั้งอาจไม่รองรับกับระบบ VoIP ที่เชื่อมต่อ


ประโยชน์ของระบบวีโอไอพี


* ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารถูกลงและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
* ไม่มีขีดจำกัดในการขยายเครือข่าย ทุกที่ทั่วโลก ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
* เพิ่มความยืดหยุ่นในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างสาขาขององค์กร หรือองค์กรกับองค์กร
* สามารถยุบรวมระบบเครือข่าย ทำให้ลดการเดินสาย Cable ใหม่
* รอบรับการขยายตัวของระบบในอนาคต
* ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและจัดการระบบ
* สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สือสารไร้สายอื่่น ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และ PDA
* เพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อกับลูกค้า โดยการพัฒนาต่อยอด เช่น เชื่อมกับระบบ CRM


จุดด้อยของวีโอไอพี

จุดด้อยของวีโอไอพีก็คือ ในบางกรณีคุณภาพเสียงอาจจะไม่ดีเท่าโทรศัพท์ปกติ และอาจจะมีการดีเลย์หรือการที่สัญญาณเสียงเดินทางมาช้า ทำให้พูดสวนกันไม่ได้ถนัด ต้องรอให้แต่ละฝ่ายพูดให้จบก่อนจึงจะพูดได้ แต่ปัญหานี้ได้รับการปรับปรุงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนแทบจะไม่มีความแตกต่างอีกต่อไป ข้อเสียอีกประการหนึ่งก็คือ โทรศัพท์วีโอไอพี จะใช้งานไม่ได้เมื่อไฟฟ้าดับ หรืออินเทอร์เน็ตเกิดขัดข้อง


อนาคตของวีโอไอพี
วีโอไอพี หรือที่มักจะเรียกกันย่อๆว่าวอยส ์จะได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่ได้รับปรับปรุงและค่าใช้จ่ายที่ถูก จนในที่สุดอาจจะกลายเป็นบริการฟรี เช่น เดียวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่นๆ เช่น การสืบค้นเว็บไซต์ การใช้อีเมล เพราะอันที่จริงก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ผู้ใช้บริการเพียงแต่จ่ายค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น


ทิศทางบริการแห่งยุค


Voice over IP เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการให้บริการอินเทอร์เน็ต และได้กลายเป็นบริการยอดนิยมของผู้ที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และนักศึกษา ซึ่งมีเวลาแต่ไม่มีเงิน เมื่อไม่นานมานี้ และในปัจจุบัน Voice over IP ก็กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การไม่สามารถเปิดให้บริการโทรศัพท์ด้วยเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตจากเครือข่าย ที่มีอยู่เดิม อาจทำให้ผู้ให้บริการ เช่น เวอริซอน, เอสบีซี และเบลล์เซาธ์ ต้องสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดโทรคมนาคมมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ได้ เนื่องจาก เมื่อใช้ Voice over IP ลูกค้ามีอิสระในการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการเดิม หรือจะเปลี่ยนผู้ให้บริการใหม่ อย่างเช่น บริษัทผู้ให้บริการทีวีตามสาย (เคเบิล ทีวี) หรือธุรกิจเกิดใหม่ อย่าง Net2Phone และ Vonage ได้ ประกอบกับ การใช้งาน Voice over IP ไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์ผ่านพีซีที่ใช้ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์เสริมอีกต่อไป แม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าว กำลังจะกลับมาอีกครั้งตามกระแสนิยมบริการ อย่าง Skype ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยสถาปัตยกรรมของคาซา และทำให้การโทรศัพท์แบบพีซีกับพีซีง่ายขึ้น ขณะที่คิดค่าธรรมเนียมเหมือนโทรศัพท์ทั่วไป คือ เพียง 100 ดอลลาร์เท่านั้น นับตั้งแต่เปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โวเนจ ผู้ให้บริการ Voice over IP ชั้นนำ สามารถดึงดูดให้ลูกค้า 85,000 คน จ่ายค่าบริการ 15 - 35 ดอลลาร์ต่อเดือน

แนวโน้มวงการโทรคมฯ

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท นีเมอร์เทส รีเสิร์ช ในชิคาโก ทำสำรวจ 42 บริษัท ซึ่งคิดเป็น 70% ของบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ และพบว่า ประชาชนเกือบ 2 ใน 3 ใช้โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ขณะที่อีก 20% ที่เหลือ กำลังทดลองใช้เทคโนโลยีดังกล่าว จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เอที แอนด์ ที, เควสต์, คอกซ์ คอมมิวนิเคชันส์, และไทม์ วอร์เนอร์ เทเลคอม จึงตบเท้าทยอยเปิดตัวบริการ Voice over IP ของตัวเอง
Voice over IP สร้างความตื่นเต้นให้กับลูกค้า นางแคธี มาร์ติน รองประธานอาวุโสเอที แอนด์ ที ผู้ซึ่งผลักดันให้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ของมา เบลล์ กลายเป็นบริการยอดนิยม 100 อันดับแรกในตลาดผู้บริโภคทั่วไปและองค์กรธุรกิจของสหรัฐ กล่าว พร้อมเสริมว่า คำว่า แจ๋ว ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในภาคโทรคมนาคมเลย นับตั้งแต่การมาถึงของโทรศัพท์ในทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา แต่ความยืดหยุ่นของโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต อาจทำให้ผู้ใช้ต้องอุทานคำดังกล่าว เพื่อแสดงออกถึงความพอใจในการใช้งาน
ขณะที่นายเดวิด ไอเซนเบิร์ก ที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมอิสระ ขยายความเรื่องความยืดหยุ่นของบริการ Voice over IP ไว้ว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ทำงานบนมาตรฐานเปิด จึงแตกต่างจากเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเพิ่มลูกเล่นใหม่ ด้วย Voice over IP

คุณสามารถพัฒนาฟังก์ชันใหม่ได้เร็วเท่ากับการเขียนโปรแกรม นายไอเซนเบิร์ก ซึ่งร่วมงานกับเบลล์ แลบส์ของเอที แอนด์ ที มากว่า 12 ปี กล่าว
ในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงกับข้อมูล จะถูกส่งผ่านโครงข่ายที่แยกจากกัน แต่แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นลักษณะการรวมบริการหลายๆ อย่างไว้ในโครงข่ายเดียว ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งสัญญาณเสียง, ข้อมูล, ภาพ ภายใต้โครงข่าย แบบแพ็คเกจ โดยการส่งข้อมูลทั้งสัญญาณภาพ และเสียงเป็นชุดของข้อมูล ที่สัญญาณเสียง จะถูกแปลงเป็นข้อมูล ก่อนที่จะถูกส่ง ในโครงข่าย โดยใช้ไอพีโปรโตคอล (Internetworking Protocol: IP) ซึ่งกำลังเป็นสิ่งทีได้รับ ความสนใจ เป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนขององค์กร ธุรกิจ และผู้ให้บริการโครงข่ายหลายราย

ส่วนสิ่งที่ผลักดันให้ VoIP ภายใต้ ไอพี เทเลโฟนนี่ (IP Telephony) เป็นที่ต้องการทางด้านการตลาด คือ

ประการแรก โอกาสที่จะติดต่อ สื่อสารระหว่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงข่ายโทรศัพท์ทั่วไป

ประการ 2 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น

ประการ 3 การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร

ประการ 4 มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน

ประการ 5 ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น

ประการ 6 ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น จะย้ายไปที่ใด ก็ตามก็ยังคงสามารถใช้หมายเลขเดิมได้ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ

ประการ 7 การเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของการทำรายการต่างๆ บน e-Commerce ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างก็ต้องการการ บริการที่มีคุณภาพ และมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างที่กำลังใช้ อินเทอร์เน็ตอยู่ ซึ่ง VoIP สามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้

ประการ 8 การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP

จากอดีตมีการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายวงจรของชุมสายโทรศัพท์ (Circuit Switching) ทำให้เกิดการใช้งานโครงข่ายได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ มากเท่าที่ควร เพราะแต่ละวงจร หรือเส้นทางถูกกำหนดให้ผู้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ว่าวงจร หรือเส้นทางนั้นๆ จะว่างอยู่ก็ตาม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching

ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP)


Thanks : elastixthai.com || tlcthai.com || teledd.com || 1call.co.uk || dpu.ac.th
|| vcharkarn.com || voip.n3amedia.biz

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Introduction to Asterisk and AsterisKNOW

What is Asterisk

Asterisk® เป็นผู้นำแห่งโลกของ open source PBX ที่มีวิธีการและชุดเครื่องมือประยุกต์ทางด้านโทรศัพท์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกของการสื่อสารที่มีกรรมสิทธิ์ (proprietary communications) Asterisk เสริมกำลังให้ผู้พัฒนาและผู้รวบรวมสามารถสร้างสรรค์โซลูชันทางการสื่อสารแบบฟรี Asterisk® เป็น open source ที่อยู่ภายใต้ GNU General Public License (GPL) และสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีโดยไม่ต้องซื้อ Asterisk® เป็นซอฟต์แวร์แบบ open source ที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดอันหนึ่งและมี Asterisk Community ที่มีอิทธิพลในวงการของ VoIP

Asterisk® สร้างขึ้นโดย Mark Spencer แห่ง Gigium, Inc ในปี 1999 ซึ่งโค้ดได้ถูกสร้างขึ้นจากนักพัฒนา open source ทั่วโลก และได้ผ่านการทดสอบและแก้บักจากชุมชน (community) ที่ได้ช่วยเหลือโดยประเมินค่าไม่ได้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ชุดนี้

What is AsteriskNOW

AsteriskNOW™ เป็น Software Appliance ซึ่งเป็น Customized Linux Distribution ที่ประกอบด้วย Asterisk®, AsteriskGUI™ และซอฟต์แวร์อื่นทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับระบบ Asterisk ซึ่ง Asterisk สามารถคอนฟิกได้ง่ายด้วย graphical interface โดย AsteriskNOW™ ประกอบด้วย Linux components ทั้งหมดที่จำเป็นต่อการรัน, การดีบัก และการสร้าง Asterisk ด้วยเหตุที่มีเฉพาะคอมโพเน้นต์ดังกล่าวนี้เท่านั้น จึงทำให้การติดตั้งทำได้ง่าย นอกจากนั้นผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับเวอร์ชันของ kernel และ package dependencies ซึ่งไม่เหมือนกับ Linux distribution อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับติดตั้ง Asterisk นั่นคือไม่มีคอมโพเน้นต์ที่ไม่จำเป็นที่อาจจะมีปัญหากับเรื่องความปลอดภัยหรือสมรรถภาพที่ได้รวบรวมเอาไว้


รูปแสดงตัวอย่างหน้าตาของ Asterisk GUI

Install AsteriskNOW

ขั้นตอนการติดตั้ง AsteriskKNOW แบบ QuickStart Guide เป็นดังนี้

  1. ดาวน์โหลด AsteriskKNOW ซึ่งเป็นไฟล์ชนิด ISO แล้วนำไฟล์ดังกล่าวไปเขียน (burn) ลงแผ่น CD
  2. ใส่แผ่น CD ใหม่ที่เป็น AsteriskNOW ดังกล่าวเข้าไปยัง CD-ROM drive ของ PC
  3. ทำการบู๊ตจากแผ่น CD ด้วยการ restart เครื่อง PC จากนั้นจะเห็นเมนูการบู๊ตของ AsteriskNOW แบบพื้นฐานที่มีหลายออฟชั่นให้เลือก สำหรับการติดตั้งแบบกราฟฟิกมาตรฐานให้กดปุ่ม
  4. ทำตามคำอธิบายบนหน้าจอซึ่งจะแนะนำผู้ติดตั้งไปจนตลอดกระบวนการของการติดตั้ง

ส่งท้าย

จากข้อมูลสั้น ๆ ที่กล่าวมาคงทำให้ผู้อ่านหลายท่านได้รู้จักกับ Asterisk® และ AsteriskNOW™ บ้างแล้วนะครับ เทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์ที่มาแรงในยุคนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของ VoIP ซึ่ง Asterisk เป็นทางเลือกอันหนึ่งสำหรับการสร้างชุมสายโทรศัพท์แบบ IP (IP PBX) ที่มีจุดเด่นในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ซึ่งหลาย ๆ องค์กรได้นำมาใช้งานกันแล้ว


Thanks : catadmin

Installation failed i386 asms

When we install  new window  and  found error

**********************************************
Installation failed E:\i386\asms
Error Message : The parameter is incorrect
Fatal Error :
One of the components that windows needs to continue set up could not be installed.
the parameter is incorrect.

**********************************************

We googled, Almost from a bad burn or a damaged copy of the XP setup disk.
We suggest to reburn your CD ISO with new software with DAO (Disc-At-Once)


คงเจอกันไม่บ่อย ปัญหานี้อาจเป็นเพราะเราอาจเขียน CD ไม่ดี หรือ CD ที่เอามามีปัญหา
ลอง Write ดูใหม่นะครับ

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Virtualization and Consolidation with Windows Server 2008 Hyper-V

การสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริง (Server virtualization) หรือที่รู้จักกันในชื่อของการสร้างฮาร์ดแวร์เสมือนจริง (hardware virtualization) นั้นเป็นประเด็นที่มีผู้คนในสาขาวิศวกรรมไอที ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากนวัตรกรรรมดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่กับระบบธุรกิจได้ การสร้างระบบเสมือนจริงสามารถทำให้มีการรันระบบปฏิบัติการหลายๆระบบได้บน เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวโดยผ่านระบบที่เรียกว่า Virtual Machines (VMs) และด้วยนวัตรกรรมของระบบดังกล่าวนี้เอง คุณจึงสามารถรวบรวมภาระงานจากคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หลายๆเครื่องเข้ามาสู่ ระบบคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่มีจำนวนเครื่องน้อยลงเพื่อให้เกิดการใช้งาน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นได้ นอกจากนี้ การมีเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จำนวนน้อยลงก็หมายถึงการประหยัดต้นทุน ต่างๆลงด้วยเช่นกัน ทั้งในด้านราคาฮาร์ดแวร์ ค่าไฟฟ้า และค่าดูแลรักษาจัดการ รวมถึงการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที ที่เป็นระบบมากขึ้นด้วย หากคุณต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์และระบบการสร้าง เซิร์ฟเวอร์เสมือนจริง คุณสามารถเข้าชมรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของ Virtualizationหรือเข้าไปยังเว็บไซต์ของ Virtualization TechCenter.

ภายใต้ระบบของ Windows Server 2008 ระบบทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับสนับสนุนการสร้างระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงนั้น ได้รับการพัฒนาและนำมาติดตั้งเข้าไปในระบบปฏิบัติการโดยเรียกว่าระบบ Windows Server 2008 Hyper-V และด้วยระบบของ Hyper-V พร้อมด้วยนโยบายสิทธิ์การใช้งานง่ายๆ คุณก็สามารถใช้ประโยชน์จากระบบการสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงของ Windows Server 2008 ในการลดต้นทุนการดูแลรักษาเซิร์ฟเวอร์ได้

นวัตรกรรม Windows Server 2008 Hyper-V

ระบบ Windows Server Hyper-V ระบบจำลองเสมือนจริงที่มีพื้นฐานมาจาก Hypervisor สำหรับเซิร์ฟเวอร์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้คุณสามารถลงทุนด้านฮาร์ดแวร์สำหรับ เซิร์ฟเวอร์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยการรวมระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆกันบนระบบ virtual machine หลายๆเครื่องไว้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงเพียงเครื่องเดียว คุณยังสามารถทำการรันระบบปฏิบัติการหลายระบบบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพียง เครื่องเดียวไปพร้อมๆกันก็ได้ ทั้งระบบ Windows, Linux และระบบปฏิบัติการอื่นๆ ระบบของ Hyper-V และนโยบายด้านสิทธิการใช้งานที่ง่ายจะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถประหยัด ทรัพยากรและทุนในการใช้งานระบบเซิร์ฟเวอร์ได้ง่ายกว่าเดิม และใช้งานระบบประมวลผลแบบ 64 บิทได้อย่างเต็มที่มากขึ้น

Core Scenarios for Hyper-V

ระบบ Hyper-V ช่วยสร้างแพลตฟอร์มที่มีความคล่องตัว มีความน่าเชื่อถือ และปรับเปลี่ยนได้ ประกอบกับระบบเครื่องมือในการจัดการเพียงชุดเดียวในการจัดการทั้งทรัพยากร จริงและทรัพยากรเสมือนจริง จึงทำให้คุณสามารถสร้างระบบศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) ที่มีความคล่องตัวสูงและปรับเปลี่ยนได้ ระบบ Hyper-V ช่วยให้คุณสามารถ ...

  • รวมเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วยกัน

    ในระบบเศรษฐกิจ การทำให้การจัดการทำได้โดยง่ายและการลดต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจในการแข่งขันด้วย เช่น ความคล่องตัว ความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนแก้ไข และความปลอดภัย ดังนั้น การใช้งานระบบ Virtualization ซึ่งช่วยให้คุณสามารถรวมเซิร์ฟเวอรจำนวนมากเข้าด้วยกันในขณะเดียวกันก็ยังคง รักษาวามได้เปรียบต่างๆไว้จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ประโยชน์หลักอย่างหนึ่งของการทำการรวมเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วยกันผ่านระบ Virtualization ก็คือการลดต้นทุนในการดูแล (TCO) ซึ่งระบบดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเซิร์ฟเวอร์อีก ด้วย

    นอกจากนั้น ระบบธุรกิจยังจะได้ประโยชน์จากการใช้งานระบบ Virtualization โดยการปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมอีกด้วย ทั้งจากมุมมองของการบริหารสินทรัพย์ และมุมมองในการจัดการกับภาระหน้าที่งานจากหลายๆแหล่งด้วย นอกจากนั้น ความยืดหยุ่นในสภาวะแวดล้อมการทำงานและความสามารถในการผสานการทำงานทั้งใน รูปแบบ 32 บิทและ 64 บิทภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกันก็เป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งเช่นกัน

  • ทำงานได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น และสามารถกู้ข้อมูลจากอุบัติเหตุได้

    ความต่อเนื่องทางธุรกิจหมายถึงความสามารถในการทำให้เกิดสภาวะที่เป็น อุปสรรคต่อการทำงานให้ได้น้อยที่สุด ทั้งในกรณีที่วางแผนไว้หรือไม่ได้วางแผนไว้ก็ตาม ซึ่งนั่นรวมถึงเวลาที่ขาดช่วงไปจากการทำกิจวัตรต่างๆ เช่น การซ่อมบำรุงระบบและการสำรองข้อมูล หรือแม้แต่อุบัติเหตุเช่นไฟฟ้าดับ ระบบ Hyper-V มีระบบและคุณลักษณะที่สนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ เช่น การสำรองข้อมูลแบบ Live Backup ระบบเคลื่อนย้ายระบบแบบเร่งด่วน (Quick Migration) ซึ่งทำให้ระบบธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายและกำหนดเกณฑ์ต่างๆได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น

    นอกจากนั้นแล้วการฟื้นตัวจากอุบัติภัยก็เป็นปัจจัยหลักอีกประการ สำหรับความต่อเนื่องทางเศรษฐกิจเช่นกัน อุบัติเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ การถูกโจมตีด้วยไวรัสและซอฟต์แวร์ หรือแม้แต่การตั้งค่าซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาดล้วนสามารถทำให้ธุรกิจของคุณหยุด ชะงักได้ จนกว่าผู้บริหารหรือผู้ดูแลระบบจะสามารถแก้ไขหรือทำการกู้คืนข้อมูลต่างๆได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีด้านการจำแนกคลัสเตอร์ของระบบ Windows Server 2008 ระบบของ Hyper-V นั้นมีการสนับสนุนระบบการกู้คืนข้อมูล(DR)ภายใต้สภาวะแวดล้อมด้าน IT หรือแม้แต่การกู้คืนข้อมูลจากระบบ Data Center อื่นๆ โดยใช้ความสามารถของระบบการกระจายคลัสเตอร์ จึงทำให้มั่นใจว่าการกู้คืนข้อมูลที่รวดเร็วและเชื่อถือได้จะทำให้สูญเสีย ข้อมูลจากอุบัติภัยต่างๆน้อยที่สุดและสามารถมีการควบคุมระบบจากระยะไกลได้ อีกด้วย

  • ทดสอบระบบและพัฒนาระบบ

    บ่อยครั้ง การทดสอบระบบและการพัฒนาระบบเป็นฟังก์ชันหลักที่เป็นประโยชน์ของการใช้งาน เทคโนโลยีด้านการ Virtualization ด้วยการใช้งานระบบ Virtual Machines นักพัฒนาสามารถสร้างและทดสอบสถานการณ์สมมติมากมายได้ในสภาวะแวดล้อมที่ ปลอดภัยและควบคุมได้ซึ่งช่วยในการคาดคะเนผลกระทบบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ ระบบของ Hyper-V ขยายขอบเขตการใช้งานฮาร์ดแวร์ทดสอบซึ่งช่วยในการลดต้นทุน ช่วยในการบริหารวงจรอายุ(Life Cycle Management) และเพิ่มความครอบคลุมในการทดสอบ ด้วยระบบปฏิบัติการที่สนับสนุน extensive guest และคุณลักษณะด้าน checkpoint ระบบ Hyper-V จึงเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างสภาวะแวดล้อมในการทดสอบและพัฒนา ซอฟต์แวร์

  • มีระบบ Data Center ที่มีความยืดหยุ่นสูง

    โดยการใช้งาน Hyper-V ร่วมกับระบบ ในการบริหารจัดการเดิมของคุณ เช่นระบบ Microsoft System Center คุณสามารถสร้างระบบ Data Center ที่มีความคล่องตัวสูงและสามารถบริหารจัดการตัวเองได้ เทคโนโลยีและคุณลักษณะต่างๆเช่น ระบบ automated virtual machine reconfiguration, ระบบควบคุมทรัพยากรที่มีความยืดหยุ่น, และระบบการย้ายข้อมูลเร่งด่วน จะไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณสร้างสภาวะแวดล้อมด้าน IT ที่ใช้งานระบบ Virtualization เพียงตอบสนองกับปัญหาเท่านั้น แต่ยังสามารถเตรียมพร้อมรับกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย

คุณลักษณะสำคัญของระบบ Hyper-V:

  • ระบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนา ด้วยระบบโครงสร้างแบบ 64-bit micro-kernelized hypervisor ตัวใหม่นี้ ระบบ Hyper-V สามารถให้การสนับสนุนกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย รวมถึงเพิ่มสมรรถนะในการทำงานและความปลอดภัยของระบบด้วย

  • สนับสนุนระบบ OS ที่หลากหลาย ระบบ Hyper-V สนับสนุนการรันระบบปฏิบัติการหลายๆระบบพร้อมๆกัน ทั้งระบบ 32 บิท และ 64 บิท และสนับสนุนการรันแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Windows, Linux, และระบบอื่นๆ

  • สนับสนุนระบบ Symmetric Multiprocessors (SMP) ความสามารถในการสนับสนุนหน่วยประมวลผลได้มากถึงสี่ตัวในสภาวะแวดล้อมของ Virtual Machine ทำให้คุณสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากแอพพลิเคชั่นที่ทำงานโดยใช้การประมวลผล แบบหลาย thread ในระบบของ Virtual Machine

  • ระบบ Network Load Balancing ระบบ Hyper-V มีระบบความสามารถในการกำหนด virtual switch ซึ่งหมายถึงคุณสามารถกำหนดให้ระบบของ Virtual Machine ทำการรันโดยใช้ระบบ Windows Network Load Balancing (NLB) Service เพื่อปรับความสมดุลของจำนวนภาระงานระหว่าง Virtual Machine แต่ละเครื่องในแต่ละเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วย

  • สถาปัตยกรรมการแชร์ฮาร์ดแวร์แบบใหม่ ด้วยระบบสถาปัตยกรรมใหม่ของ virtual service providerและ virtual service client (VSP/VSC) architecture ระบบ Hyper-V จึงมีระบบการเข้าถึงและใช้งานทรัพยากรกลางของระบบที่ดีขึ้น เช่น การใช้งานพื้นที่หน่วยความจำ เครือข่าย และวิดิโอ

  • ระบบถ่ายโอนข้อมูลแบบเร่งด่วน ระบบ Hyper-V ทำให้คุณสามารถทำการถ่ายโอนและย้ายระบบ virtual machine ที่ทำงานอยู่จากคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบได้โดยใช้เวลาน้อยที่สุด โดยการใช้ความสามารถของระบบ Windows Server ที่คุ้นเคยดีกับเครื่องมือช่วยเหลือของระบบ System Center

  • Virtual Machine Snapshot ระบบของ Hyper-V มีความสามารถในการสร้าง Snapshot การทำงานของระบบ virtual machine ที่กำลังทำงานอยู่ได้ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถทำการย้อนระบบกลับไปสู่สภาวะก่อนหน้านี้ได้ รวมถึงยังสามารถปรับแต่งและแก้ไขระบบการสำรองข้อมูลต่างๆได้ด้วย

  • มีความสามารถในการปรับแต่งสูง ด้วยความสามารถในการสนับสนุนหน่วยประมวลผลมากกว่าหนึ่งตัวที่ระดับโฮสต์และ การพัฒนาการใช้งานทรัพยากรของระบบ Virtual Machine คุณจึงสามารถทำการสร้างสภาวะแวดล้อมในการ Virtualization เพื่อสนับสนุนระบบ virtual machine จำนวนมากภายในปริมาณโฮสต์ที่กำหนดได้ และยังสามารถใช้งานระบบการย้ายข้อมูลเร่งด่วนในการปรับแต่งค่าต่างๆไปยัง โฮสต์อื่นๆได้ด้วย

  • ใช้ร่วมกับระบบอื่นๆได้ ระบบอินเทอร์เฟสของ Windows Management Instrumentation (WMI) ที่มีความเป็นมาตรฐานและระบบ APIs ต่างๆใน Hyper-V ช่วยให้บริษัทจำหน่ายและพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆสามารถสร้างและพัฒนาเครื่องมือ และส่วนต่อเติมอื่นๆเพื่อใช้งานกับระบบแพลตฟอร์ม Virtualization ได้

Thanks : microsoft.com

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Take care your Eye !! (2)

การบริหารดวงตา นอกจากลดสายตาสั้น กันสายตายาว ไม่ต้อง เปลี่ยนแว่นบ่อยๆแล้ว ยังช่วยลด และป้องกันอาการบกพร่องที่ จอรับภาพได้อีกด้วย(คือรู้สึกตามีแสงแปลบป… หรือเห็น หิ่งห้อยวิ่งไปมา หรือเห็นเป็นแสงสว่างวงๆ วาบๆ อาการเหล่านี้ หากปล่อยไว้ จอรับภาพอาจพิการ หรือถึงกับมองไม่เห็นได้) ทำสม่ำเสมอทุกๆ วันช่วยให้เลือดมาเลี้ยงจอรับภาพมากขึ้น อาการบกพร่องจะน้อยลง หรืออาจหายไปได้ ส่วนคนที่สายตา ปกติดีอยู่แล้ว ก็ช่วยให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง นัยย์ตาสดใส

ท่าที่ 1 กลอกลูกตามองไปทางซ้ายสุด และมองมาทางขวาสุด เท่าที่จะทำได้ ทำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 2 เหลือบลูกตาขึ้นมองเพดาน โดยวางหน้าตรง และเหลือบ ตาลงล่างสุดมองพื้น ทำขึ้นๆลงๆ 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วซ้าย และลากเหลือบลงมา ที่แก้มขวา ทำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 4 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วขวา และลากตาเหลือบ ลงมาที่แก้มซ้าย ทำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 5 กลอกลูกตาหมุนไปเป็นวงกลมซ้าย-ขวา ทำข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 6 เป็นการเพ่งลูกตาเพื่อบริหารกล้ามเนื้อทั้… 6 มัดพร้อมกัน โดยการนั่งบนเก้าอี้ วัดความยาวประมาณ 70 ซ.ม แล้วทำจุด สัญลักษณ์ จากนั้นค่อยๆเพ่งมองจุดหรือสัญลักษณ์นั้นห… กะพริบตา จนรู้สึกแสบตา น้ำตาเอ่อออกมาจึงค่อยกะพริบตา ทำหลายๆครั้ง จะรู้สึกว่าสายตามองชัดเจนขึ้น

ท่าที่ 7 หลับตาทั้งสองข้าง เอานิ้วชี้ทั้งสองข้างวางเหนือคิ้วแต่ละ ข้าง แล้วค่อยๆกดนวดคิ้วและรอบดวงตา เพื่อเป็นการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อที่อยู่รอบนอกของตา


Thanks : Joey07

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

What is Cluster, HPC , HA ,Virtualization , Cloud Computing ?

What is Cluster, HPC , HA ,Virtualization , Cloud Computing ?
Cluster คืออะไร
Cluster คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่ตั้งค่าให้ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ในทางกายภาพ Cluster จะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน(ตู้ rack เดียวกัน, ห้องเดียวกัน) และเชื่อมต่อกันด้วย ethernet ความเร็วสูง สถาปัตยกรรมโดยทั่วไปของ ระบบคลัสเตอร์ จะประกอบด้วยเครื่อง Frontend ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อรับงานจากผู้ใช้ (User Manangement) จัดการงาน (Job Scheduler) และติดตามสถานะขเองเครื่องลูกในระบบ(Node Management) เพื่อให้การตั้งค่าและดูแลระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีระบบปฏิบัติการณ์เฉพาะสำหรับระบบ Cluster เช่น ROCKS ซึ่งพัฒนาต่อจาก CentOS หรือ Windows Server 2008 HPC ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ Windows Server 2008

Cluster ทำอะไรได้บ้าง
ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นของ Cluster

  1. HPC (High Performance Computing) Cluster - ในงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ต้องใช้เวลาในการคำนวณนาน Cluster สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล สำหรับอัลกอรึทึมที่มีการทำงานแบบขนาน (Parallel Computing) โดยการแบ่งปัญหาออกเป็นชิ้นๆ แล้วนำปัญหาที่ได้จากการแบ่งไปคำนวณยังหน่วยประมวลผลหลายๆ ตัวในเวลาเดียวกัน เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้แก้ปัญหาลงได้
  2. Render Farm - ในการสร้างภาพยนตร์ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกนั้น จะต้องอาศัยพลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ในภาพยนตร์หนึ่งวินาทีประกอบด้วยภาพถึง 30 เฟรม อีกทั้งแต่ละภาพ ยังต้องอาศัยการเรนเดอร์ 3 มิติที่มีการคำนวณซับซ้อน ในการคำนวณ Algorithm ต่าง ๆ เช่น Radiosity, ray tracing, metropolis light transport, ambient occlusion, photon mapping, และ image based lighting เพื่อ ใช้สร้างภาพยนตร์ที่มีความสวยงามสมจริง ในตัวอย่างนี้เราสามารถใช้ Cluster ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง แบ่งงานกันเรนเดอร์เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ลงได้ ช่วยให้นักออกแบบสามารถออกแบบภาพยนตร์ได้สวยงามตามจินตนาการ โดยไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดทางด้านประสิทธิภาพ
  3. Web Server Farm - สำหรับเว็บไซต์นั้น ความมั่นใจว่า เว็บไซต์สามารถเปิดได้ตลอดหรือไม่เป็นเรื่องสำคัญ เจ้าของเว็บไซต์ย่อมต้องการให้เว็บไซต์รองรับผู้ชมได้มากที่สุด และมี Down Time น้อยที่สุด ด้วยเทคโนโลยีคลัสเตอร์ เราสามารถสร้างระบบคงอยู่สูง (High Availability) ที่ให้คอมพิวเตอร์ในระบบมากกว่าหนึ่งเครื่อง เป็น Fail Safe ให้กันและกัน ทำให้สามารถสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีควาความคงอยู่สูงและรองรับผู้เข้าชม ได้มากขึ้นด้วย

Grid คืออะไร ต่างจาก cluster อย่างไร
Grid คือเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นในการรวบรวมทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายขนาด ใหญ่ ให้มาใช้งานร่วมกันได้ ผู้ใช้จะมองเห็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นระบบเดียวหรือระบบเสมือน (Virtual Organization)
ความต่างของ Cluster กับ Grid ในเชิงกายภาพคือ เน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อซึ่งโดยปกติแล้วภายใน Cluster มักจะเชื่อมต่อกันด้วย ethernet ความเร็วสูงภายใน ต่างจากระบบกริด ที่สามารถกระจายกันอยู่ได้ และเชื่อมต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยมีลักษณะในการจัดการที่ต่างกัน


HPC คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง
HPC ย่อมาจาก High Performance Computing บางครั้งเรียกว่า High Productivity Computing มัก ใช้กล่าวถึงในงานคำนวณของแอพลิเคชั่นที่มีความซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ แบบจำลองทางกลศาสตร์ ชีวสารสนเทศ การจำลองสถานการณ์แบบสุ่ม หรือการเรนเดอร์ภาพยนตร์แอนนิเมชั่น งานเหล่านี้ต้องใช้อัลกอรึทึมที่อาศัยพลังการประมวลผลมาก จนเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาไม่สามารถประมวลผลได้ หรือใช้เวลานานเกินกว่าจะยอมรับได้ จึงส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของงานเหล่านี้ ด้วยการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
ในยุคแรกนั้น มีการสร้างระบบ Supercomputer สำหรับงานเฉพาะทางเหล่านี้ ซึ่งมักมีสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลที่ออกแบบมาเฉพาะทาง จึงมักมีข้อจำกัดในเรื่องของงานที่สนับสนุนที่ใใช้ในวงแคบเท่านั้น อีกทั้งยังมีระบบยังมีราคาสูงด้วย ปัจจุบันมีทางเลือกของระบบ HPC มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ การสร้างระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูงจากคอมพิวเตอร์ธรรมดาหลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันหรือที่เรียกว่า Cluster ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงในราคาที่สมเหตุสมผล

HA (High Availability) คืออะไร
High Availability คือระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความคงอยู่สูง โดยมีการสนับสนุนการทำงานแทนกันเมื่อระบบใดระบบหนึ่งผิดพลาด จะมีอีกระบบที่เตรียมพร้อมอยู่แล้วทำงานแทน
ในงานระบบข้อมูลที่ต้องการความมั่นคงสูง อย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูลที่สำคัญมากๆ อย่างเช่น การเงินการธนาคาร หรือระบบสาธารณูปโภค หากเกิดความผิดพลาดจะเกิดผลกระทบที่เสียหายต่อผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความมั่นคงของระบบให้มากที่สุด โดยจะใช้หน่วย Uptime ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นของเวลาที่ระบบให้บริการได้ อย่างเช่น 99.999% หมายถึงว่า ระบบนี้หยุดทำงานรวมไม่เกิน 5 นาทีต่อหนึ่งปี
เพื่อให้ระบบมี Uptime สูงสุด เราสามารถใช้เทคโนโลยีคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่ม Uptime ของระบบได้ โดยการสร้างคลัสเตอร์ที่มีมากกว่าหนึ่งเครื่อง และตั้งค่าแบบ High Availability เพื่อคอมพิวเตอร์ในระบบทำงานแทนกัน ในกรณีที่เครื่องใดเครื่องหนึ่งผิดพลาดขึ้น ระบบโดยรวมจะยังคงทำงานได้ด้วยการทำงานของอีกเครื่อง

Virtualization คืออะไร
การจำลองเครื่องเสมือนด้วยซอฟต์แวร์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง สามารถทำงานเป็นเครื่องเสมือนหลายๆ ระบบได้ โดยแต่ละรบบมีทรัพยากรหน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเสมือนที่เป็นอิสระต่อกัน เครื่องเสมือนแต่ละเครื่องจึงสามารถมีระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์เป็นของตน เองโดยอิสระ

Virtualization มีประโยชน์อะไรบ้าง
ประโยชน์ที่สำคัญของ Virtualization คือ การลดจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ พิจารณา จากหลายๆ เซิร์ฟเวอร์ขององค์กร ที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จริงหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งเซอร์วิส ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริงนั้น เซิฟเวอร์แต่ละเครื่องยังไม่ได้ถูกใช้อย่างเต็มที่ ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรในการจัดซื้อและดูแลรักษา อย่างเปล่าประโยชน์
Virtualization สามารถลดจำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่จะต้องใช้ได้ โดยการรวมศูนย์การทำงานของระบบ (Server Consolidation) ด้วยการติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์แต่ละระบบขององค์กรด้วยเครื่องเสมือน (Virtual Machine) เครื่องหลักหนึ่งเครื่องจะสามารถบริการเครื่องเสมือนได้หลายเครื่อง เป็นการใช้ทรัพยากรระบบอย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการดูแลระบบทั้งด้วย
นอกจากนี้ Virtualization ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้อีกหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น

  1. การทำ Migration เพื่อย้ายการทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปยังอีกเครื่องได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลด Downtime จากเวลาที่ใช้ในการติดตั้งใหม่ และแก้ปัญหาความไม่เข้ากันของฮาร์ดแวร์ได้
  2. ระบบ virtual desktop สำหรับพนักงานในองค์กร แทนที่เครื่องสำนักงานด้วย virtual machine อำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลข้อมูลขององค์กร
  3. ทดสอบแอพพลิเคชั่น ในหลายๆ สภาพแวดล้อมการทำงาน โดยใช้ Virtual Machine เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Linux
Cloud Computing คืออะไร
Cloud Computing หรือ ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ คือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ
cloud_computing_faqs



ระบบจะประกอบไปด้วยกลุ่มเมฆของเซอร์ฟเวอร์ (cloud server) ซึ่งเป็นเซอร์ฟเวอร์จำนวนมหาศาลนับหมื่นเครื่องที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน กลุ่มเมฆนี้ต่อเชื่อมเข้าหากันด้วยเครือข่ายเป็นระบบกริด ในระบบนี้จะใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ช่วลไลเซชั่นในการทำงานเพื่อให้โปรแกรม ประยุกต์ขึ้นกับระบบน้อยที่สุด สำหรับโครงสร้างของระบบจะมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ( User interaction interface) ที่รับคำขอบริการจากผู้ใช้ในรูปแบบเวบ ในมุมมองของผู้ใช้ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะหายไปเหลือเพียงบริการหรือ เซอร์วิสเท่านั้น ซึ่งโมเดลหลักตอนนี้จะมีสองแนวทางด้วยกัน โมเดลแรก คือ SaaS (Software As A Services) ซึ่งบริการทุกอย่างรวมถึง User Interface ทำจากระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆหมด ตัวอย่างเช่น กูเกิ้ลsearch, กูเกิ้ลapp เป็นต้น ข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้ระบบโดยไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ใดๆ นอกจากเวบบราวเซอร์ และยังง่ายต่อการพัฒนาใน Mobile Device แต่อาจต้องการเครือข่ายที่เร็วและเสถียร ส่วนอีกโมเดลหนึ่ง คือ Software+Services ของไมโครซอฟต์ซึ่งต้องลงซอฟต์แวร์บนเครื่องของผู้ใช้ แต่การประมวลผลขนาดใหญ่หรือขีดความสามารถเพิ่มเติมจะทำจาก กลุ่มเมฆแทน ข้อดีคือ การทำงานจะตอบสนองได้ดีกว่าและสามารถประมวลผลเองได้บางส่วนโดยไม่ต้องมี เครือข่าย อย่างไรก็ตามผู้ใช้ต้องบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่ลงไว้ทำให้เกิดความซับซ้อน มากกว่าในส่วนนี้

Thanks : inox.co.th

Linux Cluster style

Linux Cluster style

1. High Availability or Fail-Over Cluster

2. Load balancing Cluster


1. High Availibility (HA) or Fail-Over Cluster

เป็นการทำงานในส่วนของการทำ fail over คือ เมื่อ server ตัวหลักเกิด down ขึ้นมา ตัวรองจะขึ้นมาทำงานแทน ถ้าดูจากรูปก็คือตัว linux director สมมติ server ซ้ายตัวกลางคือ server A ,server ทางขวาตัวกลางคือ server B และ real server( server ข้างล่าง) คือ server ที่ให้บริการในส่วนของ service ต่างๆที่ไม่ต้องการ downtime จากนั้นก็ config ค่าการทำงานใน server A และ B ให้ทั้งสองทำงานแบบ HA คือให้ server A เป็นตัวหลัก server B เป็นตัวรอง ซึ่ง server ทั้งสองตัวจะมีไอพีกลางหนึ่งไอพี เพื่อใช้เป็นตัวกลางระหว่าง server A และ server B



จากรูปเป็นการให้บริการในส่วนของ web server โดยมี virtual ip (ไอพีกลาง) 192.168.1.1/24 คือไอพีที่ server A ซึ่งเป็น server ตัวหลักเป็นใช้งานอยู่ และเปิดการใช้งานในส่วนของ service web server

ส่วน server B ซึ่งเป็น server รองก็ค่อยทำการตรวจสอบว่า server A down หรือไม่ ถ้าserver A down ก็จะทำการ take resource เป็น server หลักและใช้ไอพี 192.168.1.1/24 แทนและเปิดบริการในส่วน service web server ด้วย

ต่อมาถ้า server A up ขึ้นมา สามารถเซ็ตว่าให้ up ขึ้นมาเป็น server หลักหรือไม่ หรือว่าให้รอจนกว่า server B จะ down ลงไปแล้วจึงขึ้นเป็น server หลัก

การนำมาใช้งานเช่นทำ MySQL Server แบบ Fail-Over (เนื่องจาก MySQL ไม่สนับสนุนการใช้งานแบบ SAN/NAS ถ้าต้องการใช้งานแบบ Cluster เต็มรูปแบบ แนะนำ MySQL Cluster ครับ)

Software: RedHat Cluster Suite, Linux High Availability


2. Load balancing Cluster

เป็นการทำงานแบบช่วยกันทำและยังไม่ขึ้นกับ platform ของ server ด้วยเพราะว่าเราจะใช้ linux cluster เป็นตัวจัดการ



server หลักจะมี 4 ไอพี คือ

  • ไอพีของ interface 2 ip
  • ไอพี virtual 2 ip


หลักการ (เหมือน fail over) คือ จะมี server หลัก สมมติเป็น server A นะ จะมีไอพี 192.168.1.1 ,192.168.1.2 ,10.1.1.2 ,10.1.1.1 และจะเปิด port ที่ real server ให้บริการ เพื่อที่จะ forward ไปให้ real server ( ซึ่งอาจมี server ที่ให้บริการ service เดียวกันอยู่มากกว่าหนึ่งตัว ตัวอย่างเช่น มี web server อยู่สองตัวและมีคนเข้ามาใช้งานประมาณ 10 connection server A ก็จะ forword ไปให้ real server ที่ให้บริการ web server ให้มี connection อย่างละ 5 connection/server ( ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าด้วย ) ) ส่วน server B ก็จะคอยตรวจสอบว่า server A down หรือไม่ ถ้า down ก็จะ take มาเป็น server หลักแทน

การนำมาใช้งาน เช่่น ทำ Web Server ที่มีการใช้งานสูง (เครื่องเดียวไม่เพียงพอต่อการใช้งาน)

Software: RedHat Cluster Suite, Linux Virtual Server

Thanks : Ezylinux

Introduction to Windows HPC Server 2008

Windows HPC Server 2008 (รุ่นก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า Windows Compute Cluster Server 2003) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (high performance computing หรือตัวย่อ HPC) เป้าหมายคือใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในรูปแบบต่างๆ เช่น คลัสเตอร์ กริด เซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม

ผู้ใช้ส่วนมากของ Windows HPC Server คือกลุ่มที่ต้องการพลังประมวลผลสูง เช่น การทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ การคำนวณทางวิศวกรรม การจำลองโมเดลของเครื่องบินหรือรถแข่ง ภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ การเข้ารหัสวิดีโอความละเอียดสูง และเกมออนไลน์ เป็นต้น

Windows Logo

จุดขายของ Windows HPC Server เหนือระบบปฏิบัติการคู่แข่งอื่นๆ อย่างลินุกซ์ อยู่ที่อินเทอร์เฟซของ Windows ที่ใช้งานได้ง่ายและเป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้ นอกจากนี้ Windows HPC Server 2008 ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ดังต่อไปนี้

Figure 1: shows a Window Server 2008 Interface

  • พัฒนาขึ้นโดยอิงอยู่บนเทคโนโลยีแบบ 64 บิตของ Windows Server 2008 จึงมีฟีเจอร์สำหรับงานด้านเซิร์ฟเวอร์มากเท่ากับ Windows Server 2008 มี
  • สนับสนุนมาตรฐาน Message Passing Interface v2 สำหรับการประมวลผลแบบขนาน
  • System Health Reporting โปรแกรมรายงานสถานะของเครื่องลูกในระบบ โดยแสดงความสมบูรณ์ของเครื่องลูกแต่ละเครื่องด้วยสี (heatmap) เพื่อให้แยกแยะเครื่องที่ผิดปกติได้ง่าย ระบบรายงานสถานะนี้พัฒนาขึ้นโดยใช้เฟรมเวิร์ค System Center UI ของไมโครซอฟท์

Figure 2: shows a Health Reporting with Heatmap
  • dvanced Scheduling Options ตัวจัดการคิวงานหรือ job scheduler ที่มีความสามารถสูง และปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่น
  • Network and High-Speed Interconnects โปรแกรมตรวจสอบสถานะของเครือข่าย ช่วยค้นหาจุดผิดพลาดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของระบบให้ดียิ่งขึ้น
  • NetworkDirect ระบบเชื่อมต่อเครือข่ายแบบใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในรุ่นนี้ พัฒนาให้มีประสิทธิภาพด้านเครือข่ายดีขึ้นมาก

WINDOWS HPC SERVER 2008 ARCHITECTURE
The Windows HPC Server 2008 architecture is shown in Figure 3.

The Windows HPC Server 2008 head node:
• Controls and mediates all access to the cluster resources.
• Is the single point of management, deployment, and job scheduling for the cluster.
• Can failover to a backup head node in the case of failure.

Windows HPC Server 2008 uses the existing corporate infrastructure and Microsoft Active Directory ® for:

• Security
• Account management
• Operations management using tools such as SystemsCenter Operations Manager 2007.


Figure 3: Windows HPC Server 2008 architecture.

INTERACTIVE SESSIONS THROUGH THE WCF
Figure 4 shows an interactive session through the WCF, which includes the
following steps:
1. Clients create a session by specifying the WCF service used to perform the calculation.
2. The job scheduler assigns a broker and launches a service instance pool on multiple nodes.
3. Client connects to the broker and the job scheduler provides the End Point Reference (EPR) of the broker to the client.
4. Client connects to the EPR.
5. Standard WCF request/response messages occur.




Figure 4 shows an interactive session through the WCF

ฮาร์ดแวร์ที่ต้องการ

  • ซีพียูแบบ 64 บิตที่สนับสนุนสถาปัตยกรรม x64 (หรืออีกชื่อคือ EM64T) ได้แก่ AMD Opteron, AMD Athlon 64, AMD Phenom, Intel Core 2 Duo, Intel Xeon และ Intel Pentium รุ่นที่มี EM64T
  • หน่วยความจำขั้นต่ำ 512MB
  • Windows HPC Server รองรับซีพียูสูงสุด 4 ตัวต่อเครื่อง
  • เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ขั้นต่ำ 50GB

ซอฟต์แวร์ที่ต้องการ

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบประมวลผลของ Windows HPC ต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการ

  • Windows Server 2008 Standard รุ่น 64 บิต หรือ
  • Windows Server 2008 Enterprise x64 Edition

ส่วนของ Job Scheduler นั้นต้องการ

  • Microsoft SQL Server 2005 หรือ
  • Microsoft SQL Server 2008 หรือ
  • Microsoft SQL Express ที่มากับ HPC Pack 2008 (แต่จะใช้ความสามารถ head node failover clustering ไม่ได้)

ผู้ที่สนใจทดสอบ Windows HPC Server 2008 สามารถดาวน์โหลดตัวซอฟต์แวร์มาทดลองใช้ได้ฟรีเป็นเวลา 180 วัน

หน้าดาวน์โหลด (พร้อม key ของตัวโปรแกรม) อยู่ที่ TechNet โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกภาษาเป็น United States (English)
  2. พบกับหน้าล็อกอิน ให้ใส่ชื่อผู้ใช้-รหัสผ่าน ของ Windows Live Passport (อันเดียวกับ Hotmail หรือ MSN)
  3. กรอกข้อมูลผู้ดาวน์โหลด โดยกรอกเฉพาะช่องที่มีเครื่องหมายดอกจัน (*)
  4. พบกับหน้า Download Center ให้คลิกที่ปุ่ม Continue
  5. ในขั้นนี้สามารถเลือกลงทะเบียนหรือไม่ต้องก็ได้
  6. หน้าถัดไปที่เขียนว่า Download details สามารถสั่งดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่างของหน้านี้

ไฟล์ที่จำเป็นในการดาวน์โหลดมี 2 ไฟล์ ได้แก่

  • SRVHPC_EN.iso (ขนาด 2134.9 MB)
  • HPCEval.iso (ขนาด 486.8 MB)

สำหรับสเปกเครื่องที่ต้องการสำหรับ head and compute nodes for Windows HPC Server 2008

  • x64-based version of Windows Server 2008 Standard operating system

  • Windows Server 2008 Enterprise x64 Edition

The Job Scheduler uses SQL Server as its repository. An existing SQL Server 2005 or SQL Server 2008 installation can be used, or the HPC Pack 2008 installer will install SQL Express. SQL Server Standard Edition or Enterprise Edition is required for head node failover clustering.

The Administration Console and job scheduling user console components are automatically installed on the head node of the compute cluster. These components can also be installed on other computers allowing either remote management of the cluster or job submission from client computers. The supported operating systems for installation of the remote components are:
  • Windows Server 2003 Service Pack 2 (SP2) or Release 2 (R2) (32-bit or x64 versions)

  • Windows Server 2008 (32-bit or x64 versions)

  • Windows® XP Professional SP3

  • Windows XP Professional, x64 Edition SP2

  • Windows Vista® Business, Enterprise, and Ultimate Editions SP1

เอกสารอ่านประกอบ


Thanks : ภาพสวยๆ จาก nor-tech.com และ ข้อมูลต่างๆ จาก winhpcthai.net

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Microsoft Cluster Server ( MSCS )

Microsoft Cluster Server ( MSCS )

MSCS คือโปรแกรม ที่ออกแบบมาใช้ในการทำงานของเครื่อง server ในการใช้งานร่วมกันเพื่อทำงานในลักษณะของการประมวลผลร่วมกัน , การทำ failover เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ( High availability ) , การประมวลผลแบบขนานของ High-performance computing ( HPC )

Microsoft มี 3 เทคโนโลยี ที่ใช้สำหรับการทำ Clustering
1. Microsoft Cluster Service ( MSCS )
2. Component Load Balancing ( CLB )
3. Network Load Balancing Services ( NLB )
โดยที่ ใน window Server 2008 จะเป็นที่รู้จักในชื่อของ Failover Clustering

สำหรับ Cluster Server นั้นจะถูกใช้ชื่อว่า "Wolfpack" ในการพัฒนา โดยเริ่มต้นนำไปเป็นส่วนหนึ่งของ Window NT Server จากนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาเรื่อยมายัง Window 2000 , Window Server 2003 , Window Server 2008 และต่อมาก็กลายมาเป็น HPC Server

Thanks : Wiki


คราวนี้มาดูกันว่า MS แต่ละยุค มีลักษณะอย่างไรกันบ้างเริ่มด้วย

MS Window 2000 Advance Edition ทำได้แค่ 2 node

MS Window 2003 Standard Edition ทำได้ 4 node ( ถ้าจำไม่ผิด )

MS Window 2003 Enterprise Edition ทำได้ 8 node ( ถ้าจำไม่ผิด )




Microsoft แบ่ง Cluster เป็น 2 แบบเช่นเดียวกับ Linux คือ

1. High Availability ( HA ) หรือ Fail-Over รูปแบบก็คือ เมื่อเครื่องแรกตายลง เครื่องสำรองก็ทำงานแทน โดยการทำงานนี้ต้องให้ซอฟแวร์ที่ทำงานสนับสนุนด้วย เนื่องจากเมื่อเครื่องแรกตายจะมีการย้าย process ที่เครื่องแรกทำงานอยู่มาทำงานที่เครื่องสอง และทำงานต่อไปได้ ซอฟแวร์ที่สนับสนุนเช่น Database : MSSQLServer 2000,2005 Enterprise, Oralce FailSafe, DB2, etc.. Mail : MSExchange 2000,2003 Enterprise, etc.. เป็นต้น


2. Load balanding ส่วนใหญ่จะเอามาใช้กับพวก Server Farm เป็นลักษณะการแบ่งภาระงานและการช่วยกันทำงาน ส่วนใหญ่จะใช้กับ Web Server และ Database

Client : ก็เครื่องที่ end-user ใช้

Server : เครื่องที่ใช้ทำ Cluster มี OS เป็น Window Server 2003 , Window HPC Server

Storage : ในที่นี้ใช้ Fibre เป็นตัวเชื่อม Storage กับ Server


ช่วงนี้เป็นช่วงอธิบายคำศัพท์

  1. Public Network : Network ที่ใช้กันทั่วไปโดยสามารถติดต่อกันได้
  2. Private Network : Network ที่ใช้กันภายในเฉพาะวง Server เท่านั้น
  3. Host Bus Adapter : PCI-Card ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงเป็นข้อมูล เชื่อมต่อระหว่าง server กับ storage device ( มองเป็น การ์ด Lan )
  4. Fibre Channel Switch : ก็ลักษณะเหมือนกับ LAN Switch
  5. Controller : เป็นส่วนควบคุมการทำงานของ Storage โดย Storage ตัวนึงจะมี controller 2 ใบ
  6. LUN: พื้นที่ที่ได้จากการจัดสรรของ Controller โดยพื้นที่เหล่านี้ได้มาจาก HardDisk ทั้งหลายที่ผ่านการทำ RAID เรียบร้อยแล้ว
  7. SAN: อันนี้แถม Storage Area Network ที่เก็บข้อมูลนั่นแหล่ะ

ใน MSCS นั้นจะเป็นลักษณะของการสร้าง Cluster โดยอาศัย Active Directory ซึ่งถือว่าเป็น key หลักของ Microsoft Server เลยทีเดียว ดังนั้นการจะทำ MSCS ได้ต้องมี Active Directory ก่อนจึงจะทำ MSCS ได้ จากนั้น MSCS จะสร้าง Virtual Server ขึ้นมาตัวนึง โดย Virtual Server ตัวนี้จะมี IP-Address และ Computer Name เหมือนเครื่องทั่วไป ซึ่งสามารถ ping หาที่อยู่ได้จาก ip-address ที่กำหนด ซึ่งในกรณีนี้ Virtual Server จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Client โดยให้ Client ชี้ Path ที่จะเชื่อมต่อมายัง Virtual Server นี้

องค์ประกอบของ MSCS สำคัญๆ คือ


- HeartBeat เอาไว้ให้ Cluster คอยตรวจสอบว่า มีเครื่องไหน เป็น หรือ ตาย

- Qumrum Disk เป็นพื้นที่ใช้ในการเก็บ process ของ cluster เพื่อที่จะให้เครื่องที่จะทำงานใช้งานต่อไป

- Cluster Service ไว้ทำ Cluster นี้แหละ


Credit: Ezy || promsook.com

LVS หรือ Linux Virtual Sever อีกทางเลือกหนึ่ง

คงมีหลายท่านที่กำลังมองหา Solution ในการใช้งาน Clustering เพื่อเพิ่มความคงอยู่ได้(high availability ) ของระบบ และการทำ Load Balancing เพื่อกระจายสมดุลภาระงานแก่ระบบ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ google และ คุณวิบูลย์ วราสิทธิชัย เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์คอมฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ให้การสนับสนุนข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ

มาเข้าเรื่องกันเลย วันนี้ขอนำเสนอ LVS หรือ Linux Virtual Sever เป็นโครงการที่ทำการศึกษาการสร้างระบบบริการเสมือน (Virtual Server System) ให้สามารถทำงานทางด้านการกระจายภาระและมีความคงทนสูงสำหรับใช้ในเทคโนโลยี คลัสเตอริ่ง (Clustering Technology) เพื่อให้เป็นเครื่องบริการที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์

โครงการ LVS พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อ
• กระจายสมดุลภาระระดับไอพี (IP Load Balancing Software, IPVS)
• การกระจายภาระตามระดับของแอพลิเคชัน (Application-Level Load Balancing Software, KTCPVS)
• การจัดการคลัสเตอร์

ในที่นี้จะขอกล่างถึง IPVS ซึ่งมีคุณสมบัติกระจายสมดุลภาระระดับไอพี ซึ่งมีหลักการทำงานดังรูป






เมื่อ มองระบบคลัสเตอร์นี้ทั้งระบบ จะเสมือนว่าไคลเอนต์ได้ทำการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว จึงเรียกระบบนี้ว่า “เซิร์ฟเวอร์เสมือน" (Virtual Server)

โดยมีคุณลักษณะดังนี้
  • ทำงานเป็นเลเยอร์ 4 สวิตชิ่ง (Layer 4 Switching) ที่รองรับโปรโตคอล ทีซีพี (TCP) และยูดีพี (UDP)
  • สามารถกระจายภาระไปยังเรียลเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้
  • จะ มีเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องทำหน้าที่รับการร้องขอบริการที่เข้ามาทางหมายเลข ไอพีเสมือน (Virtual IP) จากนั้นจะทำการกระจายสมดุลภาระไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ
  • เรียกเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการกระจายภาระนี้ว่า "ไดเรกเตอร์เซิร์ฟเวอร์"(Director Server) หรือลินุกซ์ไดเรกเตอร์ (Linux Director)
  • เรียกเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการนี้ว่า "เรียลเซิร์ฟเวอร์" (Real Server)

มีรูปแบบการเชื่อมต่ออยู่สามแบบ คือ

1. IPVS via Network Address Translation (IPVS/NAT)



  • ลินุกซ์ไดเรกเตอร์และเรียลเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ที่อยู่ภายในระบบคลัสเตอร์จะทำการเชื่อมต่อกันโดยสวิตช์ (Switch) หรือฮับ (Hub)
  • ใช้เทคนิคเปลี่ยนหมายเลขไอพีและหมายเลขพอร์ตเป็นของเซิร์ฟเวอร์ที่ได้เลือกไว้
  • เซิร์ฟเวอร์ส่งผลลัพธ์กลับไปยังลินุกซ์ไดเรกเตอร์

2. IPVS via Direct Routing (IPVS/DR)



  • ใช้เทคนิคเปลี่ยนฮาร์ดแวร์แอดเดรส(MAC Address) ในเดตาเฟรม (DataFrame) ให้เป็นของเซิร์ฟเวอร์ในคลัสเตอร์ที่ได้เลือกไว้
  • เพิ่มลูปแบ็คอินเทอร์เฟส lo:0 มีหมายเลขไอพีเสมือนที่เซิร์ฟเวอร์ทุกเครื่องในคลัสเตอร์
  • เซิร์ฟเวอร์ส่งผลลัพธ์กลับไปยังไคลเอนต์โดยตรง

3. IPVS via IP Tunneling (IPVS/TUN)




  • ใช้เทคนิคที่ทำการห่อหุ้มไอพีเดตาแกรม(IP Datagram Encapsulate) ภายในไอพีเดตาแกรมอีกทีหนึ่ง
  • เพิ่มอินเตอร์เฟสแบบ Tunnel คือ tunl0 มีหมายเลขไอพีเสมือนที่เซิร์ฟเวอร์ทุกเครื่องในคลัสเตอร์
  • เซิร์ฟเวอร์ส่งผลลัพธ์กลับไปยังไคลเอนต์โดยตรง

ส่วนรูปแบบของ Scheduling Algorithms มีดังต่อไปนี้
  1. Round - Robin (rr)
  2. Least - Connection (lc)
  3. Weighted Least - Connection (wlc)
  4. Destination Hashing (dh)
  5. Source Hashing (sh)
  6. และอื่นๆ

รู้สึกว่าหากลงไปลึกคงจมแน่ๆ ( เมา ) วันนี้ขอพักไว้แค่นี้ก่อน ยังมีการทำงานของ Heartbeat อีกส่วนหนึ่ง
สำหรับข้อมูลในการ ติดตั้งใช้งาน ลองศึกษาจาก เอกสาร นี้
และลองมาดูการประยุกต์ใช้งานของคุณ pphetra : ทำความรู้จัก LVS

IDS and IPS ..... ?

IDS และ IPS คืออะไร


คิดว่าหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำๆ นี้กันใช่ไหมครับ Intrusion Detection System (IDS) และ Intrusion Prevention System (IPS) หรือจะเรียกว่าระบบการตรวจสอบและป้องกันการบุกรุกก็ว่าได้นะครับซึ่งโดยปกติ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันครับคือ Host-Based และ Network Based System?

  • Host-Based:?ก็คือระบบการ ตรวจสอบการบุกรุกที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องยังไงหละครับ โดยหลักการแล้วก็จะมี program เล็กๆ หรือที่เค้าเรียกว่า agent เป็นตัวที่คอยตรวจสอบและเฝ้ามองข้อมูลต่างๆ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกบนตัวคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง agent ตัวดังกล่าวนี้
  • Network-Based System:? ก็จะเป็นอีกระบบที่ใหญ่ขึ้นมาจากระบบ Host-Based นั่นเอง เพราะจะมีการวางอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ใช้คอยตรวจสอบ package ที่วิ่งอยู่บนระบบเครือข่ายและประมวลผล package ต่อ package กันไปเลยก็ว่าได้ โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะถูกวางไว้ในจุดที่ต้องการทำการตรวจสอบโดยอาจจะเชื่อม ต่อเข้าไปยัง hub หรือ switch ซึ่งอาจจำเป็นที่จะต้องเปิดฟังก์ชั่น Port mirroring หรือ Network tap

วิธีการในการตรวจสอบการบุกรุกอาจสามารถที่จะแบ่งได้ออกเป็น 2 วิธีการได้แก่ Misuse Based Detection และ Anomaly Based Detection

  1. Misuse Based Detection
    • เป็นระบบการตรวจสอบโดยการใช้?signature ของข้อมูลจึงเป็นที่มาของอีกชือหนึ่งนั่นคือ signature based หรือ knowledge based detection
    • โดย ปกติแล้ว การตรวจสอบด้วยระบบนี้จะสามารถตรวจสอบได้เฉพาะการโจมตีที่ทราบอยู่แล้วใน ระบบฐานข้อมูล โดยการเซ็ตกฎหรือตัวกรองในระบบตรวจสอบ หากเป็นการโจมตีหรือสิ่งแปลกปลอมใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากระบบฐานข้อมูลการโจมตีแล้ว ระบบ misuse นี้จะตรวจจับไม่ได้
    • ระบบ Misuse Based นี้โดยทั่วไปแล้วจะทำงานคล้ายกับระบบของโปรแกรมป้องกันไวรัสซึ่งทำการเปรียบ เทียบ signature ของข้อมูลที่วิ่งไปมาในระบบกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่แล้วซึ่งหากว่า เหมือนกับในฐานข้อมูลก็แสดงว่าข้อมูลดังกล่าวอาจจะเป็นการบุกรุกหรือประสงค์ ร้ายนั่นเอง ซึ่งอาจจะมีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถตรวจสอบได้หากวิธีในการบุกรุกนั้นเป็น วิธีใหม่ๆ
  2. Anomaly Based Detection
    • การ ทำงานของระบบนี้จะเป็นการตรวจสอบ pattern ของข้อมูลหรือจะเรียกว่าพฤติกรรมต่างของข้อมูลที่วิ่งอยู่ในระบบเพื่อเรียน รู้ว่าอะไรคือสิ่งปกติและผิดปกติภายในระบบโดยที่ระบบจะมีกระบวนการเรียนรู้ ด้วยตัวเอง เหมือนดังเช่นกับระบบ spam filter
    • โดยปกติ แล้วระบบนี้จะถูกตั้งค่าโดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายโดยที่ผู้ดูแลอาจจะกำหนด เส้นแบ่งว่าพฤติกรรมไหนถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติโดยอาจจะพิจรณาจาก traffic, พฤติกรรม, protocol หรือขนาดของข้อมูลเป็นต้น ดังนั้นจะทราบได้ทันทีว่าพฤติกรรมไหนเป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายการโจมตีระบบ นั่นเอง
    • เนื่องจากระบบ Anomaly Based นั้นสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นระบบดังกล่าวนี้ก็จะสามารถเรียนรู้วิธีหรือพฤติกรรมใหม่ๆ ที่ใช้ในการโจมตีระบบได้นั่นเองแต่ก็อาจจะทำงานผิดผลาดได้นั่นหมายถึงไม่มี การส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีการโจมตีเพราะเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติในระบบ เครือข่าย

ดังนั้นในปัจจุบันนี้ ระบบ IDS ที่ขายตามท้องตลาดจึงได้ผนวกวิธีการทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อเสริมความแข็งแกร่งนั่นเอง

ส่วนไอ้เจ้า IPS ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า IDS ซักเท่าไหร่หรอกครับ ให้คิดง่ายๆ นะครับว่า IDS คือระบบตรวจสอบส่วน IPS คือระบบตรวจสอบและป้องกันนั่นเองครับ ก็คือเมื่อรู้แล้วว่านี้คือการโจมตีหรือการมุ่งร้ายก็จะตัดการทำงานหรือการ เชื่อมต่อโดยทันทีนั่นเองครับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว IPS ก็คือ Firewall + IDS System นั่นแหละครับ ไม่ต้องคิดมาก


Thanks : EasyZone

Grid Technology of Thailand

เทคโนโลยีกริด ( Grid Technology ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อ ทรัพยากรคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เข้าด้วยทรัพยากรคอมพิวเตอร์เหล่านี้ อาจจะเป็นหน่วยประมวลผลเนื้อที่จัดเก็บข้อมูลหรือฐานข้อมูล เป็นต้น โดยทรัพยากรเหล่านี้ อาจตั้งอยู่ในสถานที่ที่ใกล้กัน หรือห่างกันข้ามทวีปก็ได้ การเชื่อมต่อทรัพยากรทั้งหลาย เข้าเป็นหน่วยเดียวกันนี้นำไปสู่การแบ่งปันทรัพยากรขนาดใหญ่ และการร่วมมือกันระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมที่อยู่คนละสถานที่คนละองค์กร ทำให้บางองค์กรเรียกเทคโนโลยีนี้ว่าการประมวลผล ตามความต้องการ ( On-demand Computing ) อีกด้วย

ในต่างประเทศมีการนำหลักการของ Grid Computing มาใช้ในการแกะเข้ารหัส DES ด้วยวิธีการ Brute Force Attack นอกจากนี้ยัง มีนักวิจัย ด้าน Bio-Informatics ในมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ทั่วประเทศ สามารถ สร้างกลุ่มวิจัยที่ เน้นด้านนี้และใช้งานคอมพิวเตอร์ Database ต่างๆ ร่วมกันได้ ซึ่งเทคโนโลยีระบบกริด จะเป็นรากฐานสำคัญ ในการสรา้างองค์กรเสมือนโครงการ World Community Grid ของบริษัท IBM เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำ เทคโนโลยีกริด เข้ามาเป็นโครงข่ายเพื่อเชื่อมต่อและดึงความสามารถ ในการคำนวณของเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งเป็นส่วนที่ว่างจากการใช้งาน ( Idle Capacity) ขณะที่เชื่อมต่อ กับอินเทอร์เน็ต โดยการบริจาคมากจาก บุคคล ทั่วไป และ Partners ของโครงการทั่วโลก

ในระดับโลกเทคโนโลยีกริดถูกนำมาใช้ในหลายสาขาสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มอุตสาหกรรม ( Manufacturing ) เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ Simulation ของเครื่องยนต์ เครื่องบิน เพื่อใช้ในการออกแบบทดสอบ การกระแทกของรถยนต์ ให้มีความปลอดภัยสูงที่สุด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีกริดสำหรับการออกแบบนี้ได้แก่ บริษัท LandRover บริษัท Audi เป็นต้น
  2. กลุ่มพัฒนางานวิจัย ( Research Development ) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก เช่น การวิเคราะห์ตัวยา
  3. กลุ่มการเงินการธนาคาร ( Finanicial ) เทคโนโลยีกริดสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การประเมินความเสี่ยงซึ่งในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีจำนวนมาก และใช้เวลาในการวิเคราะห์ที่นาน

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีกริดมาใช้จึงทำให้ลดระยะเวลาในการวิเคราะห์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น บริษัทที่ใช้ เทคโนโลยี ชนิดนี้ ได้แก่ บริษัท Telco จำกัด อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในภาพรวม จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีกริด สามารถนำไปใช้ได้ในเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะกลุ่มสาขาวิชาที่สำคัญ 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ LifeScience , Digita Media / Animation , Enterprise Computing , ComputerScience , Education ในประเทศไทยเทคโนโลยีกริดเริ่มเข้ามามีบทบาท เมื่อประมาณ พ.ศ. 2545 นักวิทยาศาสตร์ไทย ภายใต้ความร่วมมือของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย ได้พยายามแก้ปัญหา กำลังการ ประมวลผล ทางด้านเคมี ( Computational Chemistry ) สำหรับการคำนวณ หาพลังงานและคุณสมบัติต่างๆของโมเลกุล ซึ่งพบว่า งานที่ทำในคอมพิวเตอร์ 1 งานต่อหน่วยวิจัย จะใช้เวลา ประมาณ 1 วัน หากมีจำนวนงานมากขึ้น ก็ต้องใช้เวลาในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นานนับสัปดาห์

ดังนั้น จึงได้เกิดแนวคิดในการสร้างคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นเชื่อมต่อเป็นระบบกริด เพื่อให้สามารถ ช่วยงานประมวลผลในรวดเร็ว ยิ่งขึ้นรวมทั้งได้พัฒนาหน้าจอให้ใช้ได้ง่ายขึ้น ( Grid Portal ) สำหรับการเข้าใช้บริการ รันโปรแกรม ทางด้าน เคมี นักวิจัยสามารถส่งสาน ไปมาบนคลัสเตอร์ที่อยู่ในระบบกริด และ สามารถใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่องานวิจัยทางเคมี เพื่อสนับสนุนงานวิจัยในการหายารักษา โรคชนิดใหม่ปัจจุบัน เทคโนโลยีกริดในประเทศไทย สามารถนำไป ประยุกต์ในการประมวลผลได้หลายโครงการ ได้แก่การพยากรณ์ อากาศ ( Disaster Simulation ) การจำลอง ศึกษาปรากฎการณ์ Tsunami ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การคิดค้นยารักษาโรค การศึกษา ด้านนาโนเทคโนโลยี การออกแบบทางวัสดุศาสตร์ ประยุกต์ในงานต่างๆ ด้าน CFD เช่นการออกแบบห้องสะอาดการทำ Animation สำหรับ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ การทำ Collaborative E-learning

ดังนั้นคณะรัฐมนตรี มีมติ เืมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งโครงการ "ศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยี กริดแห่งชาติ" ( National Grid Technology Development Center ) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เสนอ และให้มีระยะเวลา ดำเนิดโครงการฯ 3 ปี ( พ.ศ. 2548-2550) โดยให้งบประมาณสนับสนุนจำนวนในวงเงิน 221,839,941 บาท จากงบกลางรายการค่าใช้จ่าย เพื่อการส่งเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้มอบหมายให้ สำนับงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) ( SIPA ) ดำเนินการจัดตั้ง "ศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ" ( Thai National Grid Center : TNGC ) ขึ้นเมื่อต้นปี 2549

ประโยชน์โดยหลักของ Grid Computing

การแบ่งกันใช้ทรัพยากรทำให้ทรัพยากรทางไอทีถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ Grid สามารถ นำมาประยุกต์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการสื่อสาร เช่น งาน e-Goverment, e-Healthcare สามารถสร้างระบบที่แลกเปลี่ยนเพิ่มข้อมูลอย่ารวดเร็วและปลอดภัยที่เรียก ว่า Data Grid ความสามารถ ที่จะทำให้งานวิจัยยากๆ ที่ต้องอาศัยการประมวลผลสูง งานที่ถ้าต้องทำด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวอาจ จะต้องใช้เวลาเป็นปี จึงจะคำนวณเสร็จ ให้เหลือเวลาในการคำนวณในระดับเป็นวัน เป็นชั่วโมงเท่านั้น สามารถสร้างโอกาส ทางธุรกิจด้านสารสนเทศโดยอาศัย เทคโนโลยี Grid ช่วยขจัดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์หรือช่วยในการเก็บและ วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มากมายมหาศาล

การนำระบบ Grid ไปใช้

ในปัจจุบันได้มีการนำระบบ Grid ไปประยุกต์ใช้กับงานหลายประการได้แก่

  1. บริการประมวลผล (Computational Service) เป็นรูปแบบของการให้บริการพลังการ ประมวลผล โดยรับงานจากผู้ใช้ และหาเครื่องที่เหมาะสมเพื่อประมวลผลงานนั้น ระบบกริด ที่ให้บริการรูปแบบนี้ มักถูกเรียกว่า Computational Grid
  2. บริการ ข้อมูล(Data Service) ให้บริการเนื้อที่ในการเก็บและค้นหาข้อมูลซึ่งข้อมูลเหล่านั้น อาจถูกเก็บกระจายอยู่ ณ สถานที่ต่างๆ และมีผู้ดูแลคนละคนกัน ระบบนี้ยังครอบคลุมถึงการรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลภายในระบบด้วย Application ที่ต้องในรูปแบบการให้บริการนี้ มักจะเป็น Application ที่มีปริมาณและขนาดของข้อมูลมาก และข้อมูลกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ทำให้ยากแก่การเข้าถึงข้อมูล ตัวอย่างเช่น Hight Energy Physics และ Drug Design ระบบที่ให้บริการรูปแบบนี้จะถูกเรียกว่า Data Grid
  3. บริการ โปรแกรมประยุกต์ (Application Service) เป็นระบบที่ทำหน้าที่จัดการและจัดสรร การใช้งาน Application เช่น Software หรือ Library ที่อยู่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในปัจจุบันรูปแบบการให้ บริการมักจะอยู่ในรูปแบบของ Web Service ซึ่งการให้บริการนี้ จะทำงานอยู่บน Computational Service
    และ Data Service ตัวอย่างของระบบนี้ได้แก่ NetSolve
  4. บริการ สารสนเทศ (Information Service) เป็นรูปแบบการดึงและนำเสนอข้อมูลที่ถูกใช้โดย Computational Service Data Service และหรือ Application Service ซึ่งจะเกี่ยวกับ วิธีการนำเสนอ จัดเก็บ เข้าถึง แบ่งปัน และดูแลรักษาข้อมูลภายในระบบ เครื่องมือหลักที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ Web
  5. บริการ องค์ความรู้ (Knowledge Service) จะเกี่ยวข้องกับความรู้ที่ได้จากการทำงาน ประกอบด้วยวิธีการที่จะได้มา การใช้ การนำมาใช้ การประกาศ และการดูแลรักษาความรู้ต่างๆภายใน ระบบเครื่องมือที่นำมาใช้ คือ Data Mining

ตัวอย่าง Application จริงของระบบกริด

Scientific Application

Life Sciences Drug Plant

  • AIST ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยแห่งชาติที่ใหญ่ทึ่สุดของประเทศญี่ปุ่นได้ออกแบบและติด ตั้งระบบกริดเพื่อให้นักวิจัยภายในใช้แก้ปัญหาด้าน Life Sciences และ Nanotechnology ตั้งแต่ปี 2003
  • AFM และ CNRS ร่วมกันติดตั้งระบบกริดเพื่อใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมและวิธีรักษาในโครงการ Decrypthon II ของประเทศฝรั่งเศส
  • IPK หรือ Institute of Plant Genetics and Crop Plant Research เป็นสถาบันวิจัยพืชชั้นนำของประเทศเยอรมันี ได้ติดตั้งระบบกริดเพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพันธุกรรมของพืช จากการใช้ระบบกริดเข้ามาช่วยทำให้สามารถลดเวลาในการเปรียบเทียบดีเอนเอของ ข้าวจำนวน 400,000 ชนิดด้วยเวลาเพียง 30 ชั่วโมงจากเวลาปกติ 200 วัน

Emergency Operation

Event Handling Resource Consumption Decision Support

การรับเหตุฉุกเฉินในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่เป็นระบบ และยังมีความน่าเชื่อถือไม่สูงเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ น้ำท่วม ซึ่งต้องการการตัดสินใจจากผู้บริหารระดับสูง อย่างไรก็ตามผู้บริหารไม่สามารถตัดสินใจได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลมากเพียงพอ ในงาน SC 06 ที่ผ่านมา Argonne National Lab และ University of Chicago ได้ร่วมกันนำเสนอระบบ SPRUCE (Special PRiority and Urgent Computing Environment) ซึ่งสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดนี้ได้โดยการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้แจ้ง เหตุด้วยการใช้โครงสร้างพื้นฐานของระบบความปลอดภัยที่มีในระบบกริด วิธีนี้ทำให้ความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ และมีระบบอายุการใช้งานภายในตัว นอกจากนี้เหตุที่ถูกแจ้งเข้ามาจะกระตุ้นให้ระบบดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่ได้ มานำไปจำลองด้วยระบบกริดเพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์สำหรับส่งให้กับผู้บริหาร ต่อไป

Enterprise Business

Wide-range Interoperability

Grid Ecosystem

ปัญหาที่ท้าทายที่สุดอย่างหนึ่งในโลกธุรกิจคือความยุ่งยากในการเชื่อมต่อ ระบบที่หลากหลายภายในองค์กร เช่น แผนกการตลาดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมเฉพาะที่พัฒนาขึ้นบนไมโครซอฟต์วินโดส์ ในขณะที่ฝ่ายขายเก็บข้อมูลในโปรแกรมเฉพาะอีกตัวหนึ่งซึ่งใช้งานบนลินุกส์ เป็นหลัก การดำเนินงานของทั้งสองฝ่ายอาจะไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายวางแผนต้องการข้อมูลของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนด้วยโปรแกรมเฉพาะอีกตัวหนึ่ง ปัญหานี้ต้องใช้บุคลากรสำหรับจัดเตรียมข้อมูลจากสองแผนกและป้อนให้กับ โปรแกรมของฝ่ายวางแผน ปัญหานี้สามารถแก้ไขหรือทำให้หมดไปด้วยเทคโนโลยีกริด ในงาน SC 06 ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอการทำงานร่วมกันของระบบที่หลากหลาย โดยมีผู้ร่วมนำเสนอดังต่อไปนี้

  • Argone National Lab/Globus Alliance
  • EGEE
  • HP
  • Microsoft
  • Platform Computing
  • UK eScience/OMII-UK

Financial Services

3-Tier

  • Charles Schwab ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินชั้นนำของโลกได้ติดตั้งระบบกริด เพื่อช่วยให้การประเมินความเสี่ยงด้านการเงินของลูกค้าให้ถูกต้องและรวดเร็ว ยิ่งขึ้นด้วยการเชื่อมต่อแบบ SOA
  • Nippon Life Insurance เป็นบริษัทด้านการประกันภัยซึ่งนำเทคโนโลยีกริดไปใช้ในการประเมินความเสี่ยง ด้านการเงินโดยสามารถลดเวลาจาก 10 ชั่วโมงเหลือเพียง 49 นาที หรือเพิ่มความเร็วได้มากถึง 12 เท่า
  • RBC Insurance เป็นบริษัทด้านการประกัยภัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้ เทคโนโลยีกริดเพื่อช่วยลดเวลาในการประมวลผล และสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้น
  • Wachovia ให้บริการด้านการเงินโดยใช้ระบบกริดในการลดเวลาในการวิเคราะห์ความเสี่ยง กำไรขาดทุนจาก 15 ชั่วโมงเหลือเพียงไม่กี่นาที ทำให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้ตามเวลาจริง

Petroleum Industry

Petroleum Grid

Shell ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเลี่ยมชั้นนำของโลกได้ทำเทคโนโลยีกริดเพื่อเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานของสาขาที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

Automotive

Aerospace

EADS หรือ European Aeronautic Defense and Space ได้นำเทคโนโลยีกริดมาใช้เพื่อลดเวลาในการวิเคราะห์และจำลองการทำงานของยาน ยนต์ที่ออกแบบขึ้นก่อนผลิตจริง

Government

Grid Interaction Layer Workflow

  • EPA หรือ Environmental Protection Agency ของประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เทคโนโลยีกริดเพื่อให้บริการการวิจัย in silico ให้แก่สมาชิก
  • รัฐบาล ประเทศไต้หวันได้เชื่อมต่อสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยแห่งชาติด้วยระบบ กริดเพื่อเร่งความเร็วของงานวิจัยทั้งในระดับอุดมศึกษาและสูงกว่า
  • IN2P3 ใช้ระบบกริดเพื่อช่วยให้สามารถวิจัยด้าน Life Science ได้เร็วมากขึ้นและถูกต้องมากขึ้น

Large-Scale Communication

การประชุม SC Desktop

VP UNR NGI

งานประชุม Supercomputing เป็นงานประชุมด้านการคำนวณสมรรถนะสูงที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานหนึ่ง ในงานประชุมนี้จะอนุญาตให้ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมแต่ไม่อยากเดินทางไกลสามารถ ร่วมเข้ารับฟังได้โดยผ่านทาง Access Grid ซึ่งเรียกงานนี้ว่า SC Global หรือ SC Desktop และได้จัดติดต่อกันมา 4 ปีแล้ว


Thanks : ศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

F5 Load Balancing

F5 Load Balancing

NOTE: There is a maximum of 3 Load Balancers per account allowed. Any attempts to add more than three Load Balancers will fail. This is by design.

จำนวน Load Balancers สูงสุดคือ 3 ตัวต่อ 1 Account หากพยายามเพิ่มเข้าไปมากกว่านี้จะทำให้ระบบล้มเหลว เนื่องจากถูกออกแบบได้แค่ 3

Load Balancer Type

Round Robin

Round Robin Load Balancing takes all incoming connections and routes them one at a time, server by server in an equally distributed fashion with each server taking turns. If you have two servers, incoming connections will alternate between the two. If you have 4 servers, connections will be routed to server 1, server 2, server 3 and then server 4 before beginning the cycle again.

Load Balancing แบบ Round Robin จะทำการกระจายงานแบบตามลำดับ คือ Server 1 , Server 2 , Server 3 , Server 4 แล้ววนกลับมายัง Server 1 อีกครั้ง แบบนี้เรื่อยไปเป็นวงกลม

Least Connect

Least Connect Load Balancing will route incoming connections to the server with the lowest load on it. Connections are sent to each server depending on the total number of concurrent sessions on the servers. If you have two servers, the first with 24 sessions running and the second with 12 sessions running, then incoming connections will be routed to server 2 until the ratio of connections changes.

Load Balancing แบบ Least Connect จะทำการกระจายงานโดยดูจากภาระงานของตัว Server โดยที่ Server ตัวใด ทำงานน้อยกว่าจะถูกส่งงานไปยัง Server ตัวนั้น เช่น Server 1 มีภาระงานอยู่ 24 ส่วน Server 2 มีภาระงานอยู่ 12 เมื่อมีการเชื่อมต่อเข้ามาใหม่ Load Balancer จะทำการส่งการเชื่อมต่อนี้ไปยัง Server 2

Load Balancer Persistence

None

None is the default, determining routing only according to Load Balancer Type

SSL Sticky

SSL Sticky will route all traffic for an SSL session to the same destination after the initial connection establishes the session. Note that this persistence only works for SSL traffic and load balancing for other types of traffic will not work when this is set.

Source Address

Source Address persistence will cause all traffic from a given source address to be routed to the same destination host after the initial connection.

Thanks : wiki.gogrid.com

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Hans Christian Ørsted

ฮันส์ คริสเทียน เออร์สเตด เจ้าแห่งไฟฟ้ากระแสตรง
ฮันส์ คริสเทียน เออร์สเตด (Hans Christian Ørsted, 14 สิงหาคม พ.ศ. 2320 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2394) เป็นนักฟิสิกส์และนักเคมีชาวเดนมาร์ก เป็นผู้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและความเป็นแม่เหล็ก หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

R U Botted ?



ร่วมกันพิทักษ์โลก Cyber จากการโจมตีของบรรดาวายร้าย ด้วย
การดาวน์โหลดโปรแกรมแจกฟรีชื่อว่า RUBotted (Are You Botted?) จาก Trends Micro




การส่งสัญญาณของแฮคเกอร์ที่จะบอกให้ประชากรในโลกไซเบอร์ตระหนักว่า การโจมตีด้วยเทคนิค DoS ทีใช้ลูกสมุนคือ "บ็อตเน็ต หรือซอมบี้" ยังคงใช้ได้ โดนมีการโจมตีไปยัง Twitter และ facebook มีผลทำให้การใช้งานหยุดไประยะหนึ่ง



หลังจากที่คุณติดตั้งโปรแกรมเข้าไปแล้วมันจะตรวจสอบ และคอยเฝ้าระวังได้ด้วย โดยจะฝังตัวอยู่ใน System Tray บน Taskbar ซึ่งหากมันพบว่ามีบ็อตเน็ต ไอคอนจะมีเครื่องหมายตกใจปรากฎขึ้นมา เพื่อแจ้งให้คุณทราบ ในกรณีที่เครื่องคุณเป็นบ็อตเน็ต คุณสามารถคลิ้กปุม Clean with HouseCall เพื่อใช้บริการสแกนเนอร์บนอินเทอร์เน็ต เพื่อดำเนินการตรวจสอบ และกำจัดในขั้นตอนต่อไป


Thanks : ARiP

New Product from Apple is Big iPod Touch

เป็นข่าวได้ตลอดเวลาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังคงเป็นเรื่องคาดเดากันไม่จบ ไม่สิ้น นั่นก็คือ แท็บเล็ตของแอปเปิ้ล โดยรายงานข่าวล่าสุดจากเว็บไซต์บิซิเนสเจอนัลระบุว่า อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีลักษณะคล้าย iPod Touch ขนาดใหญ่ ในขณะที่ราคาของมันอยู่ที่ประมาณ 600 เหรียญฯ (21,000 บาท) เท่านั้น

Genn Munster นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัท Piper Jaffray กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า สำหรับแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ของแอปเปิ้ล ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอยู่นั้น คาดว่าจะมียอดจำหน่ายมากถึง 2 ล้านเครื่อง และจะทำให้แอปเปิ้ลมีรายได้สูงถึง 1.2 พันล้านเหรียญฯ (ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท) ภายในปีหน้า

สำหรับ การคาดการณ์ครั้งนี้ ตั้งอยู่บนข้อมูลพื้นฐานที่เขาได้รับจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ดัง กล่าวที่ตั้งอยู่ในอาเซียน ซึ่งประสานงานกับแอปเปิ้ลโดยตรง Munster กล่าวอีกด้วยว่า "หลังจากที่ได้มีการปรึกษากันถึงโอกาสการเติบโตของอุปกรณ์แท็บเล็ตรุ่นใหม่ จากแอปเปิ้ล เราขอย้ำอีกครั้งว่า แอปเปิ้ลจะแนะนำอุปกรณ์ระบบสัมผัสที่มีลักษณะคล้าย iPod Touch แต่ใหญ่กว่าในต้นปี 2010"

Munster คาดว่า แท็บเล็ตของแอปเปิ้ลจะมาพร้อมกับโมเด็ม 3G และสุดยอดซอฟต์แวร์สำหรับการท่องเว็บ อีเมล์ และเล่นสื่อต่างๆ โดยเขาเชื่อว่า แท็บเล็ตของแอปเปิ้ลจะชนกับผลิตภัณฑ์ประเภท"เน็ตบุ๊ก"โดยตรง ทั้งๆ ทีมันไม่ใช่เน็ตบุ๊ก...

Thanks : ARiP


วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Solve "Access is Denied" when opening .msc files


การแก้ปัญหา หากเจอ ปัญหาในการเปิด file .msc




ถึงแม้ว่าเราจะ login เป็น Administrator แต่ทว่าอยู่ๆวันหนึ่ง เกิด รัน services.msc ไม่ได้หรือ file .msc ไม่สามารถเปิดได้ ก็คาดเดาได้เลยว่าเกิดบางอย่างผิดปกติแน่ๆ

จากที่ได้ค้นหาใน google ดู เขา เขา เขา เค้า ก็บอกว่าอย่างโน้นอย่างนี้ ก็พอสรุป ๆ วิธีมาให้ได้ลองกันดู

เริ่มด้วย
1. ทำการ restore กลับไปยังจุด ที่เราได้เซฟ restore point เอาไว้ วีฺธีนี้ดูดี แต่ว่าจะต้องย้อนกลับไปจุดที่ทำการบันทึกไว้ ซึ่งบันทึกไว้ไม่รู้ชาติไหน ( หรือคุณจะดูข้อที่ 2. )

2. ทำการ update Microsoft Management Console 3.0 Here อันนี้ก็จะสามารถทำให้ใช้งานได้เหมือนกัน แต่ว่าหากอยู่บ้านไร้ Net ทำไงดี ( มาดูข้อที่ 3. )

3. ทำการเข้าไปยัง C:\WINDOWS\system32 แล้วมองหา services.msc



-> คลิ๊กขวา open with





-> แล้วเลือก Microsoft Management Console หรือ browse ไปยัง C:\WINDOWS\system32\mmc.exe




-> เลือก always use the selected program to open this kind of file ( ใช้โปรแกรมนี้กับไฟล์ประเภทนี้)



4. ไปที่ run แล้วพิมพ์ regedit แล้วจากนั้นก็ ไปที่ My computer\HKEY_CLASSES_ROOT\.msc



-> ทำการ delete String vulue (Default) Type REG_SZ






-> จากนั้นก็ ปิด แล้วไปเลือก run พิมพ์ services.msc โปรแกรมก็จะทำการถามว่าจะให้เปิดกับโปรแกรมอะไร ให้เลือก Microsoft Management Console หรือ browse ไปยัง C:\WINDOWS\system32\mmc.exe


-> เลือก always use the selected program to open this kind of file ( ใช้โปรแกรมนี้กับไฟล์ประเภทนี้)



เท่านี้ก็สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม แต่ถ้ายังไม่ได้ก็คงต้องค้นหากันต่อไป ( อิอิ )